ดูแลเด็ก ใน สัมพันธวงศ์, กรุงเทพมหานคร

ดูแลเด็ก ใน สัมพันธวงศ์, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่เลี้ยงเด็กที่จ้างผ่านเว็บใส่ใจคือดีจริง ๆ พี่เลี้ยงเด็กมีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็กและเป็นคนที่ซื่อสัตย์มาก ทำให้คนเป็นแม่อย่างเราหายห่วงลูกเลยจริง ๆ หากใครที่กำลังมองหาพี่เลี้ยงเด็ก บริการของทางใส่ใจถือเป็นตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียวสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน
Saijai
กรรชัย วงศ์พานิชญ์
3 ปีที่แล้ว
ลาคลอดได้แค่ 3 เดือน ค่ะ ต้องกลับไปทำงานต่อ จะฝากลูกไว้กับยายก็กลัวแกจะดูไม่ไหว เลยลองหาพี่เลี้ยงจากเว็บใส่ใจดู ตอนแรกก็กังวลอยู่เหมือนกันค่ะ ไม่กล้าทิ้งลูกไว้กับพี่เลี้ยง แต่ก็วางใจอย่างนึงว่าพี่เลี้ยงมีประสบการณ์ ตอนนี้ทุกอย่างลงตัว โอเคมาก ๆ ค่ะ
Saijai
สุชาดา มิ่งมงคล
3 ปีที่แล้ว
บ้านอยู่แถว สุขุมวิท71 ลองใช้เว็บใส่ใจครั้งแรก เพราะเพื่อนๆ แนะนำมา อยากได้พี่เลี้ยงเด็ก มองหามาหลายที่ ที่นี่รายละเอียดครบ ราคาชัดเจน โทรปรึกษาพนักงานก็อธิบายเข้าใจง่ายมาก สะดวกสบาย ง่ายกว่า search หาเองใน Google ชอบมากๆ ค่ะ
Saijai
นงคราญ แซ่ตั้ง
3 ปีที่แล้ว
เป็นครั้งแรกที่เลือกใช้บริการพี่เลี้ยงเด็กในเว็บใส่ใจ ตอนแรกคิดว่าจะยุ่งยากในจอง แต่พอเข้าไปในเว็บไซต์ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ มีความสะดวกในการใช้งาน อีกทั้งยังมี Guideline ให้อีกด้วย และขั้นตอนการนัดสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดเพราะมีตัวเลือกให้เลือกด้วยว่าเราสะดวกสัมภาษณ์ทางไหน เหมาะแก่คนที่ไม่มีเวลาอย่างเราจริง ๆ
Saijai
สุริยา ดำรงรักษ์
3 ปีที่แล้ว
เมื่อก่อนไม่กล้าจ้างพี่เลี้ยงเด็ก แต่ลองจ้างผ่านทางใส่ใจดู พี่เลี้ยงทำงานได้น่าพอใจมาก ๆ พูดเพราะมาก จนลูกเราติดคำพูดเลยค่ะ ราคาก็ที่ไม่สูงเกินไป จับต้องได้สำหรับคนที่มีรายได้ไม่เยอะอย่ามากต่อเดือน คุณแม่คนไหนอยากหาพี่เลี้ยงเด็ก แนะนำเลยค่ะ
Saijai
ชื่นนภา วัฒนพันธ์
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ดูแลเด็ก

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้านและไม่มีเวลาเลี้ยงลูกเอง ลองเปรียบเทียบกันระหว่างส่งลูกไปเนอสเซอรี่และจ้างพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลลูกที่บ้าน อะไรจะตรงใจคุณพ่อคุณแม่มากที่สุด
บริการรับเลี้ยงเด็กในปัจจุบันมีหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นพี่เลี้ยงเด็ก หรือเนอสเซอรี่ เรามาดูข้อดีข้อเสียกันเลยค่ะ

ข้อดีของพี่เลี้ยงเด็กที่บ้านมีดังนี้

1) พี่เลี้ยงสามารถดูแลลูกน้อยของคุณได้อย่างใกล้ชิด ลูกของคุณจะได้รับความเอาใจใส่ที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กทางด้านอารมณ์
2) พี่เลี้ยงสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านการทำกิจกรรมต่าง
3) พ่อแม่ประหยัดเวลามากขึ้น หากจ้างพี่เลี้ยงมาดูแลที่บ้าน
4) เด็กจะไม่ป่วยบ่อย เนื่องจากเด็กจะอยู่ในบ้านของตนเอง

ข้อดีของเนอสเซอรี่

1) เด็ก ๆ จะรู้จักการเข้าสังคม
2) เนอสเซอรี่มีบริเวณกว้างเพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
3) เด็กจะได้ฝึกดูแลตัวเอง เพราะครูพี่เลี้ยงไม่ได้ดูแลเด็กแบบใกล้ชิด

ข้อเสียของพี่เลี้ยง

1) ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเข้าศูนย์เนอสเซอรี่
2) เด็กอาจจะติดพี่เลี้ยงเกินไป
3) ลดความเป็นส่วนตัวของครอบครัว

ข้อเสียของเนอสเซอรี่

1) เด็กป่วยบ่อยเพราะมีภูมิคุ้มกันที่น้อยเนื่องจากอยู่กับเด็กหลายคน
2) ลูกจะไม่ได้รับการดูแลใกล้ชิดแบบตัวต่อตัวอาจส่งผลถึงอารมณ์ของเด็กได้
3) เด็กจะอยู่ห่างไกลจากพ่อแม่

หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหาบริการพี่เลี้ยงเด็ก ใส่ใจมีบริการพี่เลี้ยงมืออาชีพที่พร้อมจะให้บริการคุณค่ะ
ทักษะสำคัญที่พี่เลี้ยงเด็กควรมีคืออะไร
6 ทักษะสำคัญที่พี่เลี้ยงเด็กควรมี

1. ความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การส่งเสริมพัฒนาการทำได้ทั้งผ่านการเล่นและการทำกิจวัตรประจำวัน พี่เลี้ยงเด็กที่ดีควรหากิจกรรมเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมและช่วยเหลือตัวเองได้ตามวัยที่เหมาะสม
2. ความอดทนและใจรักเด็ก เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะนิสัย อารมณ์และการแสดงออก บางคนว่านอนสอนง่าย บางคนชอบเล่นซนทั้งวัน หรือบางคนงอแง พี่เลี้ยงเด็กที่ดีควรมีใจรักเด็กเป็นพื้นฐาน พร้อมทำความเข้าใจและมีความอดทน พยายามหาวิธีที่ทำให้เด็กรู้สึกวางใจ ปลอดภัย และยอมเชื่อฟังพี่เลี้ยงในที่สุด
3. ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรู้เบอร์โทรศัพท์ในกรณีฉุกเฉิน ถ้าเด็กหกล้มมีแผลถลอกพี่เลี้ยงเด็กต้องรู้ว่าจะจัดการกับแผลถลอกอย่างไร ในกรณีฉุกเฉินพี่เลี้ยงเด็กต้องสามารถติดต่อหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือได้
4. ทักษะการสื่อสาร เด็กมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ พี่เลี้ยงเด็กต้องเข้าใจการสื่อสารกับเด็ก เช่น เข้าใจภาษากายของทารก การสื่อสารของเด็กเล็ก สำหรับเด็กที่สามารถสื่อสารด้วยทำพูดได้แล้ว พี่เลี้ยงเด็กต้องพูดคุยเพื่อให้เด็กเชื่อฟังโดยไม่ใช้การบังคับและให้เด็กรู้สึกสบายใจ
5. ทักษะการแก้ปัญหา หากไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรงพี่เลี้ยงเด็กต้องรู้วิธีแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ตรงหน้าตามสมควรโดยไม่จำเป็นต้องรายงานหรือรอให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจทุกครั้ง
6. ความคิดสร้างสรรค์ คงไม่ดีแน่หากพี่เลี้ยงเด็กดูแลเด็กด้วยการให้เด็กดูสมาร์ทโฟนเป็นชั่วโมง พี่เลี้ยงเด็กที่ดีควรมีความคิดสร้างสรรค์เล่นกับเด็กเพื่อให้เด็กเพลิดเพลินได้นานหลายชั่วโมงและให้เด็กได้พักผ่อนตามเวลา

