ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน สมุทรสาคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
3 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
3 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
3 ปีที่แล้ว
อยากได้คนดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน แต่เป็นอีกคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องการใช้โซเชี่ยลหรืออินเทอร์เน็ตในการทำอะไรแบบนี้ ญาติเลยแนะนำเว็บใส่ใจมา บอกให้ลองเปิดดู อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ดูแล้วลองศึกษาวิธีการตามดูแล้วก็ค้นพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดไว้ตอนแรกเลยค่ะ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ
Saijai
ศิศิกาญจน์ แย้มสมัย
4 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ดูแลแค่เรื่องกิจวัตร แต่พี่ีที่เฝ้าคุณพ่อยังดูแลเรื่องกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้กับคุณพ่อผมอีกด้วยครับ ดีเกินกว่าที่คิดไว้จริง พี่เค้าอัธยาศัยดีมากครับ ตอนนี้นอกจากอาการของคุณพ่อผมดีขึ้นแล้วยังมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นอีกด้วยครับ
Saijai
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอน อาการเจ็บป่วยอาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ต้องเข้าเฝือกตัว ผู้ป่วยอัมพาตที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือผู้ป่วยชราที่มีความอ่อนเพลียมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยประเภทนี้จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ในบ้านโดยมีผู้ดูแล

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าที่จะทำให้เกิดแผลกดทับได้
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลการป้อนอาหาร โดยปรับเตียงให้อยู่ในมุม 45-90 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับอาหารให้เหมาะสมกับภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ภาวะกลืนลําบากอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย เพราะมีโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟันการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene) มีส่วนสําคัญในการรักษาภาวะอาการกลืนลําบากซึ่งมักถูกมองข้าม การดูแลสุขภาพช่องปากจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสําลัก
4. ภาวะสุขภาพจิต เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่ายและความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อผ่อนคลายและลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง
คุณเจออุปสรรคอะไรบ้างเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หลาย ๆ คนที่อาจไม่มีเวลาว่างมากพอในการอยู่ดูแลผู้ป่วยจึงแก้ปัญหาโดยการเลือกจ้างผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาช่วยทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน แต่การจ้างผู้ดูแลอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าผู้ดูแลไม่มีความสามารถและทักษะการดูแลมากพอ จนกายเป็นอุปสรรค อาจต้องเปลี่ยนผู้ดูแลอยู่บ่อย ๆ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
สิ่งที่ญาติควรเตรียมก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นญาติของผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ญาติผู้ป่วยควรรู้และเตรียมตัวก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพื่อเตรียมตัวในการกำหนดและจัดหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการในการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง
2. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องมั่นใจว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด เช่น เตียงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่นอนลม รถเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหนมาไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การทำแผล อุปกรณ์ทำความสะอาดผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่หายใจเองลำบาก อย่างเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
3. ความพร้อมทางด้านการเงิน อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นการดูแลในระยะยาว ดังนั้นจึงอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องวางแผนและบริหารจัดการการเงินในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. จัดเตรียมสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ครอบครัวควรจัดหาสถานที่ในบ้านที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยอยู่ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อยู่ชั้นล่างเพื่อง่ายต่อการขนย้ายผู้ป่วย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน




ผู้ดูแลควรดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ไม่เกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องนอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้ผิวหนังได้รับแรงกดจากน้ำหนักตัวโดยตรง เลือด สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงผิวหนังลดลงจนเนื้อเยื่อตาย แผลกดทับเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับมีดังนี้

1. เริ่มตั้งแต่การจัดท่าทาง หมั่นปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดทับไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจากการนอนหรือการนั่งท่าเดิมนาน ๆ โดยการพลิกตัวปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยควรทำอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง เตียงนอนของผู้ป่วยปรับให้สูงไม่เกิน 30 องศา ในส่วนของรถเข็น ควรเลือกรถเข็นที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ เสริมได้อีก เช่น เตียงลม หมอน เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจำพวกโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันผิวหนังที่ถูกทำลาย และช่วยให้อาการป่วยหายดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่เสี่ยงขาดสารอาหาร ควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีจะช่วยให้โอกาสการเกิดแผลน้อย และแผลฟื้นตัวเร็วในกรณีที่เป็นแผลแล้ว
3. หมั่นทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาด และแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันความอับชื้น ทาโลชั่นเมื่อผิวแห้งและหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งกว่าเดิม รวมถึงการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบกระดุมเสื้อ ตะเข็บผ้าปูที่นอน เพื่อป้องกันการเสียดสี