ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

รีวิวล่าสุด

สามีเป็นคนอเมริกัน ให้ดิฉันช่วยหาคนมาดูแลคุณพ่อของเค้าที่เป็นอัมพฤกษ์ มีภาวะแขนขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ ซึ่งปกติคนดูแลที่เชี่ยวชาญด้านนี้ก็หายากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นคนดูแลแบบที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้อีก ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ โชคดีที่มาเจอเว็บใส่ใจ มีข้อมูลพร้อม
Saijai
ดรุณี เชอร์แมน
3 ปีที่แล้ว
ช่วงสามเดือนที่แม่สามีมาอยู่ด้วย เราเลยมองหาพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล น้องเก่งและมีประสบการณ์ ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน น้องถนัดภาษาอังกฤษ แต่ได้ภาษาไทยนิดหน่อย เราเลยสรุปงานให้ ต้องทำได้ตามต้องการ แม่สามีมีคนดูแลตลอด ชวนคุย พาเดินเล่น หายห่วงเลยคะ
Saijai
โบฟอร์ต กิ่งแก้ว
3 ปีที่แล้ว
คุณพ่อของสามีเป็นคนอเมริกันค่ะ มาพักผ่อนอยู่ไทยหลายเดือน เลยจ้างผู้ดูแลที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มาช่วยดูแลคุณพ่อสามี ผู้ดูแลทำหน้าที่ดูแลดีมากค่ะ ทั้งเรื่องกิจวัตร อาหารการกิน รวมถึงเรื่องเสื้อผ้าเครื่องใช้ให้อีกด้วย แถมยังมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมของคนอเมริกันเป็นอย่างดีด้วยคุณพ่อสามีชอบมาก ๆ ค่ะ เรื่องราคาเราไม่รู้สึกกังวลเลยค่ะ เพราะอยู่ในระดับมาตราฐาน คุ้มกับที่จ่ายไปมาก พ่อสามีสบายใจ เราก็สบายใจด้วย
Saijai
ญาดาวดี โพธิ์ทองแก้ว
3 ปีที่แล้ว
คุณแม่สามีมาจากประเทศอังกฤษ เราเลยหาผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา จากใส่ใจมาดูแล ทำงานดีมาก พูดภาษาอังกฤษคล่องด้วย แม่สามีชมใหญ่เลย
Saijai
กาญจณา บลัดเวิร์ท
3 ปีที่แล้ว
แต่งงานกับแฟนชาวต่างชาติ ครอบครัวเขาย้ายมาทำธุรกิจที่เมืองไทย มีคุณตามาด้วย เราทุกคนมีงานยุ่งกันหมด ที่นี่ไม่มีบ้านพักคนชราแบบเมืองนอกที่ให้คุณตาไปอยู่ได้ จึงมองหาคนดูแลแบบ 2 ภาษามาดูแลที่บ้าน ตอนแรกเราคิดว่าจะราคาสูง แต่พอติดต่อพูดคุยตกลงกันแล้วได้ราคาที่เรารับได้ ไม่แพงจนเกินไป ลงตัวค่ะ ชอบเว็บนี้จริงๆ ใส่ใจช่วยเราได้ค่ะ
Saijai
สุกัญญา อากีเลล่า
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

ข้อดีของผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษาในกรณีที่ต้องดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติมีอะไรบ้าง
ด้วยจุดเด่นในด้านงานบริการด้วยรอยยิ้ม ค่าครองชีพที่ไม่สูง สภาพอากาศที่อบอุ่น ศิลปวัฒนธรรมที่สวยงาม และการบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ทำให้มีผู้สูงอายุจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว พักผ่อน หรือใช้ชีวิตยามบั้นปลายหลังเกษียณ จนประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน 1 ใน 5 ของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางในการเดินทางของผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 6.5% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2558-2560 อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ขยายตัวตามเทรนด์นี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ดูแลสองภาษาที่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุต่างชาติได้ ทำให้ผู้สูงอายุชาวต่างชาติสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นตอบสนองต่อความต้องการของตนได้อย่างถูกต้อง และสร้างบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน ที่สำคัญเมื่อสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ จะทำให้เข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรมและมีความเคารพซึ่งกันและกัน การสื่อสารด้วยภาษาเดียวกันไม่ได้ส่งผลดีแค่ต่อตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อครอบครัวของผู้สูงอายุด้วย อย่างในกรณีที่ผู้ดูแลต้องการติดต่อขอคำแนะ หรือแจ้งข่าวสารให้กับครอบครัวผู้สูงอายุ อาจเนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้สูงอายุบางท่านมีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยตรงและทันท่วงที โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้อื่นช่วยแปล ถือเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยให้กับผู้สูงอายุด้วย
ต้องรู้อะไรบ้างเมื่ออยากจ้างคนต่างด้าวมาดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ส่วนมากมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึงวัยกลางคน

หากต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเป็นชาวต่างด้าว เราควรมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

1. ตรวจสอบประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ อายุ ภูมิลำเนาเดิม รวมถึงโรคประจำตัว เพราะย่อมมีผลกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย อีกทั้งควรตรวจสอบว่าไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสีย ไม่เป็นผู้วิกลจริตไม่สมประกอบ ไม่ติดสารเสพติดทุกชนิด โดยอาจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างคนเก่าและสอบถามสาเหตุของการออกจากที่ทำงานเดิมด้วย
2. ผู้ดูแลคนสูงอายุต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสุขภาพและมีการทำใบอนุญาตทำงาน (work permit) ให้ถูกต้อง
3. สังเกตบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการสัมภาษณ์ โดยลองถามคำถามที่จะประเมินว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีใจรักงานบริการหรือมีความอดทนมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ที่เอามายกเป็นตัวอย่าง
4. แจ้งรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจน ตกลงเรื่องเงินเดือนและหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น เกี่ยวกับเรื่องวันหยุดพักผ่อนและสวัสดิการที่มีให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับเข้าทำงานแล้ว
5. อธิบายข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบในบ้าน ว่ามีกฎข้อบังคับใดๆ ภายในบ้านหรือไม่ เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันและหลีกเลี่ยงปัญหาหากต้องเข้ามาทำงานและอยู่ในบ้านร่วมกัน
จ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวไทยที่มีทักษะภาษาอังกฤษจะถูกกว่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุต่างสัญชาติอื่น เช่น สัญชาติฟิลิปปินส์ หรือพม่า หรือไม่
หลายคนอาจกำลังตัดสินใจเลือกระหว่างการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุคนไทยหรือชาวต่างด้าว แบบใดจะดีกว่ากัน มีค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกันอย่างไร ใส่ใจมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน ดังนั้นหลาย ๆ คนจึงสนใจที่จะจ้างผู้ดูแลที่เป็นชาวต่างด้าว เช่น ชาวฟิลิปปินส์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายแทบจะไม่แตกต่างกับการจ้างผู้ดูแลคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษ แต่ชาวฟิลิปปินส์จะมีสำเนียงภาษาอังกฤษและพื้นฐานของภาษาอังกฤษค่อนข้างดีกว่าคนไทยเพราะได้ทำการฝึกฝนภาษาตั้งแต่เด็ก ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า นอกจากนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวฟิลิปปินส์มักที่จะมีประวัติทางการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ดี ทั้งยังผ่านการฝึกอบรมทำให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่การจ้างผู้ดูแลเป็นคนต่างด้าวที่มีค่าจ้างถูกกว่าคนไทยนั้น ตัวนายจ้างต้องทราบด้วยว่าอาจจะมีขั้นตอนการจ้างงานที่ยุ่งยากกว่าการจ้างคนไทยและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้ เพราะหากจ้างชาวต่างด้าวมาทำงาน ต้องขอใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว โดยได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (วีซ่า Non-Immigrant-B) โดยสามารถติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับวีซ่า Non-Immigrant-B แล้วให้ติดต่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน(Work permit) ณ สำนักงานของกรมการจัดหางาน ดังนั้นหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว นายจ้างควรทำการศึกษาข้อมูลในส่วนนี้โดยละเอียดถึงค่าใช้จ่ายจริงที่ต้องใช้
เว็บไซต์ของใส่ใจมีข้อมูลผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่พูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่
สำหรับท่านที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ท่านสามารถค้นหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวโดยระบุในตัวคัดกรอง (Filters) เพื่อให้ระบบแสดงข้อมูลของผู้ให้บริการที่ตรงตามความต้องการของท่าน และท่านสามารถเลือกดูประวัติของผู้ให้บริการที่ท่านสนใจ รวมถึงอัตรค่าบริการและรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุ