ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน หางดง, เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน หางดง, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

จ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านเว็บไซต์ใส่ใจ ดูแลดีมากครับ ใส่ใจรายละเอียดมาก ๆ มีวิธีการดูแลที่ไม่ให้เกิดแผลกดทับ และยังเป็นคนซื่อสัตย์อีกด้วย
Saijai
เจนสุดา ปู่หลง
3 ปีที่แล้ว
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
3 ปีที่แล้ว
ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
3 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
3 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ดูแลแค่เรื่องกิจวัตร แต่พี่ีที่เฝ้าคุณพ่อยังดูแลเรื่องกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้กับคุณพ่อผมอีกด้วยครับ ดีเกินกว่าที่คิดไว้จริง พี่เค้าอัธยาศัยดีมากครับ ตอนนี้นอกจากอาการของคุณพ่อผมดีขึ้นแล้วยังมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นอีกด้วยครับ
Saijai
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้สภาวะร่างกายเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป อีกทั้งยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพราะต้องนอนอยู่แต่บนเตียงตลอดเวลานั่นเอง ผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ดูแลที่มีประสบการณ์และมีความมืออาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นยิ่งดี เพราะผู้ดูแลจะมีวิธีการดูแลอย่างถูกวิธีนั่นเอง

หน้าที่หลักของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีดังนี้

1. ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานานนั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่างตามมา เช่น แผลกดทับ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับเป็นเวลานานนั่นเอง ผู้ดูแลจำเป็นต้องดูแลเรื่องการจัดท่านอนอย่างถูกต้อง จับผู้ป่วยพลิกตัวอยู่เสมอ คอยช่วยขยับแขนหรือขา เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อฝ่อและไม่ให้เกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ผู้ดูแลมีหน้าที่ใส่ใจเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยจะดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การขับถ่าย การชำระร่างกาย เป็นต้น รวมไปถึงดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และสิ่งของทั้งหลายที่ผู้ป่วยใช้ เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยติดเตียงบางคนอาจต้องให้อาหารทางสายยาง ดังนั้นผู้ดูแลต้องหมั่นตรวจสอบและติดตามอาการจากแพทย์บ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ หากไม่เพียงพอจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เรื่องอาหารเสริมหรือวิธีแก้ไขอื่น ๆ ต่อไป
4. ดูแลเรื่องสภาวะจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนที่อยู่บนเตียงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้สภาพจิตใจแย่ลง ผู้ดูแลควรหากิจกรรมหรือพูดคุยและอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
คุณเจออุปสรรคอะไรบ้างเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หลาย ๆ คนที่อาจไม่มีเวลาว่างมากพอในการอยู่ดูแลผู้ป่วยจึงแก้ปัญหาโดยการเลือกจ้างผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาช่วยทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน แต่การจ้างผู้ดูแลอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าผู้ดูแลไม่มีความสามารถและทักษะการดูแลมากพอ จนกายเป็นอุปสรรค อาจต้องเปลี่ยนผู้ดูแลอยู่บ่อย ๆ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
หากต้องการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ทั้งเครื่องมือ ของใช้ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก รวมทั้งผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำระยะยาว และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

ครอบครัวสามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเรื่องแนวทางการดูแล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้หรือไม่ได้ การดูแลรักษาความสะอาด เป็นต้น เพื่อที่จะได้กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องและครอบคลุม
2. จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เตียงที่สามารถปรับท่านอนหรือนั่งได้ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่นอนลม อาจรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ออกซิเจนชนิดถัง หรือของใช้ที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ
3. เตรียมพื้นที่หรือจัดบ้านให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วย เช่น ที่พักของผู้ป่วยควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับเตียงและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดูแล อากาศโปร่งถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ผู้ดูแลควรดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ไม่เกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องนอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้ผิวหนังได้รับแรงกดจากน้ำหนักตัวโดยตรง เลือด สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงผิวหนังลดลงจนเนื้อเยื่อตาย แผลกดทับเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับมีดังนี้

1. เริ่มตั้งแต่การจัดท่าทาง หมั่นปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดทับไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจากการนอนหรือการนั่งท่าเดิมนาน ๆ โดยการพลิกตัวปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยควรทำอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง เตียงนอนของผู้ป่วยปรับให้สูงไม่เกิน 30 องศา ในส่วนของรถเข็น ควรเลือกรถเข็นที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ เสริมได้อีก เช่น เตียงลม หมอน เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจำพวกโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันผิวหนังที่ถูกทำลาย และช่วยให้อาการป่วยหายดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่เสี่ยงขาดสารอาหาร ควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีจะช่วยให้โอกาสการเกิดแผลน้อย และแผลฟื้นตัวเร็วในกรณีที่เป็นแผลแล้ว
3. หมั่นทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาด และแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันความอับชื้น ทาโลชั่นเมื่อผิวแห้งและหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งกว่าเดิม รวมถึงการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบกระดุมเสื้อ ตะเข็บผ้าปูที่นอน เพื่อป้องกันการเสียดสี