ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน เชียงใหม่:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

สามีเป็นคนอเมริกัน ให้ดิฉันช่วยหาคนมาดูแลคุณพ่อของเค้าที่เป็นอัมพฤกษ์ มีภาวะแขนขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ ซึ่งปกติคนดูแลที่เชี่ยวชาญด้านนี้ก็หายากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นคนดูแลแบบที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้อีก ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ โชคดีที่มาเจอเว็บใส่ใจ มีข้อมูลพร้อม
Saijai
ดรุณี เชอร์แมน
4 ปีที่แล้ว
ช่วงสามเดือนที่แม่สามีมาอยู่ด้วย เราเลยมองหาพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล น้องเก่งและมีประสบการณ์ ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน น้องถนัดภาษาอังกฤษ แต่ได้ภาษาไทยนิดหน่อย เราเลยสรุปงานให้ ต้องทำได้ตามต้องการ แม่สามีมีคนดูแลตลอด ชวนคุย พาเดินเล่น หายห่วงเลยคะ
Saijai
โบฟอร์ต กิ่งแก้ว
4 ปีที่แล้ว
คุณแม่สามีมาจากประเทศอังกฤษ เราเลยหาผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา จากใส่ใจมาดูแล ทำงานดีมาก พูดภาษาอังกฤษคล่องด้วย แม่สามีชมใหญ่เลย
Saijai
กาญจณา บลัดเวิร์ท
4 ปีที่แล้ว
วันก่อนลองสอบถามญาติ ๆ ดูว่าพอจะรู้จักใครที่พูดภาษาอังกฤษได้บ้างมั้ยเพราะต้องการให้มาดูแลแม่สามีที่เป็นชาวแคนาดา ญาติส่งลิงก์ของเว็บใส่ใจมาให้ดูค่ะ ตัวเว็บบอกข้อมูลค่อนข้างละเอียดเลย อยากได้บริการแบบไหนก็แค่กรอก ๆ ข้อมูลและความต้องการเพิ่มเติมเอา รอไม่นานทางเว็บก็ติดต่อกลับมาแล้วค่ะ ประทับใจมาก
Saijai
อังคณา แมกซ์เวิร์ธ
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ที่บ้านแกเป็นคนเชื้อสายจีนครับ ปกติเป็นคนดื้อ ไม่ชอบให้ใครมาวุ่นวาย แต่ตอนนี้ดีขึ้นตั้งแต่ได้คนมาช่วยดูแล
Saijai
เมรี รัตนชัยกุล
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

ข้อดีของผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษาในกรณีที่ต้องดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติมีอะไรบ้าง
ด้วยจุดเด่นในด้านงานบริการด้วยรอยยิ้ม ค่าครองชีพที่ไม่สูง สภาพอากาศที่อบอุ่น ศิลปวัฒนธรรมที่สวยงาม และการบริการทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ทำให้มีผู้สูงอายุจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว พักผ่อน หรือใช้ชีวิตยามบั้นปลายหลังเกษียณ จนประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน 1 ใน 5 ของประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางในการเดินทางของผู้สูงอายุ และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 6.5% ต่อปี ตั้งแต่ปี 2558-2560 อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ขยายตัวตามเทรนด์นี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ดูแลสองภาษาที่สามารถสื่อสารกับผู้สูงอายุต่างชาติได้ ทำให้ผู้สูงอายุชาวต่างชาติสามารถมั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นตอบสนองต่อความต้องการของตนได้อย่างถูกต้อง และสร้างบรรยากาศที่ดีในการอยู่ร่วมกัน ที่สำคัญเมื่อสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ จะทำให้เข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรมและมีความเคารพซึ่งกันและกัน การสื่อสารด้วยภาษาเดียวกันไม่ได้ส่งผลดีแค่ต่อตัวผู้สูงอายุเองเท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีต่อครอบครัวของผู้สูงอายุด้วย อย่างในกรณีที่ผู้ดูแลต้องการติดต่อขอคำแนะ หรือแจ้งข่าวสารให้กับครอบครัวผู้สูงอายุ อาจเนื่องจากภาวะการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้สูงอายุบางท่านมีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยตรงและทันท่วงที โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือให้ผู้อื่นช่วยแปล ถือเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยให้กับผู้สูงอายุด้วย
ต้องรู้อะไรบ้างเมื่ออยากจ้างคนต่างด้าวมาดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ส่วนมากมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึงวัยกลางคน

หากต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเป็นชาวต่างด้าว เราควรมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

1. ตรวจสอบประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ อายุ ภูมิลำเนาเดิม รวมถึงโรคประจำตัว เพราะย่อมมีผลกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย อีกทั้งควรตรวจสอบว่าไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสีย ไม่เป็นผู้วิกลจริตไม่สมประกอบ ไม่ติดสารเสพติดทุกชนิด โดยอาจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างคนเก่าและสอบถามสาเหตุของการออกจากที่ทำงานเดิมด้วย
2. ผู้ดูแลคนสูงอายุต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสุขภาพและมีการทำใบอนุญาตทำงาน (work permit) ให้ถูกต้อง
3. สังเกตบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการสัมภาษณ์ โดยลองถามคำถามที่จะประเมินว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีใจรักงานบริการหรือมีความอดทนมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ที่เอามายกเป็นตัวอย่าง
4. แจ้งรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจน ตกลงเรื่องเงินเดือนและหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น เกี่ยวกับเรื่องวันหยุดพักผ่อนและสวัสดิการที่มีให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับเข้าทำงานแล้ว
5. อธิบายข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบในบ้าน ว่ามีกฎข้อบังคับใดๆ ภายในบ้านหรือไม่ เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันและหลีกเลี่ยงปัญหาหากต้องเข้ามาทำงานและอยู่ในบ้านร่วมกัน
จ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวไทยที่มีทักษะภาษาอังกฤษจะถูกกว่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุต่างสัญชาติอื่น เช่น สัญชาติฟิลิปปินส์ หรือพม่า หรือไม่
หลายคนอาจกำลังตัดสินใจเลือกระหว่างการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุคนไทยหรือชาวต่างด้าว แบบใดจะดีกว่ากัน มีค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกันอย่างไร ใส่ใจมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน ดังนั้นหลาย ๆ คนจึงสนใจที่จะจ้างผู้ดูแลที่เป็นชาวต่างด้าว เช่น ชาวฟิลิปปินส์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายแทบจะไม่แตกต่างกับการจ้างผู้ดูแลคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษ แต่ชาวฟิลิปปินส์จะมีสำเนียงภาษาอังกฤษและพื้นฐานของภาษาอังกฤษค่อนข้างดีกว่าคนไทยเพราะได้ทำการฝึกฝนภาษาตั้งแต่เด็ก ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า นอกจากนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวฟิลิปปินส์มักที่จะมีประวัติทางการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ดี ทั้งยังผ่านการฝึกอบรมทำให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่การจ้างผู้ดูแลเป็นคนต่างด้าวที่มีค่าจ้างถูกกว่าคนไทยนั้น ตัวนายจ้างต้องทราบด้วยว่าอาจจะมีขั้นตอนการจ้างงานที่ยุ่งยากกว่าการจ้างคนไทยและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้ เพราะหากจ้างชาวต่างด้าวมาทำงาน ต้องขอใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว โดยได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (วีซ่า Non-Immigrant-B) โดยสามารถติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับวีซ่า Non-Immigrant-B แล้วให้ติดต่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน(Work permit) ณ สำนักงานของกรมการจัดหางาน ดังนั้นหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว นายจ้างควรทำการศึกษาข้อมูลในส่วนนี้โดยละเอียดถึงค่าใช้จ่ายจริงที่ต้องใช้
เว็บไซต์ของใส่ใจมีข้อมูลผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่พูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่
สำหรับท่านที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ท่านสามารถค้นหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวโดยระบุในตัวคัดกรอง (Filters) เพื่อให้ระบบแสดงข้อมูลของผู้ให้บริการที่ตรงตามความต้องการของท่าน และท่านสามารถเลือกดูประวัติของผู้ให้บริการที่ท่านสนใจ รวมถึงอัตรค่าบริการและรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุ