ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน หางดง, เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน หางดง, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดูแลดี ปลอดภัย หายห่วง ต้องที่นี่เลย เราได้คนมาดูแลคุณยายที่บ้าน ดูแลดีมาก ๆ
Saijai
ว่าที่ร้อยตรี พลกฤต เข้มแข็ง
3 ปีที่แล้ว
เป็นครั้งแรกที่ใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราว เพราะต้องไปสัมนาที่ตจว. เลยหาคนมาดูแลยายแทนสักพัก ไม่ผิดหวังค่ะ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปเลย
Saijai
สมฤดี มีชัย
3 ปีที่แล้ว
เว็ปไซต์ใส่ใจใช้งานง่ายค่ะ ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาคนดูแล การนัดสัมภาษณ์ ทดลองงาน เลยทำให้ได้ผู้ดูแลคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการเลย ไม่ผิดหวังเลยค่ะ
Saijai
วิลาวัลย์ ชำนาญยิ่ง
3 ปีที่แล้ว
ขอชื่นชมป้านิด ดูแลคุณตาเป็นอย่างดี คุณตาเป็นผู้ป่วยติดเตียงค่ะ หาคนมาดูแลยากมาก ๆ เพราะต้องช่วยวัดไข้ วัดความดัน เช็ดตัวและทำความสะอาดห้องนอนให้ท่านด้วย ได้ป้าเค้ามาเราอุ่นใจและสบายใจขึ้นมากเลยค่ะ
Saijai
สุนทรีย์ แสงนวล
3 ปีที่แล้ว
น้องดูแลได้ดีมากค่ะ มีความรู้เกี่ยวกับอาการและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องฟอกปอดดีมากค่ะ แถมสุภาพมาก ๆ คุณพ่อเองก็ยังอยากให้จ้างต่อเป็นผู้ดูแลประจำ
Saijai
ภารดี ไตรภพ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
การใช้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราวนั้นอาจเกิดมาจากหลาก ๆ สาเหตุไม่ว่าจะเป็นการรับช่วงดูแลผู้สูงอายุต่อจากผู้ดูแลประจำเป็นระยะเวลาชั่วคราว หรือการได้รับติดต่อเพื่อให้ไปดูแลผู้สูงอายุ ยามที่บุคคลในครอบครัวไม่สามารถมีเวลามาดูแลผู้สูงอายุเองได้ รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุที่เข้ามาทำการพักฟื้นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ณ สถานที่พักหรือสถานที่บำบัดก็ตาม ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1. การรับช่วงดูแลผู้สูงอายุต่อจากผู้ดูแลคนก่อนหน้าหรือครอบครัว ซึ่งหน้าที่นี้เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดเพราะการรับช่วงต่อหรือการเข้าไปดูแลผู้สูงอายุนั้น ต้องมีการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลของผู้นั้นเป็นอย่างดีก่อน เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความไม่คุ้นเคย หรือต้องปรับตัวกับผู้ดูแลคนใหม่
2. การดูแลเรื่อง อาการเจ็บป่วยหรืออาการทางจิต ในกรณีที่ผู้สูงอายุคนนั้นเป็นผู้สูงอายุที่ป่วย และเข้ามาทำการพักฟื้นชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุให้รับประทานอาหารและยาตรงตามเวลา หรือ การทำกายภาพบำบัดต่างๆ ให้แก่ผู้สูงอายุ
3. การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากผู้สูงอายุบางท่านอาจมีปัญหาด้านสุขภาพหนัก จากการแก่ตัวของอายุ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรหลายๆ อย่างได้ด้วยตนเอง ผู้ดูแลชั่วคราวจึงมีหน้าที่เรียนรู้และศึกษากิจวัตรของผู้สูงอายุบุคคลนั้นๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในกิจวัตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนชุดชั้นใน แพมเพิร์ส และรวมถึงการนอน
4. การดูแลเรื่องอาหารการกิน ผู้สูงอายุบางท่านอาจรับประทานอาหารไม่เหมือนกันและร่างกายก็ยังต้องการสารอาหารเป็นพิเศษที่ต่างกันในแต่ละคน ทำการดูแลเรื่องอาหารการกินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
5. การคอยพูดคุยเพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงาและสร้างกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ต้องมีคนดูแลนั้นมาจากสาเหตุหลักๆ เลยคือครอบครัวไม่มีเวลาให้ หรือถูกทอดทิ้งทำให้บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจและตัดพ้อคิดสั้น การคอยอยู่ข้างๆ และพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันจึงเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ

เมื่อจำเป็นต้องใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราว เราจะมีวิธีการสังเกตอย่างไรว่าผู้ดูแลเป็นคนที่ไว้ใจได้
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ต้องการอยู่ใกล้ชิดครอบครัวและลูกหลาน แต่ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน หลายครอบครัวพยายามปรับเวลาทำงานเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้มีเวลาผลัดกันช่วยดูแลผู้สูงอายุ และจ้างผู้ดูแลแบบชั่วคราวเพื่อดูแลผู้สูงอายุในเวลาที่ไม่สามารถดูแลผู้อายุได้ด้วยตัวเอง เมื่อจำเป็นต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุ หลายคนยังเป็นกังวลใจทั้งเรื่องความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและทรัพย์สินภายในบ้าน จึงควรเลือกผู้ดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี อาจเป็นคนที่ได้รับการแนะนำจากเพื่อนหรือคนรู้จักที่ไว้ใจได้ หาจากตัวแทนจัดหางาน เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์
ใส่ใจให้ความสำคัญกับการคัดกรองผู้ให้บริการก่อนอนุมัติเข้าสู่เว็บไซต์ของใส่ใจ ผู้ให้บริการทุกคนต้องกรอกข้อมูลประวัติส่วนตัว ข้อมูลการติดต่อ เอกสารระบุตัวบุคคล เช่น บัตรประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง และข้อมูลประวัติการทำงานและหลักสูตรการอบรม นอกจากนั้นผู้ใช้บริการที่เคยใช้บริการนั้น ๆ สามารถแบ่งปันประสบการณ์ความพึงพอใจ(รีวิว) ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกแสดงให้ผู้ใช้บริการเรียกดูเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากข้อมูลด้านคุณสมบัติและประสบการณ์แล้ว การเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้น

