พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

รีวิวล่าสุด

ให้พี่เลี้ยงมาดูแลน้องแมวที่บ้านเวลาเราต้องเดินทางไปต่างจังหวัด 2-3 วัน ขอบอกว่าอุ่นใจมาก ๆ ค่ะ นอกจากแมวไม่ต้องเครียดเพราะเปลี่ยนสถานที่ใหม่แล้ว พี่เลี้ยงยังช่วยส่งภาพถ่ายอัพเดตของน้องแมวมาให้เราดูตลอด แถมยังช่วยแปรงขน เล่นกับน้อง ทำให้น้องผ่อนคลายอีกด้วย เยี่ยมมาก ๆ เลยค่ะ ถูกใจทาสแมวอย่างเราที่สุด
Saijai
วิลาศิณี ตรีสุข
3 ปีที่แล้ว
เราต้องไปต่างจังหวัดหลายวัน แล้วนกแก้วมาคอว์ที่เลี้ยงไว้ดันมามีอาการแปลก ๆ ตอนเราไม่อยู่ โชคดีที่พี่เลี้ยงช่วยดูแลหายา และมาดูแลจนน้องกลับมาเป็นปกติเลยครับ อยากขอบคุณพี่เลี้ยงมาก ๆ ครับ
Saijai
ณัฐภัทร ดวงดี
3 ปีที่แล้ว
บริการดีมาก เคยใช้บริการให้ช่วยดูแลน้องหมาตอนเราไม่อยู่ ดูแลครบทุกอย่างเลยจริง ๆ ไม่นึกว่าจะดูแลให้ถึงขั้นอาบน้ำและตัดเล็บน้องให้ด้วย ชอบมาก ๆ เลยครับ
Saijai
ศุภสินทร์ จงวิภาส
3 ปีที่แล้ว
ติดต่อหาพี่เลี้ยงมาช่วยดูแลเจ้าตูบจากเว็บใส่ใจโดยตรงเลยค่ะ ขั้นตอนง่ายและรวดเร็วมาก ๆ แค่กรอกข้อมูล กด ๆ เลือกตัวเลือกที่ต้องการ รอไม่นานก็ได้คนดูแลเจ้าตูบที่บ้านเลยค่า
Saijai
ชนิดา มิ่งขวัญ
3 ปีที่แล้ว
เคยจ้างพี่เลี้ยงจากที่อื่นมาแล้วก่อนหน้านี้ ค่าจ้างค่อนข้างแพง จนมาเจอตัวเลือกที่เว็บไซต์ใส่ใจ ราคาก็อยู่ในระดับพอดีไม่สูงเกินไป พี่เลี้ยงก็สามารถดูแลได้อย่างดีเลยครับ แถมพี่เลี้ยงยังมีความรู้เกี่ยวกับสุนัขพันธุ์ขนาดใหญ่เยอะมากช่วยให้คำแนะนำในการดูแลสุนัขกับผมได้มากเลยครับ
Saijai
สันติ คงภักดี
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีหน้าที่อะไรบ้าง
เป็นเรื่องปกติที่คนรักสัตว์ต้องการที่จะเห็นสัตว์เลี้ยงของตนมีความสุข ทั้งสภาพจิตใจและการใช้ชีวิต หลาย ๆ คนที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้านแต่ไม่สามารถหาเวลาดูแลหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงได้บ่อย ๆ จึงตัดสินใจเลือกใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อให้มาทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน เนื่องจากพี่เลี้ยงที่มีความเป็นมืออาชีพและมีใจที่รักสัตว์นั้นสามารถทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของตนจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในยามที่ตนไม่อยู่นั่นเอง

หน้าที่หลัก ๆ ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบในการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ เช่น การให้อาหาร ให้น้ำ อาบน้ำ เป็นต้น
2. รับผิดชอบในการพาสัตว์เลี้ยงไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกาย สำหรับสัตว์ใหญ่อย่างสุนัขที่จำเป็นต้องได้รับการบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ พี่เลี้ยงสามารถพาสุนัขไปเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำเพื่อเป็นการออกกำลังกายได้ ในส่วนของสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกายเยอะอย่างเช่นแมว พี่เลี้ยงสามารถหาของเล่นชิ้นเล็ก ๆ มาเล่นกับสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงได้เคลื่อนไหวร่างกายบ้างเล็กน้อย
3. ดูแลทำความสะอาดกระบะขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงบ่อย ๆ และคอยสังเกตดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือสีที่แปลกไปในอุจจาระของสัตว์เลี้ยงหรือไม่ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของสัตว์เลี้ยง
4. คอยสังเกตอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยง หากสัตว์เลี้ยงมีอาการที่ผิดไปจากปกติที่เป็นอยู่อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นกำลังป่วยได้ และให้พี่เลี้ยงรีบรายงานกับเจ้าของหรือรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
5. คอยถ่ายภาพหรือรายงานความเป็นไประหว่างการดูแลสัตว์เลี้ยงให้กับเจ้าของ เพื่อสร้างความสบายใจและช่วยคลายความกังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะสามารถปรับตัวเข้ากับพี่เลี้ยงได้หรือไม่
บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเชื่อถือได้หรือไม่
หากจะฝากสัตว์เลี้ยงแสนรักไว้กับใครสักคน เราจะไว้ใจเขาได้อย่างไร วันนี้มีคำแนะนำมาบอกค่ะ

