พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน ดอนตูม, นครปฐม

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน ดอนตูม, นครปฐม

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ศตวรรษ ทับทิม
ศตวรรษ ทับทิม
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี

ผมรักสัตว์เคยทำงานเป็นผช.สัตว์แพทย์​ มีความอดทนสูง​

แสดงเพิ่มเติม
ศศิพิมล ยิ่งแจ่มจันทร์
ศศิพิมล ยิ่งแจ่มจันทร์
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 24 ปี
อนุธิดา เทศกุล
อนุธิดา เทศกุล
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 24 ปี

เป็นคนรักสัตว์ และรักเด็ก ชอบความเป๋นส่วนตัว

แสดงเพิ่มเติม
จุฑามาศ เกิดเดโช
จุฑามาศ เกิดเดโช
Saijai ประสบการณ์ 2-3 ปี
Saijai อายุ 25 ปี

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

เป็นห่วงแมวที่บ้านทุกครั้งที่ต้องปล่อยให้มันอยู่บ้านตัวเดียว เลยตัดสินใจจ้างคนมาดูแล หาข้าวหาน้ำ อยู่เล่นกับแมวแทน เจอพี่เลี้ยงจากเว็บไส่ใจ ดีมากครับ ราคาก็ไม่แพงเลย ทีนี้ก็ไม่ต้องคอยกังวลเวลาจะออกไปไหนมาไหนแล้ว
Saijai
ญาณกร สหวัฒน์มงคล
3 ปีที่แล้ว
บริการดีมาก เคยใช้บริการให้ช่วยดูแลน้องหมาตอนเราไม่อยู่ ดูแลครบทุกอย่างเลยจริง ๆ ไม่นึกว่าจะดูแลให้ถึงขั้นอาบน้ำและตัดเล็บน้องให้ด้วย ชอบมาก ๆ เลยครับ
Saijai
ศุภสินทร์ จงวิภาส
3 ปีที่แล้ว
จ้างคนดูแลสัตว์เลี้ยงให้มาดูแลสุนัข 3 ตัว เค้าบริการดีทุกขั้นตอน ให้อาหารให้น้ำ พาน้องไปถ่าย ไปวิ่งเล่นตรงเวลาตลอดเลย กลับบ้านมาน้องดูร่าเริงมาก ประทับใจมากค่ะ
Saijai
ณรงค์เดช อชิวารักษ์
3 ปีที่แล้ว
ที่บ้านมีแมว 9 ตัว เวลาเอาไปฝากตามโรงแรมแมว ค่าใช้จ่ายสูงมาก แถมแมวก็เครียด ไม่กิน ไม่นอน อารมย์หงุดหงิดมาก เวลาพากลับมาที่บ้าน ตอนนี้ได้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมาดูแลให้ที่บ้าน นอกจากแมวเราไม่เครียดแล้ว ราคายังถูกกว่าอีกด้วย เปลี่ยนใจมาใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบยาว ๆ เลยค่ะ
Saijai
วิลาศิณี ตรีศรีดา
4 ปีที่แล้ว
ประทับใจที่ดูแลน้องดี สะอาด มีของเล่น เล่นกับน้อง
Saijai
สุภัสสรา รัศมีงาม
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีหน้าที่อะไรบ้าง
เป็นเรื่องปกติที่คนรักสัตว์ต้องการที่จะเห็นสัตว์เลี้ยงของตนมีความสุข ทั้งสภาพจิตใจและการใช้ชีวิต หลาย ๆ คนที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้านแต่ไม่สามารถหาเวลาดูแลหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงได้บ่อย ๆ จึงตัดสินใจเลือกใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อให้มาทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน เนื่องจากพี่เลี้ยงที่มีความเป็นมืออาชีพและมีใจที่รักสัตว์นั้นสามารถทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของตนจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในยามที่ตนไม่อยู่นั่นเอง

หน้าที่หลัก ๆ ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบในการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ เช่น การให้อาหาร ให้น้ำ อาบน้ำ เป็นต้น
2. รับผิดชอบในการพาสัตว์เลี้ยงไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกาย สำหรับสัตว์ใหญ่อย่างสุนัขที่จำเป็นต้องได้รับการบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ พี่เลี้ยงสามารถพาสุนัขไปเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำเพื่อเป็นการออกกำลังกายได้ ในส่วนของสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกายเยอะอย่างเช่นแมว พี่เลี้ยงสามารถหาของเล่นชิ้นเล็ก ๆ มาเล่นกับสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงได้เคลื่อนไหวร่างกายบ้างเล็กน้อย
3. ดูแลทำความสะอาดกระบะขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงบ่อย ๆ และคอยสังเกตดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือสีที่แปลกไปในอุจจาระของสัตว์เลี้ยงหรือไม่ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของสัตว์เลี้ยง
4. คอยสังเกตอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยง หากสัตว์เลี้ยงมีอาการที่ผิดไปจากปกติที่เป็นอยู่อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นกำลังป่วยได้ และให้พี่เลี้ยงรีบรายงานกับเจ้าของหรือรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
5. คอยถ่ายภาพหรือรายงานความเป็นไประหว่างการดูแลสัตว์เลี้ยงให้กับเจ้าของ เพื่อสร้างความสบายใจและช่วยคลายความกังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะสามารถปรับตัวเข้ากับพี่เลี้ยงได้หรือไม่
บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเชื่อถือได้หรือไม่
หากจะฝากสัตว์เลี้ยงแสนรักไว้กับใครสักคน เราจะไว้ใจเขาได้อย่างไร วันนี้มีคำแนะนำมาบอกค่ะ

1) คัดกรองคนก่อนรับเข้าทำงาน เราจะต้องทราบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคนที่เราจะเลือกมาทำหน้าที่ “พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง” ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยว่ามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรืออาจจะต้องตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่าว่าพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงคนนี้มีการทำงานเป็นอย่างไร
2) ต้องทำการคุยและสัมภาษณ์พี่เลี้ยงก่อนทำการจ้างงาน ลองทดสอบโดยให้อยู่กับสัตว์เลี้ยงหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้วให้พี่เลี้ยงตอบว่าหากเจอเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้จะต้องทำอย่างไร รวมทั้งทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และการดูแลใส่ใจ การเลือกอาหารอีกทั้งการความสะอาดด้วย แม้ว่าการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีความรู้ และมีประสบการณ์อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการจ้างคนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าและลดความเสี่ยงที่สัตว์เลี้ยงจะไม่ปลอดภัยได้
3) นิสัยใจคอ ควรพิจารณานิสัยส่วนตัวของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงให้ดี โดยทำการสังเกตไม่ว่าจะเป็นการพูด การแสดงออกเมื่ออยู่กับสัตว์ ที่สำคัญควรจะเป็นบุคคลที่ใจเย็น ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เพราะการดูแลสัตว์หากไม่มีใจรักแล้วย่อมจะทำงานได้ยาก

จากคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น เราจะไว้ใจพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่ เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงานนี้ อีกวิธีที่สามารถช่วยให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงวางใจได้ก็คือ การติดกล้องวงจรปิดไว้ในบ้าน เพื่อคอยหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของทั้งสัตว์เลี้ยงและพี่เลี้ยงไปในตัว
จ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงคิดค่าบริการครั้งละเท่าไหร่
พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง คือ ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงที่มาถึงบ้านตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้อาหาร อาบน้ำ พาสัตว์เลี้ยงทำการถ่ายหนัก/เบา ดูแลเรื่องความสะอาดต่าง ๆ พี่เลี้ยงไม่เพียงแต่ดูแลสัตว์เลี้ยงเท่านั้นแต่ยังอาศัยอยู่ที่บ้านของเจ้าของเพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีเพื่อนเล่นและไม่รู้สึกหดหู่แถมยังรู้สึกปลอดภัย สัตว์เลี้ยงไม่มีความเครียดเพราะได้อยู่ในบ้านของตัวเอง

