รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ใน สะเดา, สงขลา

รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ใน สะเดา, สงขลา

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

โรงงานส่งเราไปอยู่สระบุรี เลยต้องหาพี่เลี้ยงมาอยู่เป็นเพื่อนคุณแม่ ก็ได้บริการของใส่ใจ พนักงานที่นี่ไว้ใจได้ ใส่ใจดูแลคุณแม่เป็นอย่างดี ตื่นเช้าเตรียมอาหาร ใส่บาตร ช่วยดูแลคุณแม่ อยู่เป็นเพื่อน คุณแม่มีคนดูแลก็อุ่นใจ 5 วันที่เราไม่อยู่แต่เราก็สบายใจค่ะ
Saijai
ฤดี ภัทร์ปรีดากุล
3 ปีที่แล้ว
คุณแม่เป็นโรคซึมเศร้าค่ะ เราเลยต้องหาคนมาอยู่เป็นเพื่อน กังวลใจในความปลอดภัยของแม่ด้วย แต่โชคดีได้เจอคนดูแลที่เว็บใส่ใจ คนนี้ผ่านการตรวจสอบประวัติมาแล้ว ตอนนี้น้องเค้ามาทำงานได้ 3 เดือนแล้ว นอกจากช่วยดูแลคุณแม่ ช่วยทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกด้วย
Saijai
เนตรวดี พิศสมพร
3 ปีที่แล้ว
โชคดีเจอพี่คนดูแลจากเว็บใส่ใจ บ้านเค้าอยู่แถวนี้ด้วย สามารถมาช่วยดูแลคุณตาให้ได้วันจันทร์-ศุกร์ พี่เค้าช่วยเราได้มากเพราะนอกจากจะช่วยอยู่เป็นเพื่อนคุณตาแล้ว ยังช่วยให้ท่านผ่อนคลายความเครียด ความกังวล ช่วยอ่านหนังสือและเล่นหมากรุกกับคุณตาด้วย คุณตาอารมณ์ดีขึ้นเยอะเลยค่ะ
Saijai
สุชลิตา จินดา
4 ปีที่แล้ว
ตอนแรกคิดว่าจะเป็นแค่บริการอยู่คุยเล่นกับผู้สูงอายุในช่วงเวลาที่จ้างเฉย ๆ แต่พี่เขาดูแลถึงเรื่องอาหารการกิน งานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆให้อีกด้วยค่ะ กลับบ้านมาเห็นคุณแม่พูดคุยกับเขาอย่างมีความสุข กับบ้านที่สะอาด ทำเอาช่วยให้หายเหนื่อยได้มากเลยค่ะ
Saijai
นฤมล พงษ์แก้ว
4 ปีที่แล้ว
ชอบตั้งแต่คนดูแลมาตรงเวลา ดูแลดี คุณยายผมบอกว่าชอบพี่คนนี้มากครับ มีแต่เรื่องสนุก ๆ เล่าให้แกฟัง คอยหากิจกรรมมาให้ทำไม่น่าเบื่อเลย คุ้มค่าน่าใช้บริการอีกมาก ๆ ครับ
Saijai
วราวุธ นาควานิตย์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ

ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้สูงอายุ หรือคนชราอยู่ตามลำพัง
ข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พบว่าสถิติประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าภาพรวมของประชากรในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2553-2573 จะอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “สังคมสูงวัย (Aged Society)” และอาจเข้าสูงสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ภายในอีก 10 ปีหลังจากนั้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากสภาพการทำงานและสังคมก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน และอาจทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านตามลำพังมากขึ้น แม้ผู้สูงอายุบางคนจะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในสังคมได้ แต่ต้องยอมรับว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เองตามที่ใจต้องการ เนื่องด้วยสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เราจึงไม่ควรให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างคล่องแคล่ว การต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านหรือทำอะไรตามลำพังอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ต่อตัวผู้สูงอายุได้ เช่น หากปล่อยให้ผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวลำบากต้องเดินขึ้น-ลงบันไดเองนั้น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และหากไม่มีคนอยู่ในบ้าน ผู้สูงอายุเองก็ไม่สามารถขอความช่วยเหลือได้เช่นกัน อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดจากการให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคือปัญหาทางสภาพจิตใจนั่นเอง เมื่อไม่มีคนคอยอยู่เป็นเพื่อนหรือพูดคุยและรับฟัง ผู้สูงจะรู้สึกเหงา เกิดอาการเครียด และมีภาวะซึมเศร้าในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ ผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยอาจจะเป็นคนในครอบครัวเอง หรือจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุมืออาชีพมาดูแลได้เช่นกัน


คุณสมบัติของผู้ให้บริการอยู่ป็นเพื่อนผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
คุณสมบัติของผู้ให้บริการอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง?

1. บรรลุนิติภาวะ เพราะบุคคลเหล่านี้จะมีวุฒิภาวะที่เพียงพอ สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ เพราะผู้สูงอายุนั้นถือว่าเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
2. มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนและสามารถอยู่เป็นเพื่อนพูดคุยกับผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการความรักความเอาใจใส่จากลูกหลาน ในบางครั้งก็ต้องการคลายความเหงาโดยการหาเรื่องมาเล่ามากมาย หากผู้ดูแลคอยเอาใจใส่ อยู่เป็นเพื่อนคอยรับฟังและพูดคุยกับผู้สูงอายุตลอดก็อาจทำให้ได้รับความรักจากผู้สูงอายุกลับมาเช่นกัน
3. ผู้ที่อยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุนั้นจะต้องเป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีสุขอนามัยที่ดีและบุคลิกภาพที่ดีเช่นกัน ในวัยของผู้สูงอายุนั้นถือเป็นวัยที่ค่อนข้างอ่อนแอ หากผู้ดูแลที่มีโรคประจำตัว หรือสุขภาพไม่แข็งแรงมาอยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุตลอดเวลา ก็อาจเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อให้กับผู้สูงอายุได้
4. มีความกระฉับกระเฉงในการทำงานและสามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การทานอาหาร อาบน้ำ เป็นต้น บางครั้งผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องทานยาก็อาจหลงลืมเวลาในการทานยาได้ ดังนั้น ผู้ดูแลที่อยู่เป็นเพื่อนต้องคอยเตือนผู้สูงอายุถึงเวลาทานยาบ่อย ๆ
5. บุคคลที่สามารถอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุได้นั้นจะต้องสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นเพื่อนผู้สูงอายุได้ตลอดเวลา เช่น การออกกำลังกาย ดังนั้นควรชวนผู้สูงอายุไปเดินออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุนั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงยิ่งขึ้น
6. มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ และสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้เป็นอย่างดีเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุเอง
ผู้ให้บริการดูแลแบบอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหนในประเทศไทย
เนื่องจากแนวโน้มผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจและอาชีพใหม่ ๆ เพื่อรองรับและตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) รูปแบบของธุรกิจที่ขยายตัวควบคู่ไปกับสังคมผู้สูงอายุเน้นไปในด้านการดูแลและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น ที่พักอาศัยที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพและสุขภาพของผู้สูงวัย อุปกรณ์เสริม เช่น ราวจับ พรมกันลื่น ฯลฯ และงานบริการดูแลผู้สูงอายุ เช่น เนอร์สซิ่งโฮม และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น รูปแบบงานบริการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ได้เป็นแค่การดูแลผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ยังมีบริการที่แตกแขนงออกไปอีก เช่น พาผู้สูงอายุไปเที่ยว ไปทำธุระ และไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะการไปโรงพยาบาลที่มีขั้นตอนมากมาย ผู้สูงอายุหลายคนต้องเตรียมตัวออกจากบ้านตั้งแต่เช้า เมื่อถึงโรงพยาบาลต้องติดต่อแผนกที่ตนต้องการ ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดความงุนงง มีความเบื่อหน่ายที่ต้องรอรับบริการ หากมีคนคอยช่วยเหลือดำเนินการในขั้นตอนเหล่านี้ ดูแลเมื่อผู้สูงอายุต้องเข้าห้องน้ำ พูดคุยเป็นเพื่อนระหว่างรอ จะทำให้ตัวผู้สูงอายุสบายใจและครอบครัวคลายความกังวลไปได้มาก
คนที่อยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุควรทำกิจกรรมใดที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีจิตแจ่มใส
กิจกรรมสร้างสุขเพื่อสุขภาพจิตที่ดีของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง

1. การออกกำลังกาย กิจกรรมนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและยังช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกทางหนึ่งด้วย เช่น การเดินออกกำลังกายตามสวนสาธารณะในตอนเช้าหรือตอนเย็น เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือการออกกำลังกายแบบอื่น เช่น รำไท้เก๊ก Line Dance หรือการเต้นลีลาศ
2. การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายในวัยเกษียณหรือวัยผู้สูงอายุได้ดีเช่นกัน ยิ่งถ้าหากได้เดินทางกับกลุ่มเพื่อนที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันด้วยนั้นก็ยิ่งช่วยสร้างความสุขและลดความเบื่อหน่ายให้กับผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก
3. กิจกรรมทางสังคม เช่น การออกกิจกรรมจิตอาสาต่าง ๆ เช่น ไปเยี่ยมบ้านเด็กกำพร้า หรือสถานพินิจ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เข้าไปพบปะพูดคุยกับผู้คน
4. กิจกรรมทางประเพณีและศาสนา เช่น การรำกลองยาว การรำหน้านาค ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขทั้งทางกายและทางจิตใจด้วย
5. การเล่นกีฬา อาจจะเป็นเกมในมือถือ หรือเกมง่าย ๆ เช่น หมากรุก เบตอง ที่ช่วยให้ร่างกายของผู้สูงอายุได้เคลื่อนไหวบ้างและยังสนุกอีกด้วย
6. งานอดิเรก อาจจะเป็นการอ่านหนังสือ ทำขนม ทำสวน ปลูกต้นไม้หรือการจัดสวนเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมทั้งการมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หรือปลา ก็ช่วยคลายความเหงาได้เช่นกัน