1) คัดกรองคนก่อนรับเข้าทำงาน เราจะต้องทราบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคนที่เราจะเลือกมาทำหน้าที่ “พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง” ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยว่ามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรืออาจจะต้องตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่าว่าพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงคนนี้มีการทำงานเป็นอย่างไร
2) ต้องทำการคุยและสัมภาษณ์พี่เลี้ยงก่อนทำการจ้างงาน ลองทดสอบโดยให้อยู่กับสัตว์เลี้ยงหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้วให้พี่เลี้ยงตอบว่าหากเจอเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้จะต้องทำอย่างไร รวมทั้งทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และการดูแลใส่ใจ การเลือกอาหารอีกทั้งการความสะอาดด้วย แม้ว่าการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีความรู้ และมีประสบการณ์อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการจ้างคนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าและลดความเสี่ยงที่สัตว์เลี้ยงจะไม่ปลอดภัยได้
3) นิสัยใจคอ ควรพิจารณานิสัยส่วนตัวของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงให้ดี โดยทำการสังเกตไม่ว่าจะเป็นการพูด การแสดงออกเมื่ออยู่กับสัตว์ ที่สำคัญควรจะเป็นบุคคลที่ใจเย็น ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เพราะการดูแลสัตว์หากไม่มีใจรักแล้วย่อมจะทำงานได้ยาก

จากคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น เราจะไว้ใจพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่ เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงานนี้ อีกวิธีที่สามารถช่วยให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงวางใจได้ก็คือ การติดกล้องวงจรปิดไว้ในบ้าน เพื่อคอยหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของทั้งสัตว์เลี้ยงและพี่เลี้ยงไปในตัว
อัตราค่าจ้างสำหรับพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอยู่ที่เรทเท่าไหร่
หน้าที่หลัก ๆ ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็คือการดูแลและคอยอยู่เป็นเพื่อนสัตว์เลี้ยงแทนในยามที่เราไม่อยู่บ้าน คอยช่วยดูแลในเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงเช่น การให้อาหาร การขับถ่าย การออกกำลังกาย เป็นต้น

ค่าจ้างในการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. รูปแบบของการใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีทั้งพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบไปเช้าเย็นกลับ และแบบค้างคืน ซึ่งค่าจ้างสำหรับพี่เลี้ยงสัตว์แบบค้างคืนนั้นจะแพงกว่าค่าจ้างแบบไปเช้าเย็นกลับ เพราะพี่เลี้ยงสัตว์ต้องคอยอยู่ดูแลสัตว์เลี้ยงตลอดทั้งวันทั้งคืนนั่นเอง
2. ประเภทของสัตว์เลี้ยง ความยากง่ายในการดูแลสัตว์แต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกัน หากเป็นสัตว์ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและมีความละเอียดอ่อนมากกว่าก็อาจทำให้ค่าจ้างนั้นแพงขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการดูแลสัตว์แปลกหายากที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและทักษะเพิ่มเติมในการดูแลมากยิ่งขึ้น
3. จำนวนของสัตว์เลี้ยง หากต้องการให้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงดูแลสัตว์ที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งตัว ค่าจ้างในการดูแลก็อาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนของสัตว์เลี้ยงเช่นกัน
4. ขนาดและน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่อาจมีค่าจ้างที่สูงกว่าสัตว์เลี้ยงขนาดทั่วไป เพราะอาจมีระดับความยากง่ายในการควบคุมและดูแลที่แตกต่างกันนั่นเอง ค่าจ้างของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจะอยู่ที่ขั้นต่ำ 300 บาทไปจนถึงสูงสุด 2,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าจ้างที่แตกต่างกันไปก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วยเช่นกัน
ทำอย่างไรให้สัตว์เลี้ยงของเราไม่เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์
เจ้าอ้วน คุณกำลังเรียกสัตว์เลี้ยงของคุณแบบนี้หรือเปล่า? บางคนอาจจะคิดว่าสัตว์เลี้ยงอ้วนแล้วน่ารัก แต่ในความเป็นจริงแล้วสัตว์เลี้ยงที่มีภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้เสี่ยงต่อหลายโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคอื่น ๆที่จะตามมาอีกมากมาย เป็นผลทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยและอายุสั้นลง

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง คือ สภาวะที่สัตว์มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ สาเหตุ มักเกิดจากความไม่สมดุลของอาหารที่ได้รับกับพลังงานที่สัตว์เลี้ยงใช้ไปในแต่ละวัน รวมไปถึงพันธุกรรม อายุ และการทำหมัน ก็มีผลต่อน้ำหนักได้เช่นกัน โดยมีสัตว์เลี้ยงจำนวนมากน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลังจากการทำหมัน จะทำอย่างไรหากไม่ต้องการให้สัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักเกิน เริ่มต้นที่เจ้าของสัตว์เลี้ยง อย่าใจอ่อนเวลารับประทานอาหารแล้วแบ่งปันให้สัตว์เลี้ยงทานด้วย จริง ๆ แล้วสัตว์เลี้ยงไม่ควรรับประทานอาหารของคนอยู่แล้ว แต่บางคนสงสารก็เลยให้อาหารคนกับสัตว์เลี้ยงไป นอกจากไม่ปลอดภัยแล้วยังทำให้เขาอ้วนอีกด้วย ที่สำคัญเจ้าของควรหาเวลาพาสัตว์เลี้ยงไปเดินออกกำลังกาย บางคนเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน วันๆ กินกับนอนอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมทำให้สัตว์เลี้ยงอ้วนเป็นธรรมดา สัตว์เลี้ยงก็เหมือนคน ยิ่งอายุมากการเผาผลาญก็แย่ลงและอ้วนง่ายขึ้น หากอยากให้สัตว์เลี้ยงอยู่กับเราไปนาน ๆ ก็ควรควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพที่แข็งแรง มีรูปร่างที่สมส่วน ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักเกินและลดการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความอ้วนได้ด้วย