ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน บ้านบึง, ชลบุรี

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน บ้านบึง, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

นงนุช  ปั่นแก้ว
นงนุช ปั่นแก้ว
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

เคยทำงานดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ทำทุกอย่างบนเตียง ให้อาหาร ให้ยา เข็ดตัว สวนอุจจาระ เปลี่ยนแพมเพิส ทำความสะอาดที่ดูแล ชอบเอาใจผู้ป่วยเข้าใจเอาใจใส่รักและเคารพผู้ป่วยและนายจ้างซื่อสัตย์จริงใจ แต่ไม่ชอบวุ่นวาย

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่เค้ามาช่วยดูแลคุณย่าที่ป่วยติดเตียง ดูแลคุณย่าเราอย่างดี ช่วยพลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง ช่วยให้คุณย่านอนหลับสบายขึ้นและป้องกันการเกิดแผลกดทับด้วย ที่สำคัญพี่เค้าดูแลเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี เพราะคุณย่าต้องสอดสายปัสสาวะ แกช่วยเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้เป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ แกดูแลคุณย่าเราเหมือนคนในครอบครัวแกเอง ทำให้เราไว้วางใจและประทับใจมาก ๆ
Saijai
สุธิดา ตรีอังกูร
3 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
4 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
4 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว
คุณตาของเราเพิ่งได้ออกจาก รพ หลังจากที่ต้องรักษาตัวอยู่เป็นอาทิตย์ กลับบ้านมาเป็นผู้ป่วยติดเตียง พยาบาลที่ รพ แนะนำให้หาคนดูแล ลอง Google พบเว็บใส่ใจ รู้ข้อมูลของผู้ดูแลก่อน ทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ยาก แล้วเราก็ได้ผู้ที่มาดูแลได้ดีอย่างมืออาชีพ
Saijai
หยดเทียน เจนกิจโสภณ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน
ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม ต้องนอนบนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม หรือผู้ประสบอุบัติเหตุรุนแรง บางรายสามารถขยับร่างกายบางส่วนได้บ้าง แต่บางรายไม่สามารถขยับอวัยวะใด ๆ ได้เลย ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากมีปัญหาเรื่อง แผลกดทับ และการขาดอาหาร ความรุนแรงอาจลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องทำในแต่ละวันได้แก่

1. สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ2 ชั่วโมง พร้อมกับการจัดท่านอนใหม่ เช่น นอนหงายสลับนอนตะแคง และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อลดแรงกดทับเช่น ที่นอนลม ฟองน้ำ เป็นต้น ในส่วนของการทำความสะอาดผิวหนัง ไม่ควรให้เปียกชื้นจนเกินไป เพราะจะเกิดการอักเสบของแผลตามมา
2. ผู้ป่วยติดเตียงบางราย มีความผิดปกติของช่องปากและคอหอย ทำให้การกลืนอาหารเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร ผู้ดูแลควรปรับเตียงของผู้ป่วยให้อยู่ที่ 45-90 องศา และใช้หมอนช่วยดันหลัง เพื่อง่ายต่อการทรงตัว และผู้ดูแลควรเลือกอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถเคี้ยวได้สะดวก ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทของเหลว เช่น โจ๊ก
3. ดูแลเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยรวม ทั้งระบบขับถ่าย ชำระล้างร่างกาย สังเกตสีปัสสาวะของผู้ป่วยอยู่บ่อยครั้ง เพราะสีปัสสาวะสามารถบอกโรคได้ รวมทั้งดูแลสุขภาพช่องปาก และฟัน พร้อมทั้งระวังการเกิดเชื้อราในช่องปาก นอกจากการดูแลความสะอาดของตัวผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลต้องจัดสภาพแวดล้อมห้องนอนของผู้ป่วยให้เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก
4. ดูแลเรื่องภาวะสุขภาพจิต นอกจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพของร่างกายแล้ว สุขภาพจิตก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลควรให้ความสนใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความเครียด และเบื่อหน่ายกับการทำกิจวัตรประจำวันซ้ำๆ ผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมมาทำกับผู้ป่วย เพื่อความผ่อนคลายร่วมกัน หรือขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อความเหมาะสม

อะไรคืออุปสรรคเมื่อคุณจ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงและสามารถรับมือได้อย่างไร
อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางรายอาจจะขยับร่างกายได้เป็นบางส่วนหรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัด

การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็อาจจะมีปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่มีความอดทนในการทำงานและต้องเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางท่านต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ หรืออาจมีอาการอื่น ๆร่วมด้วยเช่น ต้องสวนปัสสาวะหรืออุจจาระให้

หากผู้ดูแลไม่มีความอดทนย่อมไม่สามารถรับภาระที่มากมายและจุกจิกเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างต้องหาคนใหม่มาแทนอยู่ตลอด ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสอนงานใหม่ทั้งหมดในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้นก่อนที่จะรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาทำงานจึงควรจะทำการคุยรายละเอียดพร้อมทั้งอธิบายถึงอาการของผู้ป่วยให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต

นอกจากผู้ป่วยติดเตียงจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายแล้ว ปัญหาด้านสภาพจิตใจยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ ผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ ความเบื่อหน่ายและความทุกข์ทางด้านจิตใจ ซึ่งผู้ดูแลควรหากิจกรรมมาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ โดยผู้ว่าจ้างควรจะคัดเลือกจากจุดนี้เป็นสำคัญเช่นเดียวกัน
สิ่งที่ญาติควรเตรียมก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นญาติของผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ญาติผู้ป่วยควรรู้และเตรียมตัวก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพื่อเตรียมตัวในการกำหนดและจัดหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการในการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง
2. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องมั่นใจว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด เช่น เตียงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่นอนลม รถเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหนมาไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การทำแผล อุปกรณ์ทำความสะอาดผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่หายใจเองลำบาก อย่างเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
3. ความพร้อมทางด้านการเงิน อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นการดูแลในระยะยาว ดังนั้นจึงอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องวางแผนและบริหารจัดการการเงินในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. จัดเตรียมสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ครอบครัวควรจัดหาสถานที่ในบ้านที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยอยู่ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อยู่ชั้นล่างเพื่อง่ายต่อการขนย้ายผู้ป่วย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน




ผู้ดูแลควรดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ไม่เกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องนอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้ผิวหนังได้รับแรงกดจากน้ำหนักตัวโดยตรง เลือด สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงผิวหนังลดลงจนเนื้อเยื่อตาย แผลกดทับเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับมีดังนี้

1. เริ่มตั้งแต่การจัดท่าทาง หมั่นปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดทับไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจากการนอนหรือการนั่งท่าเดิมนาน ๆ โดยการพลิกตัวปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยควรทำอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง เตียงนอนของผู้ป่วยปรับให้สูงไม่เกิน 30 องศา ในส่วนของรถเข็น ควรเลือกรถเข็นที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ เสริมได้อีก เช่น เตียงลม หมอน เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจำพวกโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันผิวหนังที่ถูกทำลาย และช่วยให้อาการป่วยหายดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่เสี่ยงขาดสารอาหาร ควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีจะช่วยให้โอกาสการเกิดแผลน้อย และแผลฟื้นตัวเร็วในกรณีที่เป็นแผลแล้ว
3. หมั่นทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาด และแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันความอับชื้น ทาโลชั่นเมื่อผิวแห้งและหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งกว่าเดิม รวมถึงการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบกระดุมเสื้อ ตะเข็บผ้าปูที่นอน เพื่อป้องกันการเสียดสี