ราคาสำหรับบริการดูแลสัตว์เลี้ยงจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1) พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบไปเช้า/เย็นกลับ หรือแบบค้างคืน ราคาก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งแบบค้างคืนจะมีราคาสูงกว่าเพราะพี่เลี้ยงต้องใช้เวลาอยู่กับสัตว์เลี้ยงทั้งวันทั้งคืน
2) จำนวนของสัตว์เลี้ยงที่ต้องดูแล หากมีสัตว์เลี้ยงมากกว่า 1 ตัว ราคาจะเพิ่มตามจำนวนของสัตว์เลี้ยง ยิ่งสัตว์เลี้ยงจำนวนมากเท่าไหร่ ความรับผิดชอบของพี่เลี้ยงก็ต้องมากตามไปด้วย
3) ประเภทของสัตว์ที่ต้องดูแล มีความยากง่ายแตกต่างกันไป เช่น สุนัข แมว กระต่าย หนูตะเภา นก หรือสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ที่เป็นสัตว์แปลกก็จะดูแลยากขึ้นไปอีกเพราะต้องเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญจริง ๆ จึงจะดูแลสัตว์เหล่านั้นได้
4) ขนาดของสัตว์เลี้ยงก็มีผลกับการดูแลเช่นกัน ว่าจะมีราคาแตกต่างกันอย่างไร จากการตรวจสอบและสรุปคร่าวๆ พบว่า ราคามาตรฐานของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจะเริ่มต้นอยู่ที่ 300 บาทจนถึงสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น

ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถเลือกและลองพูดคุยตกลงกับพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงดูก่อนเพื่อหาคนที่ถูกใจจริง ๆ มาดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณ
วิธีการสังเกตสัตว์เลี้ยงที่เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบมากในสัตว์เลี้ยงคือ ภาวะน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ หรือโรคอ้วน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคอ้วนมาจากโภชนาการอาหารที่ผิดปกติ เกิดจากการที่เจ้าของให้สัตว์เลี้ยงรับประทานอาหารที่มากจนเกินไป หรือไม่เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์เลี้ยง และไม่ค่อยสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย บางครั้งอาจเกิดจากความเคยชินในการพบเห็น จึงทำให้ไม่รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ผู้เลี้ยงบางคนยังมีทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับน้ำหนักส่วนเกินของสุนัข โดยเฉพาะเวลาเห็นสุนัขอ้วนแล้วบอกว่าน่ารัก ซึ่งเจ้าของส่วนใหญ่ก็มักจะต้องการให้สัตว์เลี้ยงของตนน่ารัก น่ากอด น่าซุก โดยการให้สัตว์เลี้ยงของตนกินอาหารเยอะ ๆ รวมถึงอาหารเสริมต่าง ๆ มากมาย หรือการใจอ่อนกับสัตว์เลี้ยงมากเกินไปเช่น เมื่อสัตว์เลี้ยงแสดงอาการขออาหารเพิ่ม แม้ว่าที่กินอยู่จะเยอะเกินไปแล้ว เจ้าของก็ยินยอม ความเข้าใจผิดจากหลาย ๆ สาเหตุเช่นนี้ จึงทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงควรมีการหมั่นตรวจสอบน้ำหนักสัตว์เลี้ยงอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอโดยสามารถตรวจสอบหาข้อมูลมาตรฐานน้ำหนักของสัตว์เลี้ยงตามประเภทและชนิดของสัตว์จากแหล่งข้อมูลบนเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต หรือสามารถสอบถามได้จากคุณหมอ หรือสัตวแพทย์ในสถานบริการทางการแพทย์ที่คุณใช้บริการตรวจสัตว์เลี้ยงนั้นก็ได้

หมั่นตรวจสอบสังเกตลักษณะรูปร่างและสัดส่วนของสัตว์เลี้ยงของท่านอย่างสม่ำเสมอ หากมีลักษณะสัดส่วนที่มีเนื้อหรืออ้วนจนเกินไป ในสัตว์เลี้ยงบางสายพันธุ์ลักษณะของสัตว์เลี้ยงอาจเป็นอุปสรรคในการสังเกตลักษณะ ดังนั้นเจ้าของสัตว์อาจสังเกตพฤติกรรมการเป็นอยู่ของสัตว์แทนเช่นหากสัตว์เลี้ยงขี้เกียจในการขยับเคลื่อนตัว หรือวิ่งหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่นานก็มีอาการ หอบ หรือหายใจแรง หรือมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ ก็ควรนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลสัตว์ต่าง ๆ เพื่อทำการตรวจสอบค่าน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง และตรวจสุขภาพโดยรวม ว่าเข้าข่ายน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเริ่มมีสภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่