ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน พัทยา, ชลบุรี

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน พัทยา, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน พัทยา, ชลบุรี:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาล
การที่ผู้ป่วยเข้ารับรักษาโรคในโรงพยาบาลและมีการเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยใน (IPD : In Patient Department) แล้วนั้น การมีคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยตอนอยู่โรงพยาบาลนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าสาเหตุการเข้ารับรักษาจะเกิดขึ้นเนื่องจากโรคประจำตัว เจ็บป่วยหนักจนต้องนอนโรงพยาบาล การเข้าผ่าตัด หรือการประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่ละอาการอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยหนักหรือร้ายแรงมากอาจยังพอสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ หรือลักษณะความเจ็บป่วยของโรค การมีญาติหรือคนเฝ้า จะช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยได้ เช่น พยุงไปห้องน้ำ ป้อนข้าว ซื้อของให้ และแจ้งแพทย์หรือพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะพยาบาลไม่ได้เฝ้าอยู่ดูอาการผู้ป่วยตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องมีคนเฝ้าไข้ที่คอยดูแล สังเกตอาการ เพื่อที่จะได้รักษาทันท่วงที

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีญาติ ไม่มีผู้ที่สามารถเฝ้าไข้ตอนอยู่โรงพยาบาล หรือญาติจำเป็นต้องไปทำกิจธุระบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งคือ จ้างพยาบาลพิเศษเฝ้าไข้ผู้ป่วยนั้นเอง โดยในโรงพยาบาลทั่วไปมีบริการทางเลือกพิเศษนี้ให้แก่ผู้ป่วยในและญาติอยู่แล้ว แต่อัตราค่าบริการค่อนข้างสูง เพราะผู้ให้บริการเป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่เนื่องจากผู้ป่วยยังอยู่ในโรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์ อาจไม่จำเป็นต้องจ้างพยาบาลวิชาชีพเสริม ตัวเลือกอีกแบบสำหรับการเฝ้าไข้ อาจเป็นบุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงและรักงาน อัตราค่าบริการจะถูกกว่าแบบแรก การใช้บริการทั้งสองแบบทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยนั้นอุ่นใจว่าผู้ทำหน้าที่เฝ้าไข้และผู้ป่วยไม่ต้องอยู่ตามลำพัง
คนเฝ้าไข้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การพิจารณาคุณสมบัติของคนที่จะมาเฝ้าไข้ให้กับผู้ป่วยพักฟื้นนั้นเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็นเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากได้ผู้เฝ้าไข้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในด้านการพยาบาลพิเศษมาจะยิ่งดีต่อตัวผู้ป่วยเลยทีเดียว
2. ผู้เฝ้าไข้ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีใจรักในงานด้านการบริการ สามารถดูแลผู้ป่วยพักฟื้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเช็ดตัว ป้อนข้าว ป้อนยา ดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วย เป็นต้น
3. มีความสามารถในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยพักฟื้นบางรายอาจนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกินจนเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนล้า ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
4. ผู้เฝ้าไข้สามารถอยู่เป็นเพื่อนและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานจนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การมีเพื่อนคอยรับฟังปัญหาหรือชวนพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
5. สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บางครั้งผู้ป่วยพักฟื้นอาจไม่ได้แค่ต้องการนอนอยู่เฉย ๆ อย่างเดียว การทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างอ่านหนังสือ พาเดินเล่นใกล้ ๆ บริเวณห้องพักก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เช่นกัน
6. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และหมั่นสังเกตอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อคอยรายงานให้กับผู้ว่าจ้างและขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้
สิ่งที่ทำให้เราเป็นกังวลเมื่อต้องใช้บริการคนเฝ้าไข้ และเราจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อคลายความกังวลนั้น ๆ
เมื่อมีผู้ป่วยในครอบครัว หรือผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวเพียงลำพังเกิดเจ็บป่วย จนไม่สามารถดูแลตนเองได้และคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดไม่สามารถดูแลได้เนื่องจากต้องทำงาน การปล่อยให้ผู้ป่วยต้องอยู่ตามลำพังถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิดหรืออาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แล้วไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลา จึงจำเป็นต้องใช้บริการคนเฝ้าไข้เพื่อให้คอยดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย

แต่ญาติผู้ป่วยอาจยังมีความกังวลใจว่าผู้ดูแลอาจไม่ทำหน้าที่อย่างเต็มที่หรือดูแลผู้ป่วยได้ไม่ถูกวิธี เพราะผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ภาระส่วนจึงไปตกอยู่ที่คนเฝ้าไข้ จนทำให้คนเฝ้าไข้ไม่ค่อยใส่ใจผู้ป่วย หรือผู้เฝ้าไข้อำนวยแค่ความสะดวกทางร่างกายให้เพียงอย่างเดียว ไม่ได้พยายามทำให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งทางญาติสามารถมีวิธีลดความกังวลได้โดยหาคนเฝ้าไข้ที่มีประวัติการทำงานที่ดี อาจสอบถามจากผู้ที่เคยใช้บริการ การหาผู้ให้บริการจากสื่อออนไลน์เป็นอีกวิธีที่เราจะสามารถหาข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับประสบการณ์และความพีงพอใจจากลูกค้ารายก่อน ๆ (รีวิว) ถ้าผู้ให้บริการผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมมาแล้วจะทำให้ผู้ว่าจ้างสบายใจได้ว่า คนเฝ้าไข้ไม่เคยมีประวัติทำผิดกฏหมาย ประวัติการอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับหน้าที่ผู้ดูแลป่วยเป็นอีกอย่างที่ทำให้ครอบครัวผู้ป่วยวางใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดี
ผู้ป่วยด้วยโรคประเภทใดที่ผู้ให้บริการบน Platform ของใส่ใจไม่รับดูแล
บน Platform ของใส่ใจ มีผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการป่วยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดรวมไปถึงการดูแลเรื่องการช่วยทำกิจวัตรและอาหารการกินที่จัดเตรียมและปฏิบัติความคำแนะนำของแพทย์หรือความต้องการของตัวผู้จ้างอย่างเคร่งครัด ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงหรือมีอาการเป็นโรคติดต่อที่เสี่ยงมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังต่อไปนี้

1. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น
2. โรคไข้ทรพิษ ไข้ทรพิษหรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” และไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”
3. โรควัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทย คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยขอสงวนสิทธิ์ในการดูแลโรคข้างต้น รวมไปถึงโรคติดต่ออันตราย ทั้ง 12 โรคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 คือ กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ไข้เวสต์ไนล์ ไข้เหลือง ไข้ลาสซา โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส)อีกด้วย