ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน เมืองภูเก็ต, ภูเก็ต

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน เมืองภูเก็ต, ภูเก็ต

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดเลยค่ะ
Saijai
มารียา เสวตจนขจร
3 ปีที่แล้ว
พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
3 ปีที่แล้ว
คนดูแลที่ได้มา ผ่านการดูแลคนป่วยโรคมะเร็งมาเยอะ เค้ารู้วิธีการดูแล การพูดยังไงให้คนไข้รู้สึกสบายใจ ส่วนตัวเราชอบมาก เพราะคนดูแล ดูแลอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้วิธีการสื่อสารกับคนไข้ด้วย จิตใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
Saijai
ธีรเดช ทวีรุ่งโรจน์
4 ปีที่แล้ว
ความใส่ใจในรายละเอียดและเอาใจใส่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ในช่วงที่ทุกคนในบ้านเป็นทุกข์ แต่เราได้ผู้ดูแลดูแลคุณพ่ออย่างดี ทำอาหาร ชำระร่างกาย ทำแผล และดูแลท่านตลอดเวลา ดูแลเหมือนญาติอีกคน
Saijai
เอนก วงศ์วาณิชย์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เราให้คำจำกัดความของผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าอย่างไรและมีจุดประสงค์อย่างไรในการดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีความหมายครอบคลุมมากกว่าผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต ดังนี้

1. เป็นผู้ป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่ได้หรือรักษาไม่หาย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยบางคนจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต
2. เป็นโรคที่ดำเนินมาถึงระยะท้ายของโรค เช่น โรคไต ที่รักษาโดยกินยาและคุมอาหารมาตลอด แต่เมื่อผ่านมาระยะหนึ่ง กินยาอย่างไรอาการก็ไม่ดีขึ้นจึงต้องเริ่มต้นทำการล้างไต แต่เมื่อมาถึงจุดที่ไม่สามารถล้างไตได้ จึงมาถึงจุดที่เข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3. ผู้ป่วยที่มีเวลาเหลือไม่นาน เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง จากตอนแรกอาจพบมะเร็งที่สมอง เมื่อผ่านไปไม่นานกลับพบที่อวัยวะอื่น ๆ ตามมาด้วย อาจททำให้ผู้ป่วยมีชีวิตต่อไปอีกไม่นานเพราะโรคลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

ทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

• การดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายที่บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายคนเลือกใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านกับครอบครัว โดยให้แพทย์แนะนำขั้นตอนและวิธีการดูแลให้ นอกจากนี้ครอบครัวอาจจัดหาผู้ดูแลส่วนตัวมาช่วยดูแลผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีและถูกต้องเหมาะสม
• การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สถานพยาบาล ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่โรงพยาบาล เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่พิเศษเพื่อดูแลอาการป่วย จึงไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ แต่ถึงแม้ว่าจะต้องทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ครอบครัวญาติพี่น้องสามารถมาเยี่ยม ดูแล และให้กำลังใจผู้ป่วยได้ แต่อาจมีข้อจำกัดบ้าง เช่น ห้องผู้ป่วยวิกฤตหรือที่เรียกกันว่าห้องไอซียู ซึ่งผู้ที่มาเยี่ยมควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่การดูแลเพียงเฉพาะสุขภาพกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงการดูแลสภาพจิตใจด้วย ซึ่งเป็นการดูแลแบบประคับประคองในช่วงสุดท้ายของโรคเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูดคุยสอบถามความต้องการของญาติถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่มีแบบแผนที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของญาติเป็นสำคัญ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเผชิญกับอาการป่วย ที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายต่าง ๆ และทำให้สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำลังดูแลอยู่เป็นอย่างดี เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีการสูญเสียความอยากอาหาร เนื่องจากกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ผู้ดูแลไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียด และระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปซึ่งมาจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ อาจทำให้ผู้ป่วย สำลัก หรืออาเจียน ผู้ดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยเป็นอย่างดี
2. มีใจรักและพร้อมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเต็มที่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีความวิตกกังวล ความเครียด มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงอาการหลาย ๆ อย่างที่แสดงออกมา เช่นในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการพูดและการมองเห็น ผู้ดูแลอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายประสาทการฟังยังทำงานได้อยู่ รับรู้ในสิ่งที่ผู้คนรอบข้างคุยกัน ผู้ดูแลจึงไม่ควรบ่น หรือใช้คำพูดที่อาจกระทบกระเทือนใจผู้ป่วยได้
3. สามารถอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ การดูแลจะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายที่สุด ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยในแต่ละวันเช่น ทำความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความในปาก หยอดน้ำตาเทียม ไม่ให้ตาแห้ง พลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และทำกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งหด และลดอาการปวดได้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดที่เราจ้างมานั้นไว้ใจได้
การที่เราจะไว้ใจใครสักคนที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ใช่คนในครอบครัวอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าต้องให้คนคนนั้น มาทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราต้องสอบถามประวัติส่วนตัว สอบถามถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่นั่นยังไม่อาจยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าคนที่เราเลือกเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในส่วนของความซื่อสัตย์ที่ไม่ใช่แค่การไม่ลักขโมยหรือหยิบฉวยของมีค่า แต่รวมถึงการบอกกล่าวข้อมูลความจริงให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพึงมี แต่ถ้าเราสามารถหา “บุคลากรวิชาชีพ” เช่น พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ มาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ถือเรื่องที่ดีและทำให้เราวางใจได้มากขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าใจถึงจิตบริการผู้ป่วยเป็นอย่างดี เช่น การสวนสายยางให้อาหาร หรือการให้ยาลดอาการเจ็บปวด เป็นต้น อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้มีความเสามารถและทักษะเฉพาะด้าน ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถเติมเต็มและตอบสนองต่อความต้องการความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม การประสานบทบาทการดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้ดูแลที่เป็นญาติมิตรของผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตนเองให้ไปสู่บทบาทพี่เลี้ยงที่ต้องทำงานสองหน้าที่ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นใจที่ จัดการกับสภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้
เรามีแนวทางสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไร
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือ ลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ

แนวทางสำคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายดังนี้

1. หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ให้การดูทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นการดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว หากคนใดคนหนึ่งในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนอื่นๆ ในครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วยไปด้วย
2. การรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้าใจความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยและครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลของการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางการดูแล
3. ระลึกไว้เสมอว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี้ ไม่ใช่เป็นการยื้อชีวิตของผู้ป่วยด้วยการใช้เครื่องมือและความรู้ทางการแพทย์ที่อาจทำให้ผู้ป่วยทรมานและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าความเป็นไปของโรคตามธรรมชาติ การดูแลต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและจัดการบรรเทาอาการเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน