ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สมุทรปราการ

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สมุทรปราการ

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วาสนา ฮวดใจการ
วาสนา ฮวดใจการ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ประวัติการทำงานค่ะ

ทำงานมา 5/6 ปีค่ะ จบNa

เคสผ่านทำเคส / คนไข้เจาะคอทำแผล เฟซ suction ส่วนฉี่ ล้วงถ่าย กายภาพ และเคสคนไข้อัลไซเมอร์ ค่ะ

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ น.ส วาสนา ฮวดใจการ

ชื่อเล่น เก๋

หนัก89 สูง 165

เกิด วันอังคาร 27 เมษายน 2527

สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย

ศาสนาพุทธ สถานภาพ บุตรสาว 2 คนค่ะ

พักอาศัยอยู่

เรืองวาอพาร์ทเม้น ..

273 หมู่ 2 ต.บางจาก

อ.พระประแดง

จ.สมุทรปราการ

ปณ.10130

เก๋ - 094-3651322

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดเลยค่ะ
Saijai
มารียา เสวตจนขจร
3 ปีที่แล้ว
พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ผู้ดูแลคอยช่วยพูดให้กำลังใจ คอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ให้ จนตอนนี้คุณพ่อกลับมายิ้มร่างเริงได้อีกครั้งแล้วค่ะ
Saijai
อนันตา ไวยากูล
4 ปีที่แล้ว
ความใส่ใจในรายละเอียดและเอาใจใส่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ในช่วงที่ทุกคนในบ้านเป็นทุกข์ แต่เราได้ผู้ดูแลดูแลคุณพ่ออย่างดี ทำอาหาร ชำระร่างกาย ทำแผล และดูแลท่านตลอดเวลา ดูแลเหมือนญาติอีกคน
Saijai
เอนก วงศ์วาณิชย์
4 ปีที่แล้ว
แม่ยายผมเป็นมะเร็งครับ หาคนมาดูแลหลายคนแล้ว ทำงานไม่ได้นานก็ลาออก สู้งานไม่ไหว ผมมาเจอเว็บใส่ใจ เลยลองเรียกใช้บริการคนดูแลผ่านทางนี้ดู ทุกอย่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีครับ
Saijai
ภุชงค์ จิตเสนา
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ความหมายของคำว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายและจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอาการป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย ๆ ของโรค เช่น โรคมะเร็งที่ลุกลามเร็วมาก จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย และผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ หรือรักษาไม่หาย ในปัจจุบันมีโรคที่รักษาไม่หายมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต และโรคที่ดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยได้รับประทานยา และเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง แต่อาการไม่ดีขึ้น กรณีนี้จะเข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 1ปี และยังรวมไปถึงผู้ที่เผชิญอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน จากอุบัติเหตุและสถานการณ์ร้ายแรงอีกด้วย จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ บรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสบาย ลดความเจ็บป่วย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีปัญหาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตพร้อมๆ กัน ดังนั้นการดูแลต้องดูแลทั้งองค์รวมทั้งกายและจิตใจ รวมถึงสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการเจ็บป่วย และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลต้องมีการเตรียมพร้อมและรับมือที่ดี เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยเองตกใจกับอาการหลายๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมาจากการทรุดตัวของโรคที่เป็นอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ต้องมีการอธิบายแต่ละอาการให้ญาติผู้ป่วยรับรู้ เพื่อจะได้ลดความกังวลและมอบความรักให้ผู้ป่วยอย่างเต็มที่ในขณะที่สามารถทำได้อยู่
หากคุณกำลังมองหาผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณสมบัติอะไรบ้างที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี
สําหรับ palliative care หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไหร่ นอกจากการดูแลรักษาทางกาย แล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ช่วยเหลือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือด้านอารมณ์ไม่ให้เกิดความวิตกกังวลเกินไป ผู้ดูแลอาจใช้หลักความเชื่อของแต่ละศาสนา มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเข้าใจ หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และแนวทางการดูแลผู้ป่วย มักมีความแตกต่างกันไปสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เปิดใจรับข้อมูลและการรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เรียนรู้ความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
สำคัญที่สุด ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องที่จําเป็น มีความสามารถในการตัดสินใจ ติดต่อประสานงานได้ ไม่ตื่นตกใจ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกต้องเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบายหรือภาวะวิกฤติ และมีความสามารถดูแลสุขภาพกาย เพราะอาจต้องทำงานหนักและพักผ่อนน้อย ดูแลจิตใจของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและผู้ป่วย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดที่เราจ้างมานั้นไว้ใจได้
การที่เราจะไว้ใจใครสักคนที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ใช่คนในครอบครัวอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าต้องให้คนคนนั้น มาทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราต้องสอบถามประวัติส่วนตัว สอบถามถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่นั่นยังไม่อาจยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าคนที่เราเลือกเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในส่วนของความซื่อสัตย์ที่ไม่ใช่แค่การไม่ลักขโมยหรือหยิบฉวยของมีค่า แต่รวมถึงการบอกกล่าวข้อมูลความจริงให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพึงมี แต่ถ้าเราสามารถหา “บุคลากรวิชาชีพ” เช่น พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ มาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ถือเรื่องที่ดีและทำให้เราวางใจได้มากขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าใจถึงจิตบริการผู้ป่วยเป็นอย่างดี เช่น การสวนสายยางให้อาหาร หรือการให้ยาลดอาการเจ็บปวด เป็นต้น อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้มีความเสามารถและทักษะเฉพาะด้าน ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถเติมเต็มและตอบสนองต่อความต้องการความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม การประสานบทบาทการดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้ดูแลที่เป็นญาติมิตรของผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตนเองให้ไปสู่บทบาทพี่เลี้ยงที่ต้องทำงานสองหน้าที่ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นใจที่ จัดการกับสภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้
สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรามีแนวทางในการดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษา

ขั้นตอนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. การดูแลทางด้านร่างกาย หากผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ควรแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบว่ามีอาการอย่างไร และเจ็บปวดบริเวณใด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการปวดและให้การรักษาดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการของตนได้ ผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง หายใจแรง หายใจเร็ว เป็นต้น
2. การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโศกเศร้าเสียใจ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรให้คำแนะนำ และให้กำลังใจกับผู้ป่วย
3. การดูแลทางด้านสังคม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและทำในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