ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน คลองเตย, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน คลองเตย, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาล
การที่ผู้ป่วยเข้ารับรักษาโรคในโรงพยาบาลและมีการเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยใน (IPD : In Patient Department) แล้วนั้น การมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาลนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าสาเหตุการเข้ารับรักษาจะเกิดขึ้นเนื่องจากโรคประจำตัว เจ็บป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล การเข้าผ่าตัด หรือการประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่ละอาการอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยหนักหรือร้ายแรงมากอาจยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ หรือลักษณะความเจ็บป่วยของโรค การมีญาติหรือคนเฝ้า จะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ เช่น พยุงไปห้องน้ำ ป้อนข้าว ซื้อของให้ และแจ้งแพทย์หรือพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะพยาบาลไม่ได้เฝ้าอยู่ดูอาการผู้ป่วยตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีคนเฝ้าไข้ที่คอยดูแล สังเกตอาการ เพื่อที่จะได้รักษาทันท่วงที

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีญาติ ไม่มีผู้ที่สามารถเฝ้าไข้ตอนอยู่โรงพยาบาล หรือญาติจำเป็นต้องไปทำกิจธุระบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งคือ จ้างพยาบาลพิเศษเฝ้าไข้ผู้ป่วยนั้นเอง โดยในโรงพยาบาลทั่วไปมีบริการทางเลือกพิเศษนี้ให้แก่ผู้ป่วยในและญาติอยู่แล้ว แต่อัตราค่าบริการค่อนข้างสูง เพราะผู้ให้บริการเป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่เนื่องจากผู้ป่วยยังอยู่ในโรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาจไม่จำเป็นต้องจ้างพยาบาลวิชาชีพเสริม ตัวเลือกอีกแบบสำหรับการเฝ้าไข้ อาจเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงและรักงาน อัตราค่าบริการจะถูกกว่าแบบแรก การใช้บริการทั้งสองแบบทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยนั้นอุ่นใจว่าผู้ทำหน้าที่เฝ้าไข้และผู้ป่วยไม่ต้องอยู่ตามลำพัง
คนเฝ้าไข้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การพิจารณาคุณสมบัติของคนที่จะมาเฝ้าไข้ให้กับผู้ป่วยพักฟื้นนั้นเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็นเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากได้ผู้เฝ้าไข้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในด้านการพยาบาลพิเศษมาจะยิ่งดีต่อตัวผู้ป่วยเลยทีเดียว
2. ผู้เฝ้าไข้ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีใจรักในงานด้านการบริการ สามารถดูแลผู้ป่วยพักฟื้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเช็ดตัว ป้อนข้าว ป้อนยา ดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วย เป็นต้น
3. มีความสามารถในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยพักฟื้นบางรายอาจนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกินจนเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนล้า ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
4. ผู้เฝ้าไข้สามารถอยู่เป็นเพื่อนและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานจนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การมีเพื่อนคอยรับฟังปัญหาหรือชวนพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
5. สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บางครั้งผู้ป่วยพักฟื้นอาจไม่ได้แค่ต้องการนอนอยู่เฉย ๆ อย่างเดียว การทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างอ่านหนังสือ พาเดินเล่นใกล้ ๆ บริเวณห้องพักก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เช่นกัน
6. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และหมั่นสังเกตอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อคอยรายงานให้กับผู้ว่าจ้างและขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้
อะไรคือสิ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกังวลเมื่อต้องใช้บริการคนเฝ้าไข้ เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
อะไรคือสิ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกังวลเมื่อต้องใช้บริการคนเฝ้าไข้ คุณจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

สิ่งที่กังวลอันดับแรกคือความเป็นมืออาชีพและประสบการณ์ แม้บางครั้งคนเฝ้าไข้อาจจะมีหน้าที่แค่อยู่เป็นเพื่อนคนไข้ขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล ช่วยพยุงตัวเข้าห้องน้ำ หรือช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งดูเป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้ความชำนาญหรือประสบการณ์มากมาย แต่ในความเป็นจริงคนเฝ้าไข้ต้องตระหนักถึงหน้าที่ของตนและไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยคลาดสายตา เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิดที่เป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้ทุกขณะ ฉะนั้นการเลือกคนเฝ้าไข้ที่มีประสบการณ์ย่อมเข้าใจหน้าที่และรู้วิธีรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัววางใจได้มากขึ้น
เมื่อต้องปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่กับคนเฝ้าไข้ตามลำพัง อาจทำให้กังวลใจเรื่องทรัพย์สินและความปลอดภัย กลัวว่าคนเฝ้าไข้จะลักขโมยของมีค่าหรือทำร้ายผู้ป่วย คนดูแลที่ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมถือเป็นตัวเลือกที่ทำให้คุณสบายใจได้ว่าคนดูแลไม่เคยทำผิดกฏหมาย หรือมีประวัติที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น

ความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ควบคุมไม่ได้ การจ้างงานโดยปากเปล่าหรือใช้สัญญาใจ ว่าจ้างผ่านคนใกล้ชิด คนรู้จัก หรือเพื่อนแนะนำมา อาจนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่ซ่อนไว้ เช่นเมื่อเจองานหนัก (ซึ่งจริงๆ แล้วอาจไม่หนัก) ขอเงินเพิ่ม ขอหยุดงาน เป็นต้น

การเลือกใช้ผู้บริการอยู่เป็นเพื่อนหรือรับจ้างอยู่บนเพื่อนผู้ป่วยบนแพลตฟอร์มใส่ใจ ท่านจะได้รับรู้ข้อมูลของผู้ให้บริการทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน และรีวิวความพอใจของผู้ใช้บริการก่อนหน้า และสามารถเลือกผู้ให้บริการที่ผ่านการตรวจสอบอาชญากรรม ระบุวันและเวลาทำงาน พร้อมคำนวณค่าบริการที่ชัดเจน ก่อนเริ่มงาน ใส่ใจยังมีฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ที่จะช่วยให้คำแนะนำในการที่เป็นประโยชน์ทั้งในการจองผ่านระบบและข้อมูลความรู้อื่น ๆ
ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อทางใส่ใจรับดูแลหรือไม่
บน Platform ของใส่ใจมีผู้ให้บริการเฝ้าไข้ แต่ต้องขอสงวนสิทธิ์หากผู้ป่วยมีโรคติดต่อดังต่อไปนี้

1. โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 / COVID-19) โดยจะมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา
2. โรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Smallpox) โรคนี้จะมีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง หากตุ่มเหล่านี้แตกก็จะทำให้ติดต่อกันได้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจและการสัมผัสทางผิวหนัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ แต่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยการปลูกฝี
3. โรควัณโรค ที่มีการดื้อยา 4 ขนาน ได้แก่ ไอโซไนอะซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) กลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) และกลุ่มยาทางเลือกที่สอง ที่เป็นยาชนิดฉีด (Second-line injectable drugs) ซึ่งหมายความว่า วัณโรคชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ยาดังกล่าวรักษาให้หายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยมีโอกาสในการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ง่าย
4. โรคตาแดง เป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยและมักระบาดในช่วงหน้าฝน ถึงแม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถติดต่อได้และต้องรีบทำการรักษา
5. โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 (โรคไข้หวัดใหญ่ 2009) เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนเริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ไปยังหลายประเทศ

ไม่เพียงแต่ 5 โรคข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ โรคติดต่อร้ายแรงที่ผู้ให้บริการต้องขอสงวนสิทธิ์ในการรับดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ดูแล