ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน บางเสาธง, สมุทรปราการ

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน บางเสาธง, สมุทรปราการ

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
3 ปีที่แล้ว
ดูแลดี ไว้ใจได้ หายห่วงค่ะ
Saijai
กานต์ศรันย์ เจริญกิจธารา
3 ปีที่แล้ว
ผู้ดูแลคอยช่วยพูดให้กำลังใจ คอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ให้ จนตอนนี้คุณพ่อกลับมายิ้มร่างเริงได้อีกครั้งแล้วค่ะ
Saijai
อนันตา ไวยากูล
4 ปีที่แล้ว
เราว่าเว็บใส่ใจใช้งานง่าย ช่วยประหยัดเวลาในการนั่งส่งอีเมลหรือข้อความไปสอบถาม เพราะเราต้องการคนด่วนมาก ขอบคุณเว็บใส่ใจจริง ๆ ค่ะ ช่วยเราได้มากจริง ๆ
Saijai
วรรณา แก้วดี
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ความหมายของคำว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายและจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอาการป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย ๆ ของโรค เช่น โรคมะเร็งที่ลุกลามเร็วมาก จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย และผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ หรือรักษาไม่หาย ในปัจจุบันมีโรคที่รักษาไม่หายมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต และโรคที่ดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยได้รับประทานยา และเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง แต่อาการไม่ดีขึ้น กรณีนี้จะเข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 1ปี และยังรวมไปถึงผู้ที่เผชิญอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน จากอุบัติเหตุและสถานการณ์ร้ายแรงอีกด้วย จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ บรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสบาย ลดความเจ็บป่วย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีปัญหาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตพร้อมๆ กัน ดังนั้นการดูแลต้องดูแลทั้งองค์รวมทั้งกายและจิตใจ รวมถึงสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการเจ็บป่วย และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลต้องมีการเตรียมพร้อมและรับมือที่ดี เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยเองตกใจกับอาการหลายๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมาจากการทรุดตัวของโรคที่เป็นอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ต้องมีการอธิบายแต่ละอาการให้ญาติผู้ป่วยรับรู้ เพื่อจะได้ลดความกังวลและมอบความรักให้ผู้ป่วยอย่างเต็มที่ในขณะที่สามารถทำได้อยู่
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่การดูแลเพียงเฉพาะสุขภาพกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงการดูแลสภาพจิตใจด้วย ซึ่งเป็นการดูแลแบบประคับประคองในช่วงสุดท้ายของโรคเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูดคุยสอบถามความต้องการของญาติถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่มีแบบแผนที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของญาติเป็นสำคัญ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเผชิญกับอาการป่วย ที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายต่าง ๆ และทำให้สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำลังดูแลอยู่เป็นอย่างดี เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีการสูญเสียความอยากอาหาร เนื่องจากกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ผู้ดูแลไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียด และระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปซึ่งมาจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ อาจทำให้ผู้ป่วย สำลัก หรืออาเจียน ผู้ดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยเป็นอย่างดี
2. มีใจรักและพร้อมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเต็มที่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีความวิตกกังวล ความเครียด มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงอาการหลาย ๆ อย่างที่แสดงออกมา เช่นในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการพูดและการมองเห็น ผู้ดูแลอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายประสาทการฟังยังทำงานได้อยู่ รับรู้ในสิ่งที่ผู้คนรอบข้างคุยกัน ผู้ดูแลจึงไม่ควรบ่น หรือใช้คำพูดที่อาจกระทบกระเทือนใจผู้ป่วยได้
3. สามารถอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ การดูแลจะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายที่สุด ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยในแต่ละวันเช่น ทำความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความในปาก หยอดน้ำตาเทียม ไม่ให้ตาแห้ง พลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และทำกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งหด และลดอาการปวดได้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดที่เราจ้างมานั้นไว้ใจได้
การที่เราจะไว้ใจใครสักคนที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ใช่คนในครอบครัวอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าต้องให้คนคนนั้น มาทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราต้องสอบถามประวัติส่วนตัว สอบถามถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่นั่นยังไม่อาจยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าคนที่เราเลือกเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในส่วนของความซื่อสัตย์ที่ไม่ใช่แค่การไม่ลักขโมยหรือหยิบฉวยของมีค่า แต่รวมถึงการบอกกล่าวข้อมูลความจริงให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพึงมี แต่ถ้าเราสามารถหา “บุคลากรวิชาชีพ” เช่น พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ มาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ถือเรื่องที่ดีและทำให้เราวางใจได้มากขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าใจถึงจิตบริการผู้ป่วยเป็นอย่างดี เช่น การสวนสายยางให้อาหาร หรือการให้ยาลดอาการเจ็บปวด เป็นต้น อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้มีความเสามารถและทักษะเฉพาะด้าน ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถเติมเต็มและตอบสนองต่อความต้องการความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม การประสานบทบาทการดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้ดูแลที่เป็นญาติมิตรของผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตนเองให้ไปสู่บทบาทพี่เลี้ยงที่ต้องทำงานสองหน้าที่ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นใจที่ จัดการกับสภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้
เรามีแนวทางสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไร
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือ ลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ

แนวทางสำคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายดังนี้

1. หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ให้การดูทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นการดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว หากคนใดคนหนึ่งในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนอื่นๆ ในครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วยไปด้วย
2. การรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้าใจความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยและครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลของการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางการดูแล
3. ระลึกไว้เสมอว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี้ ไม่ใช่เป็นการยื้อชีวิตของผู้ป่วยด้วยการใช้เครื่องมือและความรู้ทางการแพทย์ที่อาจทำให้ผู้ป่วยทรมานและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าความเป็นไปของโรคตามธรรมชาติ การดูแลต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและจัดการบรรเทาอาการเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน