ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน ถลาง, ภูเก็ต

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน ถลาง, ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
4 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
4 ปีที่แล้ว
ดูแลดี ไว้ใจได้ หายห่วงค่ะ
Saijai
กานต์ศรันย์ เจริญกิจธารา
4 ปีที่แล้ว
ผู้ดูแลคอยช่วยพูดให้กำลังใจ คอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ให้ จนตอนนี้คุณพ่อกลับมายิ้มร่างเริงได้อีกครั้งแล้วค่ะ
Saijai
อนันตา ไวยากูล
4 ปีที่แล้ว
คนดูแลที่ได้มา ผ่านการดูแลคนป่วยโรคมะเร็งมาเยอะ เค้ารู้วิธีการดูแล การพูดยังไงให้คนไข้รู้สึกสบายใจ ส่วนตัวเราชอบมาก เพราะคนดูแล ดูแลอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้วิธีการสื่อสารกับคนไข้ด้วย จิตใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
Saijai
ธีรเดช ทวีรุ่งโรจน์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เราให้คำจำกัดความของผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าอย่างไรและมีจุดประสงค์อย่างไรในการดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีความหมายครอบคลุมมากกว่าผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต ดังนี้

1. เป็นผู้ป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่ได้หรือรักษาไม่หาย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยบางคนจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต
2. เป็นโรคที่ดำเนินมาถึงระยะท้ายของโรค เช่น โรคไต ที่รักษาโดยกินยาและคุมอาหารมาตลอด แต่เมื่อผ่านมาระยะหนึ่ง กินยาอย่างไรอาการก็ไม่ดีขึ้นจึงต้องเริ่มต้นทำการล้างไต แต่เมื่อมาถึงจุดที่ไม่สามารถล้างไตได้ จึงมาถึงจุดที่เข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3. ผู้ป่วยที่มีเวลาเหลือไม่นาน เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง จากตอนแรกอาจพบมะเร็งที่สมอง เมื่อผ่านไปไม่นานกลับพบที่อวัยวะอื่น ๆ ตามมาด้วย อาจททำให้ผู้ป่วยมีชีวิตต่อไปอีกไม่นานเพราะโรคลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

ทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

• การดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายที่บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายคนเลือกใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านกับครอบครัว โดยให้แพทย์แนะนำขั้นตอนและวิธีการดูแลให้ นอกจากนี้ครอบครัวอาจจัดหาผู้ดูแลส่วนตัวมาช่วยดูแลผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีและถูกต้องเหมาะสม
• การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สถานพยาบาล ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่โรงพยาบาล เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่พิเศษเพื่อดูแลอาการป่วย จึงไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ แต่ถึงแม้ว่าจะต้องทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ครอบครัวญาติพี่น้องสามารถมาเยี่ยม ดูแล และให้กำลังใจผู้ป่วยได้ แต่อาจมีข้อจำกัดบ้าง เช่น ห้องผู้ป่วยวิกฤตหรือที่เรียกกันว่าห้องไอซียู ซึ่งผู้ที่มาเยี่ยมควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย
หากคุณกำลังมองหาผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณสมบัติอะไรบ้างที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี
สําหรับ palliative care หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไหร่ นอกจากการดูแลรักษาทางกาย แล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ช่วยเหลือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือด้านอารมณ์ไม่ให้เกิดความวิตกกังวลเกินไป ผู้ดูแลอาจใช้หลักความเชื่อของแต่ละศาสนา มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเข้าใจ หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และแนวทางการดูแลผู้ป่วย มักมีความแตกต่างกันไปสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เปิดใจรับข้อมูลและการรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เรียนรู้ความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
สำคัญที่สุด ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องที่จําเป็น มีความสามารถในการตัดสินใจ ติดต่อประสานงานได้ ไม่ตื่นตกใจ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกต้องเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบายหรือภาวะวิกฤติ และมีความสามารถดูแลสุขภาพกาย เพราะอาจต้องทำงานหนักและพักผ่อนน้อย ดูแลจิตใจของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและผู้ป่วย
ข้อควรสังเกตเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างเป็นคนที่ไว้ใจได้
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ดูแลต้องมีความอดทน ความรู้ ความเข้าใจอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างดี ที่สำคัญผู้ดูแลต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อครอบครัวจำเป็นต้องว่าจ้างผู้ดูแลเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวของผู้ป่วยย่อมยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ดี

ข้อแนะนำที่จะช่วยให้ครอบครัวสามารถคลายกังวลใจเมื่อต้องให้ผู้ป่วยอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่สามารถไว้ใจได้มีดังนี้

1. มองหาผู้ดูแลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ญาติ เพื่อน บริษัทตัวแทนหรือเว็บไซต์สำหรับหาผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง การใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เฟสบุค หรือไลน์ เป็นช่องทางในการหาผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดูจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บางเว็บไซต์มีการรีวิวประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้ที่เคยใช้บริการ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้อีกทาง
2. ผู้ดูแลมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะดูจากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นถือว่าส่วนที่สำคัญที่สุด จะสามารถรู้ได้ว่าผู้ดูแลคนนี้ทำงานเคยทำงานมาแล้วกี่ปี ดูแลผู้ป่วยมาแล้วกี่คน เพื่อใช้ประกอบการณ์ตัดสินใจ วุฒิการศึกษา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย หากผู้ดูแลที่จ้างมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ก็สามารถไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง
3. ก่อนตัดสินใจว่าจ้างผู้ว่าจ้างควรมีการนัดสัมภาษณ์งานก่อน เพราะญาติสามารถดูบุคลิกของผู้ดูแล การพูดจา การแต่งตัว ความสะอาด รวมถึงสามารถถามคำถามเพื่อใช้วัดว่า ผู้ดูแลพร้อมทำงานมากแค่ไหน

เรามีแนวทางสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไร
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือ ลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ

แนวทางสำคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายดังนี้

1. หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ให้การดูทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นการดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว หากคนใดคนหนึ่งในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนอื่นๆ ในครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วยไปด้วย
2. การรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้าใจความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยและครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลของการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางการดูแล
3. ระลึกไว้เสมอว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี้ ไม่ใช่เป็นการยื้อชีวิตของผู้ป่วยด้วยการใช้เครื่องมือและความรู้ทางการแพทย์ที่อาจทำให้ผู้ป่วยทรมานและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าความเป็นไปของโรคตามธรรมชาติ การดูแลต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและจัดการบรรเทาอาการเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน