ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน วัฒนา, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน วัฒนา, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาล
การที่ผู้ป่วยเข้ารับรักษาโรคในโรงพยาบาลและมีการเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยใน (IPD : In Patient Department) แล้วนั้น การมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาลนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าสาเหตุการเข้ารับรักษาจะเกิดขึ้นเนื่องจากโรคประจำตัว เจ็บป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล การเข้าผ่าตัด หรือการประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่ละอาการอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยหนักหรือร้ายแรงมากอาจยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ หรือลักษณะความเจ็บป่วยของโรค การมีญาติหรือคนเฝ้า จะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ เช่น พยุงไปห้องน้ำ ป้อนข้าว ซื้อของให้ และแจ้งแพทย์หรือพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะพยาบาลไม่ได้เฝ้าอยู่ดูอาการผู้ป่วยตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีคนเฝ้าไข้ที่คอยดูแล สังเกตอาการ เพื่อที่จะได้รักษาทันท่วงที

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีญาติ ไม่มีผู้ที่สามารถเฝ้าไข้ตอนอยู่โรงพยาบาล หรือญาติจำเป็นต้องไปทำกิจธุระบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งคือ จ้างพยาบาลพิเศษเฝ้าไข้ผู้ป่วยนั้นเอง โดยในโรงพยาบาลทั่วไปมีบริการทางเลือกพิเศษนี้ให้แก่ผู้ป่วยในและญาติอยู่แล้ว แต่อัตราค่าบริการค่อนข้างสูง เพราะผู้ให้บริการเป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่เนื่องจากผู้ป่วยยังอยู่ในโรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาจไม่จำเป็นต้องจ้างพยาบาลวิชาชีพเสริม ตัวเลือกอีกแบบสำหรับการเฝ้าไข้ อาจเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงและรักงาน อัตราค่าบริการจะถูกกว่าแบบแรก การใช้บริการทั้งสองแบบทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยนั้นอุ่นใจว่าผู้ทำหน้าที่เฝ้าไข้และผู้ป่วยไม่ต้องอยู่ตามลำพัง
คนเฝ้าไข้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การพิจารณาคุณสมบัติของคนที่จะมาเฝ้าไข้ให้กับผู้ป่วยพักฟื้นนั้นเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็นเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากได้ผู้เฝ้าไข้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในด้านการพยาบาลพิเศษมาจะยิ่งดีต่อตัวผู้ป่วยเลยทีเดียว
2. ผู้เฝ้าไข้ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีใจรักในงานด้านการบริการ สามารถดูแลผู้ป่วยพักฟื้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเช็ดตัว ป้อนข้าว ป้อนยา ดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วย เป็นต้น
3. มีความสามารถในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยพักฟื้นบางรายอาจนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกินจนเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนล้า ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
4. ผู้เฝ้าไข้สามารถอยู่เป็นเพื่อนและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานจนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การมีเพื่อนคอยรับฟังปัญหาหรือชวนพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
5. สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บางครั้งผู้ป่วยพักฟื้นอาจไม่ได้แค่ต้องการนอนอยู่เฉย ๆ อย่างเดียว การทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างอ่านหนังสือ พาเดินเล่นใกล้ ๆ บริเวณห้องพักก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เช่นกัน
6. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และหมั่นสังเกตอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อคอยรายงานให้กับผู้ว่าจ้างและขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้
สิ่งที่กวนใจคุณเมื่อจำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าไข้ แนวทางแก้ไขมีอย่างไรบ้าง
หากคุณจำเป็นต้องจ้างผู้ดูแลเพื่อมาดูแลผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระยะพักฟื้นที่บ้านนั้น แน่นอนว่าอาจมีสิ่งที่คอยกวนใจจนทำให้เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่ที่จะทำให้คุณต้องคอยพะวงอยู่ตลอดเวลาคือการที่ต้องคอยกังวลว่าผู้ดูแลจะมีความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัวที่คุณรักได้ดีหรือไม่นั่นเอง

แนวทางในการแก้ไขคือการเลือกพิจารณาเลือกผู้ดูแลจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของคุณ จึงควรพิจารณาเลือกผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจะดีที่สุด เพราะถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นมีความมืออาชีพจริง ๆ และสามารถอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยแทนเราได้นั่นเอง

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวผู้ป่วยเองและทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในบ้าน วิธีแก้ปัญหาคือควรตรวจสอบประวัติของผู้ดูแลให้ละเอียดก่อนทำการจ้างนั่นเอง โดยสามารถตรวจสอบจากการค้นหารีวิวเพิ่มเติมจากผู้จ้างก่อนหน้านี้ ที่สำคัญต้องมั่นใจว่าผู้ดูแลที่จะจ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดทางอาชญากรรมใด ๆ มาก่อนด้วย

อีกหนึ่งทางที่สามารถคลายกังวลให้คุณได้คือการนัดสัมภาษณ์ก่อนการจ้างงานเพื่อที่คุณจะได้ทำความรู้จักนิสัยใจคอของผู้ดูแล อีกทั้งคุณสามารถสังเกตวิธีการตอบคำถามของผู้ดูแลเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณได้ เพราะฉะนั้นหากคุณจะเลือกใครสักคนมาดูแลคนใกล้ชิด ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า และเพื่อคุณจะได้ผู้ดูแลที่ดีที่สุดมาดูแลคนที่คุณรัก
ผู้ป่วยโรคใดบ้างที่ผู้ให้บริการบน Platform ของใส่ใจที่ทางใส่ใจไม่รับดูแล
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคที่อาจเป็นอันตรายและอาจทำให้ผู้ดูแลเสี่ยงอันตราย ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อหรือได้รับการรักษาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ดูแลได้ ผู้ดูแลต้องปฏิบัติตามการแนะนำของแพทย์จึงไม่สามารถให้บริการเฝ้าไข้ ผู้ป่วยที่มีโรคต่าง ๆ ดังนี้

• วัณโรคที่ตรวจเสมหะพบเชื้อ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่โดยเชื้อจนอยู่ในเสมหะที่มีขนาด 1-5 ไมครอน เชื้อจะไปถึงถุงลมในปอดและทำให้เกิดการติดเชื้อ เสมหะเกิดจากการไอ จาม พูด เชื้อโรคอาจจะอยู่ที่กล่องเสียงหรือในปอด ซึ่งสามารถติดต่อได้หากอยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อโดยไม่ระมัดระวัง
• ไข้หวัดใหญ่ ผู้มีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ผ่านการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
• ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูกหรือปาก ซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด 19 ไอ จามหรือพูด ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก กระจายไปได้ไม่ไกลและตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว เรารับเชื้อโรคโควิด 19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย
• ผู้ป่วยที่กำลังรักษาการรักษาโรคด้วยเรเดียมและสารกัมมันตรังสีระยะอันตราย