ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน ดอนตูม, นครปฐม

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน ดอนตูม, นครปฐม

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
3 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
3 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
อยากได้คนดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน แต่เป็นอีกคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องการใช้โซเชี่ยลหรืออินเทอร์เน็ตในการทำอะไรแบบนี้ ญาติเลยแนะนำเว็บใส่ใจมา บอกให้ลองเปิดดู อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ดูแล้วลองศึกษาวิธีการตามดูแล้วก็ค้นพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดไว้ตอนแรกเลยค่ะ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ
Saijai
ศิศิกาญจน์ แย้มสมัย
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้สภาวะร่างกายเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป อีกทั้งยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพราะต้องนอนอยู่แต่บนเตียงตลอดเวลานั่นเอง ผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ดูแลที่มีประสบการณ์และมีความมืออาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นยิ่งดี เพราะผู้ดูแลจะมีวิธีการดูแลอย่างถูกวิธีนั่นเอง

หน้าที่หลักของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีดังนี้

1. ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานานนั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่างตามมา เช่น แผลกดทับ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับเป็นเวลานานนั่นเอง ผู้ดูแลจำเป็นต้องดูแลเรื่องการจัดท่านอนอย่างถูกต้อง จับผู้ป่วยพลิกตัวอยู่เสมอ คอยช่วยขยับแขนหรือขา เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อฝ่อและไม่ให้เกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ผู้ดูแลมีหน้าที่ใส่ใจเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยจะดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การขับถ่าย การชำระร่างกาย เป็นต้น รวมไปถึงดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และสิ่งของทั้งหลายที่ผู้ป่วยใช้ เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยติดเตียงบางคนอาจต้องให้อาหารทางสายยาง ดังนั้นผู้ดูแลต้องหมั่นตรวจสอบและติดตามอาการจากแพทย์บ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ หากไม่เพียงพอจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เรื่องอาหารเสริมหรือวิธีแก้ไขอื่น ๆ ต่อไป
4. ดูแลเรื่องสภาวะจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนที่อยู่บนเตียงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้สภาพจิตใจแย่ลง ผู้ดูแลควรหากิจกรรมหรือพูดคุยและอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระบบการทำงานต่าง ๆ และสภาพร่างกายย่อมเสื่อมโทรมลง และนำไปสู่การเป็นผู้เป็นผู้ป่วยติดเตียงได้ ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเป็นอย่างดี อีกทั้งจำเป็นจะต้องให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิด

ปัญหาที่พบได้บ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้ไข มีดังต่อไปนี้

1. แผลกดทับ เนื่องจากขยับตัวได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ต้องนอนกับที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดแผลกดทับตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณ ท้ายทอย ข้อศอก สะโพก ก้นกบ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ดี อาการแผลกดทับเหล่านี้อาจลุกลามไปเป็นแผลติดเชื้อที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ วิธีแก้ไขคือผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย ๆ หรือพยายามเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยอยู่เสมอ ห้ามทิ้งผู้ป่วยให้นอนในท่าเดียวซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หมั่นทำความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และอาจใช้อุปกรณ์เสริมในการลดแรงกดดันของกระดูก
2. ปัญหาเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา การทำความสะอาดร่างกายเป็นไปได้ยากและจำกัด ต้องให้ผู้ป่วยขับถ่ายด้วยกระโถนบนที่นอน บางรายต้องใช้สายสวนปัสสาวะ ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในรายที่ใช้สายสวนปัสสาวะ ผู้ดูแลจำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำทุกสองสัปดาห์ และควรทำความสะอาดสายด้วยสบู่อ่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรทำความสะอาดร่างกาย ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการขับถ่ายต้องรีบทำความสะอาดทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเป็นอันขาด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ สุขภาพปากและฟันสำคัญควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังมื้ออาหาร
3. ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้ป่วย สิ่งนี้นับเป็นอีกสิ่งสำคัญ เพราะผู้ป่วยติดเตียงอาจมีภาวะเครียดและอาการซึมเศร้าได้ ผู้ดูแลควรชวนพูดคุย หรืออ่านหนังสือ หรือเปิดเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบเพื่อเป็นการสร้างความผ่อนคลาย ผู้ดูแลต้องไม่แสดงอาการไม่พอใจ หงุดหงิด กับผู้ป่วยเพราะอาจกระทบต่อความรู้สึกของผู้ป่วยได้
หากต้องการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ทั้งเครื่องมือ ของใช้ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก รวมทั้งผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำระยะยาว และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

ครอบครัวสามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเรื่องแนวทางการดูแล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้หรือไม่ได้ การดูแลรักษาความสะอาด เป็นต้น เพื่อที่จะได้กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องและครอบคลุม
2. จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เตียงที่สามารถปรับท่านอนหรือนั่งได้ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่นอนลม อาจรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ออกซิเจนชนิดถัง หรือของใช้ที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ
3. เตรียมพื้นที่หรือจัดบ้านให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วย เช่น ที่พักของผู้ป่วยควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับเตียงและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดูแล อากาศโปร่งถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
มีวิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้ผู้ป่วยติดเตียงมีแผลกดทับ
เมื่อเกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยแล้ว ต้องดูแลรักษาแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อ อย่างระมัดระวังที่สุดเพราะแผลอาจรุกรามได้ ส่วนนิยามของการส่วนการรักษาแผลกดทับคือการช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง

วิธีป้องกันแผลกดทับมีดังนี้

• ที่สำคัญที่สุดคือการจัดท่าทางในการนั่งและนอน ควรปรับเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 ชั่วโมงช่วย เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวและเป็นการป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ดี ควรเลือกเบาะรองนั่งหรือเตียงนอนที่ช่วยผ่อนแรงกด อาจเป็นเตียงนอนลม หรือหาหมอนลม ห่วงยางที่มีรูมารองตรงจุดกดทับ และเปลี่ยนท่าทุก 15 นาทีสำหรับท่านั่งและ2 ชั่วโมงในท่านอน ปรับเตียงให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งกันจนเกิดแผลกดทับ
• ทำแผนภูมิ รูปอธิบายอย่างชัดเจน เป็น “นาฬิกาพลิกตัวผู้ป่วย” อีกวิธีที่หนึ่งที่จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงมีสุขภาพที่ดีขึ้นและปลอดภัยจากการเกิดแผลกดทับ เริ่มต้นด้วย 6 โมงเช้า พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางซ้าย จากนั้น 8 โมงเช้า พลิกผู้ป่วยนอนหงาย เมื่อถึงเวลา 10 โมงเช้า พลิกกลับมาตะแคงขวา เที่ยงวัน เปลี่ยนอิริยาบถ แล้วให้ตะแคงซ้ายอีกครั้ง ฯลฯ ทำเช่นนี้สลับวนไปทุกๆ สองชั่วโมง เมื่อถึงกลางคืนเวลานอน แนะนำให้ใช้ที่นอนลมหรือแผ่นเจลรอง ลดการกดทับปุ่มกระดูก
• การทำความสะอาดผิวหนัง ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคที่มีความเสี่ยงให้เกิดแผลกดทับ ควรหมั่นตรวจผิวหนังของผู้ป่วยว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ หลังจากล้างทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ดูแลผิวสม่ำเสมอ เช่น ทาโลชั่นสำหรับผิวแห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนอย่างสม่ำเสมอ ตรวจดูกระดุมเสื้อหรือตะเข็บของผ้าปูที่นอนให้ดี เพื่อป้องกันและลดการเสียดสีผิวหนัง