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติและทักษะที่ดีที่คุณพ่อและคุณแม่ควรมองหาในตัวพี่เลี้ยงเด็กที่คุณเลือกมาเพื่อดูแลลูกน้อยของคุณค่ะ
ควรทำอย่างไรเพื่อคลายความกังวลเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพังกับพี่เลี้ยง
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะไว้วางใจให้ลูก ๆ ของคุณอยู่ในความดูแลพี่เลี้ยงเด็ก แม้ว่าจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ตามเด็กอาจเกิดความรู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ ใส่ใจมีวิธีการที่จะช่วยลดความกังวลของทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกได้ดังนี้ค่ะ

1. คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและทำความเข้าใจกับเด็ก ถึงความจำเป็นที่ต้องให้เด็กๆ อยู่กับพี่เลี้ยง ให้ความมั่นใจกับเด็กว่าคุณพ่อคุณแม่หาคนที่สามารถดูแลพวกเขาได้ดี
2. คุณพ่อคุณแม่ควรหาพี่เลี้ยงที่เข้ากันได้กับลูก ๆ และมีความพร้อมในการดูแลเด็ก
3. แนะนำให้ลูก ๆ ทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง โดยอาจจะเล่าให้ฟังว่าพี่เลี้ยงเห็นใคร ชื่ออะไร คุยกับพี่ผ่านทางวิดีโอคอลก่อนวันเริ่มงานจริง เพื่อนลดความตึงเครียดในการเจอกันครั้งแรก
4. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์ของตัวเอง เบอร์โทรฉุกเฉิน และสอนให้ลูกใช้โทรศัพท์เพื่อโทรหาคุณพ่อคุณแม่ได้ หรือโทรขอความช่วยเหลือได้ในกรณีฉุกเฉิน
5. มอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เด็ก ๆ ทำระหว่างวัน เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้มีกิจกรรมเบนความสนใจและไม่เอาแต่จดจ่อรอเวลาคุณพ่อคุณแม่กลับบ้าน
6. เมื่อถึงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องออกจากบ้านและต้องให้เด็ก ๆ อยู่กับพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความมั่นใจกับเด็ก ๆ ว่าพี่เลี้ยงจะดูแลเด็ก ๆ เป็นอย่างดีและย้ำว่าพวกเขาสามารถโทรหาคุณได้เสมอ
พ่อแม่ควรตกลงอะไรบ้างก่อนจ้างพี่เลี้ยงเด็ก?
เมื่อคุณพ่อคุณแม่สามารถหาพี่เลี้ยงเด็กที่ถูกใจได้แล้ว ควรพูดคุยและตกลงกันเรื่องใดบ้างก่อนเริ่มงาน

1. วันและเวลาทำงาน คุณพ่อและคุณแม่ควรมีแผนการทำงานของพี่เลี้ยงที่ชัดเจน เช่นกำหนดวันทำงาน วันหยุด และเวลาทำงานในแต่ละวันให้ชัดเจน และควรถามความสมัครใจหากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานล่วงเวลา
2. ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่ควรระบุขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจน หากต้องการให้พี่เลี้ยงทำงานบ้านหรืองานอื่น ๆ นอกจากดูแลเด็ก ควรตกลงกันให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
3. ระยะเวลาการทดลองงาน หาดคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้พี่เลี้ยงทดลองงานก่อนสักระยะหนึ่งก่อนทำสัญญาว่าจ้าง ควรระบุช่วงระยะเวลาและเงื่อนไขในการทดลองงานให้ชัดเจน
4. ค่าจ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามและตกลงค่าจ้างของพี่เลี้ยงให้ชัดเจน และค่าจ้างควรจะสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละวัน ประสบการณ์ในการทำงานอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างได้
5. กรณีจ้างพี่เลี้ยงประจำแบบพักอาศัยร่วม คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการเรื่องที่พักให้กับพี่เลี้ยง รวมถึงอาหารในแต่ละวันตามตกลงกัน
6. ข้อตกลงในการอยู่อาศัยร่วมกัน คุณพ่อคุณแม่ควรบอกกล่าวพี่เลี้ยงให้ชัดเจนถึงกฎระเบียบต่าง ๆ สิ่งใดไม่ควรปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกัน

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงเด็กให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน

"สำเพ็ง" ชื่อที่มาด้วยเรื่องราว

ต้นกำเนิดของ สำเพ็ง เริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกและขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2325 ทรงมีพระราชดำริให้ข้ามมาสร้างพระนครใหม่ทางคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันออก แต่บริเวณที่โปรดฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่อยู่ของพระยาราชาเศรษฐี และชาวจีนจำนวนหนึ่ง จึงโปรดให้ย้ายไปอยู่ที่สวนบริเวณวัดสามปลื้ม ไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง ซึ่งมีข้อความระบุถึงวัดชื่อ “สามเพ็ง” ในพระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่า “ให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวนตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง…” สำหรับชื่อ “สำเพ็ง” จะมาจากคำว่า สามแพร่ง สามแผ่น หรือ สามเพ็ง ก็ลองมาดูข้อสันนิษฐาน ดังนี้

มีหลายข้อสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อนี้ เชื่อว่า เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า “สามเพ็ง” ซึ่งเป็นชื่อวัดและชื่อคลองที่อยู่ละแวกนั้น คนจีนในย่านเดียวกันชินกับการออกเสียงสั้น จึงทำให้จาก “สามเพ็ง” กลายเป็น “สำเพ็ง” ในทุกวันนี้ หรืออีกข้อสันนิษฐานเชื่อว่า เพี้ยนมาจาก “สามแผ่น” ที่หมายถึงลักษณะภูมิประเทศของย่านที่มีคลองขวาง 2 คลอง ได้แก่ คลองเหนือวัดสำเพ็ง และคลองวัดสามปลื้ม ทำให้ตัดแผ่นดินเป็นสามตอน หรือสามแผ่น ต่อมาจึงเพี้ยนไปตามสำเนียงคนจีนกลายเป็น “สำเพ็ง” หรืออาจเพี้ยนมาจากคำว่า “สามแพร่ง” ที่เป็นลักษณะของภูมิประเทศเช่นกัน หรืออีกข้อสันนิษฐานว่า มาจากชื่อพืชตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายใบโหระพา เรียกว่า “ลำเพ็ง” ซึ่งพบเห็นมากในบริเวณนี้ ผู้คนจึงเรียกกันว่า “ลำเพ็ง” และเพี้ยนมาเป็น “สำเพ็ง” ในภายหลัง ในสมัยนั้น สำเพ็งเต็มไปด้วยร้านค้าตลอดจนซ่องโสเภณีและโรงฝิ่นที่ปลูกติดกันจนแน่นขนัด หลังคาของแต่ละหลังเกยซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดเพลิงไหม้บ่อย ๆ เลยมีคำอีกหนึ่งคำ ที่เอ่ยถึงสำเพ็ง วลีที่คนสมัยหนึ่งอาจคุ้นกันว่า “ไฟไหม้สำเพ็ง” ซึ่งหมายถึง “ความชุลมุนวุ่นวายของฝูงชน” หรือ “เรื่องไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น” เพราะบ้านเรือนปลูกติดๆ กันเวลาไฟไหม้คนก็คงวุ่นวาย เวลาเกิดเหตุอึกทึกก็เอาไปเปรียบกับคำว่า วุ่นวาย อลหม่าน เหมือนไฟไหม้สำเพ็ง อีกทั้งบ้านที่ติดๆ กัน จนมีคำเปรียบเปรยว่าที่นี่ "ไก่บินไม่ตกพื้น" ก็พออธิบายภาพของสัมเพ็งออก สุนทรภู่รจนาว่า "ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ แพประจำยอดเรียงเคียงขนาน มีซุ้มซอกตรอกนางจ้างประจาน ยังสำราญร้องขับไม่หลับลง" (นิราศเมืองแกลง) คำว่า "อีสำเพ็ง" กลายเป็นคำด่าผู้หญิงที่หมายถึง โสเภณีโดยเป็นคำด่าที่รุนแรงที่หมายถึงผู้หญิงที่ค้าขายทางโลกีย์ ธุรกิจที่ว่านี้มีแพร่หลายในสำเพ็ง และทำอย่างเปิดเผย มีโคมสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ ผู้หญิงที่ค้าขายกลุ่มนี้เป็นหญิงกวางตุ้ง หรือถ้าเป็นชาวไทยก็ยังเปลี่ยนชื่อเป็นชาวจีน อาทิ กิมเน้ย กิมเฉียง เป็นต้น สำเพ็ง ชื่อเดียวแต่มากด้วยเรื่องราว"



เที่ยวตลาดน้อย เสน่ห์ย่านเมืองเก่า

บางทีเราก็อยากให้เวลาหยุดหรือเดินช้าลง เพราะบ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่าเราวิ่งตามไม่ทันกับโลกที่หมุนไปไวซะเหลือเกิน นาฬิกา เวลา และสายน้ำเดินไปข้างหน้าเสมอ ในเมืองที่กว้างใหญ่แบบกรุงเทพมหานคร กลับมีมุมเล็กๆ ที่เวลาเดินช้าลง แต่ไม่หยุดเดิน มุมที่เราเดินผ่านแต่สามารถจะจินตนาการภาพของวันวานขนานไปกับเวลาในปัจจุบันได้ มุมนั้นคือ “ตลาดน้อย” ตั้งอยู่ในแขวง ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร อดีตชุมชนชาวจีนเก่าแก่ริมน้ำเจ้าพระยา เป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดจากการขยายตัวทางการค้าของสำเพ็งในช่วงตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกว่า “ตะลัคเกียะ” หรือ “ตลาดน้อย” เป็นย่านเก่าที่มีความน่าสนใจที่สามารถส่งต่อเรื่องราวในอดีตมายังคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมของคนในชุมชนได้อย่างลงตัว เพียงสิบนาทีที่ก้าวย่างจากสำเพ็ง บางภาพระหว่างทางที่ดูรกรุงรัง แต่ถ้ามองอีกครั้งก็อาจเป็นเสน่ห์ของเมือง เหมือนภาพวาดที่ถูกสีป้ายเลอะไว้ เมื่อมองใกล้ๆ ก็ดูสีผิดเพี้ยน แต่หากเดินถอยออกมาเสน่ห์ในองค์รวมกลบกลืนความจุดนั้นไป เช่นกันความกลมกลืนอย่างลงตัว ทั้งศาลเจ้า ร้านค้า บ้านเรือน ถ้าไม่จ้ำอ้าวเดินผ่านสิ่งเหล่านี้ไป ภาพที่ซ้อนอยู่ในห้วงของเวลาทำให้จินตนาการได้ มีจุดที่เป็นที่น่าสนใจอยู่หลายจุด เริ่มจาก ซอยตรอกศาลเจ้า เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ ทรงย้ายเมืองมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนชาวจีนที่เคยอาศัยอยู่ทางย่านกุฎีจีนบางส่วนพากันอพยพมารวมกันอยู่ที่ตลาดน้อย ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นชานพระนคร โดยชาวจีนกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาน่าจะเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน ซึ่งได้สร้าง ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าเก่าแก่ที่สุดย่านนี้ ใกล้กันก็มีสตรีทอาร์ทที่เล่าเรื่องแบบยุคใหม่ ตั้งแต่ต้นซอยจนถึงท้ายซอยบริเวณ ศาลเจ้าโรงเกือก แล้วเดินเลาะไปเรื่อยจนถึง “โซวเฮงไถ่” ที่ใครเล่าจะรู้ว่าในตรอกแคบซอกเล็กซอยน้อยที่ชวนให้หลงทางของย่านตลาดน้อย จะพาเราย้อนเวลาไปกว่า 250 ปี (อายุมากกว่ากรุงเทพฯ) คฤหาสน์จีนโบราณ ที่ซ่อนตัวอยู่อย่างลับๆ ใกล้ซอยดวงตะวัน ใจกลางกรุงเก่าย่านตลาดน้อย ป้ายตัวหนังสือจีนด้านหน้าประตูบ้านเขียนไว้ว่า โซว เฮง ไถ่ เมื่อเดินผ่านประตูเข้าไปในคฤหาสน์จีนฮกเกี้ยนแบบโบราณนี้ จะสัมผัสได้ถึงเรื่องราวที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนาน จากรุ่นบุกเบิกมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน แต่ยังคงสืบทอดคุณค่าแห่งความเป็น ‘บ้าน’ ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปร แม้รูปแบบและการใช้งานจะเปลี่ยนไป เพียงแค่ครึ่งทางจองตลาดน้อย เหมือนการอ่านหนังสือไม่จบเล่ม แต่ก็ไม่อยากฟังเรื่องราวตอนจบ ก้าวออกจากประตูหนึ่งเปิดไปอีกประตูหนึ่ง .....นั่งดูสายน้ำ สายน้ำแห่งกาลเวลา



ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ในเด็ก

“อย่าพยายามทำให้ลูกของคุณมีความสุข” ฟังดูขัดกับสัญชาตญาณของคนเป็นพ่อแม่ แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่คนเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองและคนดูแลเด็กสามารถทำได้เพื่อความสุขในระยะยาวของเด็ก คือหยุดพยายามทำให้เด็กมีความสุขแบบฉาบฉวยในระยะสั้น พ่อแม่ ผู้ปกครองและคนดูแลเด็กส่วนใหญ่ต้องการให้เด็กถูกแวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงาม หรืออยากให้เด็กสมหวังในทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่โลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น แล้วเราจะทำอย่างไรให้เด็กเติบโตและมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

การจัดการกับอารมณ์ด้านลบ

ความโกรธ ความเศร้า หรือความคับข้องใจ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน พ่อแม่ ผู้ปกครองและคนดูแลเด็ก ไม่ควรจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ด้วยการตามใจและทำทุกอย่างเพื่อให้เด็กสบายใจ พึงระลึกไว้เสมอว่าเด็กที่ไม่เคยเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ด้านลบ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์อ่อนไหว ไม่สามารถรับมือกับความผิดหวัง ไม่มีความอดทน ไม่สามารถจัดการกับความโกรธและพร้อมจะระเบิดอารมณ์ใส่คนอื่นได้ทุกเมื่อหากโดนขัดใจ พ่อแม่ ผู้ปกครองและคนดูแลเด็ก สามารถสอนให้เด็กจัดการกับอารมร์ด้านลบหรือความผิดหวังได้ เช่น เมื่อเด็กเล่นกับเพื่อน ๆ หรือแข่งขันเกมส์ ต้องสอนให้เด็กยอมรับว่าการแข่งขันย่อมมีแพ้มีชนะ ไม่เยาะเย้ยคนแพ้และยกยอผู้ชนะจนเกินไป ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเผชิญปัญหาและความยืดหยุ่น และฟื้นตัวจากความพ่ายแพ้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของชีวิต

เป็นตัวอย่างที่ดี

พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่พี่เลี้ยงเด็ก มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กอย่างหลีกเลี่ยง เด็กที่มีความสุข อารมณ์ดี มักจะมาจากพ่อแม่และคนรอบข้างที่มีความสุขมัก ในขณะที่ลูกของพ่อแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการซึมเศร้าเฉลี่ยสองเท่า ดังนั้นการจะสร้างความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก คือการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคนดูแล แบ่งเวลาสำหรับการพักผ่อน ผ่อนคลาย และสำคัญที่สุดคือ ความรัก พ่อแม่ควรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ความสุขของเด็กก็จะตามมาโดยธรรมชาติ

ให้ความสำคัญ

"ความสุขส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมีความสำคัญและคนอื่นเห็นคุณค่า" ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครอง และพี่เลี้ยงเด็ก ควรแสดงการรับรู้และขอบคุณเมื่อเด็กให้ความช่วยเหลือเราทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเมื่อเด็กพยายามรับผิดชอบหน้าที่ที่คุณมอบหมายให้ ตั้งแต่อายุยังน้อย ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความสุขสูงสุดของเขาก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เด็กอายุ 3 ขวบสามารถรับหน้าที่เล็กในครอบครัว เช่นการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างให้อาหารแมว ถ้าเป็นไปได้ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และพี่เลี้ยงเด็กกำหนดบทบาทที่สอดคล้องกับความถนัดของเด็ก ตัวอย่างเช่น หากเด็กชอบจัดระเบียบสิ่งของ ให้เด็กรับหน้าที่จัดเรียงส้อมและช้อน เมื่อเด็กรู้สึกว่าตัวเองมีหน้าที่ในครอบครัวจะทำให้มีความมั่นใจและเคารพตัวเอง