อัตราค่าบริการผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวครั้งละเท่าไหร่
หน้าที่หลักของผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว คือการดูแลผู้สูงอายุในช่วงเวลาที่กำหนด โดยอัตราการคิดค่าบริการไม่ได้คำนวณจากปัจจัยการดูแลชั่วคราวแค่อย่างเดียว แต่รวมไปถึงปัจจัยค่าการเดินทางไปยังสถานที่ของผู้สูงอายุ ในกรณีที่รับดูแล ณ สถานที่ของผู้สูงอายุเอง หรือปัจจัยที่ต้องกำหนดคุณสมบัติของผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวเพิ่มเติมเป็นพิเศษเช่น ต้องการผู้ที่มีความรู้และความสามารถเรื่องการจ่ายยาและการทำอาหารเฉพาะด้านในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถรับประทานอาหารเมนูปกติทั่วไปได้ หรือมีอาการป่วยซับซ้อนจึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลที่มีความรู้เรื่องยาที่ผู้สูงอายุท่านนั้นใช้ รวมถึงความสามารถในด้านการนวด การยืด คลายเส้น หรือความรู้ในด้านจิตวิทยาที่ต้องใช้ในผู้สูงอายุที่มีลักษณะอาการทางจิตอีกด้วย ซึ่งด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นตัวกำหนดค่าบริการตามรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

- ดูแลผู้สูงอายุทั่วไป (รวมมีอาการป่วยต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ดูแลเฉพาะด้าน) ราคาจ้างรายวันเริ่มต้นที่ประมาณวันละ 800-1200 บาท (ติดต่อกันไม่เกินวันละ 10 ชั่วโมง)
- ดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย ราคาจ้างรายวันเริ่มต้นที่ประมาณวันละ 1200-1500 บาท (ติดต่อกันไม่เกินวันละ 10 ชั่วโมง)
- ดูแลผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเฉพาะ/อาหารพิเศษ และต้องการการดูแลด้านการแพทย์ ซึ่งผู้ดูแลอาจเป็นพยาบาลวิชาชีพหรือผู้มีประกาศนียบัตรด้านการดูแลผู้สูงอายุ ราคาจ้างรายวันเริ่มต้นที่ประมาณวันละ 1500-2000 บาท (ติดต่อกันไม่เกินวันละ 10 ชั่วโมง)

ทั้งหมดนี้รวมในเรื่องของบริการขั้นพื้นฐานเช่น การอาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า การดูแลการขับถ่าย อาหาร พลิกตะแคงตัวผู้สูงอายุ ดูแลการให้พยาบาลเบื้องต้นต่างๆ ทำความสะอาดอุปกรณ์และห้องนอนผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ คอยสังเกตอาการของผู้สูงอายุ
อุปกรณ์และของใช้จำเป็นที่ควรจัดเตรียมไว้ในการดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
ผู้สูงอายุแต่ละท่านมีปัญหาเรื่องสุขภาพที่แตกต่างกันไป อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้จึงแตกต่างกันไปด้วย ครอบครัวต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยที่สุด

เราควรจัดเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้างในการดูแลผู้สูงอายุ

1. เก้าอี้รถเข็นที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้สะดวก เนื่องจากโรคประจำตัว หรือจากการผ่าตัดรักษา การใช้เก้าอี้รถเข็นจะทำให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุได้สะดวกยิ่งขึ้น
2. อุปกรณ์ช่วยเดิน สำหรับผู้สูงอายุที่หัดเดิน หรือเดินเองไม่สะดวก หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงในการเดิน
3. อุปกรณ์ในห้องนอน เริ่มจากเตียงที่สามารถปรับระดับได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความลำบากในการลุกขึ้นนั่งด้วยตัวเอง บันไดขึ้นเตียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถขึ้น-ลงเตียงได้สะดวก ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ โต๊ะคร่อมเตียง จะช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น กระโถนรองการขับถ่าย กระบอกปัสสาวะ สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินไปขับถ่ายในห้องน้ำได้ แผ่นรองซึมซับเพื่อความสะดวกของผู้ดูแลที่ไม่ต้องเก็บเครื่องนอนซักใหม่ทุกวัน และทิชชูหรือสำลีม้วน ใช้เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่าง ๆ
4. ของใช้ส่วนตัว เสื้อผ้า ชุดชั้นใน ผ้าขนหนู สำหรับบางท่านอาจจะต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งการเลือกใช้ก็แตกต่างกันไปตามความจำเป็น ซึ่งจะมีทั้งสำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วยตัวเองอีก และสำหรับผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง
5. ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ ยาประจำตัวของผู้สูงอายุ ยาดมและยาหม่องเพราะผู้สูงอายุบางท่านร่างกายไม่แข็งแรง อาจเป็นลมได้ง่าย หากเริ่มมีอาการสามารถใช้ยาดมบรรเทาได้ ปรอทวัดไข้ เพื่อวัดอุณหภูมิว่าปกติหรือไม่ เพราะผู้สูงอายุบางท่านที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการไข้ร่วมด้วย จะทำให้อาการทรุดลงไปอีก