ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สมุทรสาคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สมุทรสาคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดเลยค่ะ
Saijai
มารียา เสวตจนขจร
3 ปีที่แล้ว
ง่ายตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อหาคนดูแลเลยค่ะ ใส่ใจดูแลให้หมดทุกอย่างเลย แค่บอกว่าต้องการคนดูแลแบบไหนบ้าง ประทับใจมากค่ะ
Saijai
กมลชนก วิสุทธิสาร
3 ปีที่แล้ว
คนดูแลที่ได้มา ผ่านการดูแลคนป่วยโรคมะเร็งมาเยอะ เค้ารู้วิธีการดูแล การพูดยังไงให้คนไข้รู้สึกสบายใจ ส่วนตัวเราชอบมาก เพราะคนดูแล ดูแลอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้วิธีการสื่อสารกับคนไข้ด้วย จิตใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
Saijai
ธีรเดช ทวีรุ่งโรจน์
4 ปีที่แล้ว
แม่ยายผมเป็นมะเร็งครับ หาคนมาดูแลหลายคนแล้ว ทำงานไม่ได้นานก็ลาออก สู้งานไม่ไหว ผมมาเจอเว็บใส่ใจ เลยลองเรียกใช้บริการคนดูแลผ่านทางนี้ดู ทุกอย่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีครับ
Saijai
ภุชงค์ จิตเสนา
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายต้องอยู่โรงพยาบาลหลายเดือน ทางโรงพยาบาลต้องให้มีคนเฝ้าอย่าง 1 คนที่ต้องอยู่ด้วยตลอด ผมเลยจ้างคนดูแลที่หาเจอบนเว็บไซต์ใส่ใจ ประทับใจครับ
Saijai
มานิตย์ ยิ้มสว่าง
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ความหมายของคำว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายและจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอาการป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย ๆ ของโรค เช่น โรคมะเร็งที่ลุกลามเร็วมาก จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย และผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ หรือรักษาไม่หาย ในปัจจุบันมีโรคที่รักษาไม่หายมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต และโรคที่ดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยได้รับประทานยา และเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง แต่อาการไม่ดีขึ้น กรณีนี้จะเข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 1ปี และยังรวมไปถึงผู้ที่เผชิญอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน จากอุบัติเหตุและสถานการณ์ร้ายแรงอีกด้วย จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ บรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสบาย ลดความเจ็บป่วย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีปัญหาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตพร้อมๆ กัน ดังนั้นการดูแลต้องดูแลทั้งองค์รวมทั้งกายและจิตใจ รวมถึงสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการเจ็บป่วย และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลต้องมีการเตรียมพร้อมและรับมือที่ดี เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยเองตกใจกับอาการหลายๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมาจากการทรุดตัวของโรคที่เป็นอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ต้องมีการอธิบายแต่ละอาการให้ญาติผู้ป่วยรับรู้ เพื่อจะได้ลดความกังวลและมอบความรักให้ผู้ป่วยอย่างเต็มที่ในขณะที่สามารถทำได้อยู่
หากคุณกำลังมองหาผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณสมบัติอะไรบ้างที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี
สําหรับ palliative care หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไหร่ นอกจากการดูแลรักษาทางกาย แล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ช่วยเหลือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือด้านอารมณ์ไม่ให้เกิดความวิตกกังวลเกินไป ผู้ดูแลอาจใช้หลักความเชื่อของแต่ละศาสนา มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเข้าใจ หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และแนวทางการดูแลผู้ป่วย มักมีความแตกต่างกันไปสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เปิดใจรับข้อมูลและการรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เรียนรู้ความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
สำคัญที่สุด ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องที่จําเป็น มีความสามารถในการตัดสินใจ ติดต่อประสานงานได้ ไม่ตื่นตกใจ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกต้องเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบายหรือภาวะวิกฤติ และมีความสามารถดูแลสุขภาพกาย เพราะอาจต้องทำงานหนักและพักผ่อนน้อย ดูแลจิตใจของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและผู้ป่วย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดที่เราจ้างมานั้นไว้ใจได้
การที่เราจะไว้ใจใครสักคนที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ใช่คนในครอบครัวอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าต้องให้คนคนนั้น มาทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราต้องสอบถามประวัติส่วนตัว สอบถามถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่นั่นยังไม่อาจยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าคนที่เราเลือกเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในส่วนของความซื่อสัตย์ที่ไม่ใช่แค่การไม่ลักขโมยหรือหยิบฉวยของมีค่า แต่รวมถึงการบอกกล่าวข้อมูลความจริงให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพึงมี แต่ถ้าเราสามารถหา “บุคลากรวิชาชีพ” เช่น พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ มาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ถือเรื่องที่ดีและทำให้เราวางใจได้มากขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าใจถึงจิตบริการผู้ป่วยเป็นอย่างดี เช่น การสวนสายยางให้อาหาร หรือการให้ยาลดอาการเจ็บปวด เป็นต้น อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้มีความเสามารถและทักษะเฉพาะด้าน ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถเติมเต็มและตอบสนองต่อความต้องการความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม การประสานบทบาทการดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้ดูแลที่เป็นญาติมิตรของผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตนเองให้ไปสู่บทบาทพี่เลี้ยงที่ต้องทำงานสองหน้าที่ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นใจที่ จัดการกับสภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันที่พัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจากโรคร้ายแรงหายจากอาการป่วยมากขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ นั่นคือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความทุกข์ทรมานใจที่ตามมาไม่เพียงส่งผลต่อตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังกระทบไปถึงครอบครัวของผู้ป่วยด้วย การดูแลที่ดีช่วยให้ตัวผู้ป่วยและญาติพร้อมปรับตัวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยคือต้องยอมรับว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีเวลาเหลืออีกไม่นาน หากทำใจยอมรับได้การดูแลจะเป็นไปได้ด้วยดี

แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. ต้องมีการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับมากขึ้น การหายใจที่สั้นลง และหยุดเป็นพักๆ รวมถึงความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดกับตัวผู้ป่วย หากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่จะได้รักษาได้ถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ซึมเศร้า ตกใจ เป็นต้น
2. หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง โดยผู้ดูแลจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆให้ผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ช่วยประคองผู้ป่วยเมื่อ เดิน หรือยืน
3. การดูแลด้านอาหารการกิน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีอาการปฏิเสธอาหารและความอยากที่ลดลง สาเหตุจาก การรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ควรฝืนให้ผู้ป่วยรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจ บางครั้งอาจบรรเทาได้โดยการ ให้แพทย์ให้ยากระตุ้นความอยาก เป็นต้น
4. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ เช่น ความกลัว วิตกกังวล ญาติและผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความทุกข์ใจ
5. ผู้ป่วยและทางญาติ สามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการการดูแลในสถานที่ใด หากดูแลที่บ้าน แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลให้สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยผู้ป่วยบรรเทาจากความเจ็บป่วยทางกาย และให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อลดความกังวลต่างๆ แต่หากต้องการดูแลที่สถานพยาบาล เนื่องจาก ไม่มีผู้ดูแลที่บ้าน หรืออาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน แม้ว่าการดูแลในโรงพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป