ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน สะพานสูง, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน สะพานสูง, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาล
การที่ผู้ป่วยเข้ารับรักษาโรคในโรงพยาบาลและมีการเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยใน (IPD : In Patient Department) แล้วนั้น การมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาลนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าสาเหตุการเข้ารับรักษาจะเกิดขึ้นเนื่องจากโรคประจำตัว เจ็บป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล การเข้าผ่าตัด หรือการประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่ละอาการอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยหนักหรือร้ายแรงมากอาจยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ หรือลักษณะความเจ็บป่วยของโรค การมีญาติหรือคนเฝ้า จะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ เช่น พยุงไปห้องน้ำ ป้อนข้าว ซื้อของให้ และแจ้งแพทย์หรือพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะพยาบาลไม่ได้เฝ้าอยู่ดูอาการผู้ป่วยตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีคนเฝ้าไข้ที่คอยดูแล สังเกตอาการ เพื่อที่จะได้รักษาทันท่วงที

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีญาติ ไม่มีผู้ที่สามารถเฝ้าไข้ตอนอยู่โรงพยาบาล หรือญาติจำเป็นต้องไปทำกิจธุระบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งคือ จ้างพยาบาลพิเศษเฝ้าไข้ผู้ป่วยนั้นเอง โดยในโรงพยาบาลทั่วไปมีบริการทางเลือกพิเศษนี้ให้แก่ผู้ป่วยในและญาติอยู่แล้ว แต่อัตราค่าบริการค่อนข้างสูง เพราะผู้ให้บริการเป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่เนื่องจากผู้ป่วยยังอยู่ในโรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาจไม่จำเป็นต้องจ้างพยาบาลวิชาชีพเสริม ตัวเลือกอีกแบบสำหรับการเฝ้าไข้ อาจเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงและรักงาน อัตราค่าบริการจะถูกกว่าแบบแรก การใช้บริการทั้งสองแบบทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยนั้นอุ่นใจว่าผู้ทำหน้าที่เฝ้าไข้และผู้ป่วยไม่ต้องอยู่ตามลำพัง
คุณสมบัติของคนเฝ้าไข้มีอะไรบ้าง
หากญาติไม่สามารถเฝ้าไข้ผู้ป่วยเองได้ การจ้างผู้ให้บริการรับเฝ้าไข้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะการให้ผู้ป่วยอยู่เพียงลำพังถือเป็นอันตราย เพราะผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เต็มที่ การมีคนเฝ้าไข้จะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ผู้ป่วย และสังเกตอาการของผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัย

คุณสมบัติของผู้ให้บริการเฝ้าไข้มีดังนี้

1. คนที่จะทำงานเกี่ยวกับคนไข้ จะต้องมีใจรัก เอาใจใส่คนไข้ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่เฝ้าไข้ ต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยทุกอย่าง เพราะผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด และหมั่นถามความต้องการของผู้ป่วยอยู่สม่ำเสมอ
2. หมั่นหากิจกรรมต่างๆแก้เหงาให้คนไข้ทำ เท่าที่คนไข้สามารถทำได้ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูแลสภาพจิตใจให้หายเครียด การเอาใจใส่จากภายใน จะสามารถส่งผลถึงร่างกายภายนอก ให้หายจากอาการป่วยเร็วอีกด้วย ผู้ป่วยบางท่านอาจมีอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายจากการรักษา หรือเจ็บปวดจากแผล ผู้ดูแลต้องเอาใจใส่ ดูแลให้ถูกวิธี
3. เป็นคนใจเย็น ละเอียดรอบคอบ คิดไตร่ตรองอยู่สม่ำเสมอ พิจารณาการตัดสินใจอาการต่างๆของผู้ป่วยว่าควรทำอย่างไร หมั่นสังเกตอาการเจ็บป่วยที่ผิดปกติเบื้องต้น และเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้องเหมาะสม มีจิตใจปลอดโปร่งโดยยึดหลักว่า ดูแลคนไข้อย่างดีที่สุด และที่สำคัญต้องเป็นคนมีจิตใจเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยที่ดูแลอยู่รับพลังบวกไปด้วย สามารถเยียวยาอาการป่วยให้ดีขึ้นได้
4. เป็นผู้ที่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเฝ้าไข้ เรื่องของการรักษาพยาบาลเบื้องต้น หากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และผ่านการอบรมมาแล้ว จะทำให้ญาติสามารถไว้วางใจได้
สิ่งที่กวนใจคุณเมื่อจำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าไข้ แนวทางแก้ไขมีอย่างไรบ้าง
หากคุณจำเป็นต้องจ้างผู้ดูแลเพื่อมาดูแลผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระยะพักฟื้นที่บ้านนั้น แน่นอนว่าอาจมีสิ่งที่คอยกวนใจจนทำให้เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่ที่จะทำให้คุณต้องคอยพะวงอยู่ตลอดเวลาคือการที่ต้องคอยกังวลว่าผู้ดูแลจะมีความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัวที่คุณรักได้ดีหรือไม่นั่นเอง

แนวทางในการแก้ไขคือการเลือกพิจารณาเลือกผู้ดูแลจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของคุณ จึงควรพิจารณาเลือกผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจะดีที่สุด เพราะถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นมีความมืออาชีพจริง ๆ และสามารถอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยแทนเราได้นั่นเอง

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวผู้ป่วยเองและทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในบ้าน วิธีแก้ปัญหาคือควรตรวจสอบประวัติของผู้ดูแลให้ละเอียดก่อนทำการจ้างนั่นเอง โดยสามารถตรวจสอบจากการค้นหารีวิวเพิ่มเติมจากผู้จ้างก่อนหน้านี้ ที่สำคัญต้องมั่นใจว่าผู้ดูแลที่จะจ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดทางอาชญากรรมใด ๆ มาก่อนด้วย

อีกหนึ่งทางที่สามารถคลายกังวลให้คุณได้คือการนัดสัมภาษณ์ก่อนการจ้างงานเพื่อที่คุณจะได้ทำความรู้จักนิสัยใจคอของผู้ดูแล อีกทั้งคุณสามารถสังเกตวิธีการตอบคำถามของผู้ดูแลเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณได้ เพราะฉะนั้นหากคุณจะเลือกใครสักคนมาดูแลคนใกล้ชิด ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า และเพื่อคุณจะได้ผู้ดูแลที่ดีที่สุดมาดูแลคนที่คุณรัก
ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อทางใส่ใจรับดูแลหรือไม่
บน Platform ของใส่ใจมีผู้ให้บริการเฝ้าไข้ แต่ต้องขอสงวนสิทธิ์หากผู้ป่วยมีโรคติดต่อดังต่อไปนี้

1. โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 / COVID-19) โดยจะมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา
2. โรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Smallpox) โรคนี้จะมีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง หากตุ่มเหล่านี้แตกก็จะทำให้ติดต่อกันได้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจและการสัมผัสทางผิวหนัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ แต่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยการปลูกฝี
3. โรควัณโรค ที่มีการดื้อยา 4 ขนาน ได้แก่ ไอโซไนอะซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) กลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) และกลุ่มยาทางเลือกที่สอง ที่เป็นยาชนิดฉีด (Second-line injectable drugs) ซึ่งหมายความว่า วัณโรคชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ยาดังกล่าวรักษาให้หายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยมีโอกาสในการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ง่าย
4. โรคตาแดง เป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยและมักระบาดในช่วงหน้าฝน ถึงแม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถติดต่อได้และต้องรีบทำการรักษา
5. โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 (โรคไข้หวัดใหญ่ 2009) เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนเริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ไปยังหลายประเทศ

ไม่เพียงแต่ 5 โรคข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ โรคติดต่อร้ายแรงที่ผู้ให้บริการต้องขอสงวนสิทธิ์ในการรับดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ดูแล