ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

Rain Ny
Rain Ny
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

รับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เพราะทำงานแผนกผู้ป่วยหนักมา 10 ปีค่ะ ลักษณนิสัยพูดคุยกับผู้ด้วยโดยดูสีหน้าบุคคลิกของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นคนแบบไหนชอบให้พูดคุยด้วยไหมให้กำลังใจผู้ป่วยในยามที่ท้อแท้สิ้นหวัง

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่เค้ามาช่วยดูแลคุณย่าที่ป่วยติดเตียง ดูแลคุณย่าเราอย่างดี ช่วยพลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง ช่วยให้คุณย่านอนหลับสบายขึ้นและป้องกันการเกิดแผลกดทับด้วย ที่สำคัญพี่เค้าดูแลเรื่องการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี เพราะคุณย่าต้องสอดสายปัสสาวะ แกช่วยเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้เป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ แกดูแลคุณย่าเราเหมือนคนในครอบครัวแกเอง ทำให้เราไว้วางใจและประทับใจมาก ๆ
Saijai
สุธิดา ตรีอังกูร
3 ปีที่แล้ว
คุณย่าเป็นผู้ป่วยติดเตียง แต่คนที่บ้านไม่มีความรู้ในการดูแล เลยลองหาคนที่รับจ้างดูแลผู้ป่วยติดเตียง โชคดีที่เจอน้องคนนี้ น้องตั้งใจทำงานและดูแลคุณย่าได้ดีมาก ๆ ค่ะ ตอนนี้คอยช่วยดูแลกันเหมือนเป็นคนในครอบครัวไปแล้ว
Saijai
ณัฐฐา จามศิลป์
4 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
อยากได้คนดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน แต่เป็นอีกคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องการใช้โซเชี่ยลหรืออินเทอร์เน็ตในการทำอะไรแบบนี้ ญาติเลยแนะนำเว็บใส่ใจมา บอกให้ลองเปิดดู อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ดูแล้วลองศึกษาวิธีการตามดูแล้วก็ค้นพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดไว้ตอนแรกเลยค่ะ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ
Saijai
ศิศิกาญจน์ แย้มสมัย
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอน อาการเจ็บป่วยอาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ต้องเข้าเฝือกตัว ผู้ป่วยอัมพาตที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือผู้ป่วยชราที่มีความอ่อนเพลียมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยประเภทนี้จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ในบ้านโดยมีผู้ดูแล

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าที่จะทำให้เกิดแผลกดทับได้
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลการป้อนอาหาร โดยปรับเตียงให้อยู่ในมุม 45-90 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับอาหารให้เหมาะสมกับภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ภาวะกลืนลําบากอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย เพราะมีโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟันการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene) มีส่วนสําคัญในการรักษาภาวะอาการกลืนลําบากซึ่งมักถูกมองข้าม การดูแลสุขภาพช่องปากจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสําลัก
4. ภาวะสุขภาพจิต เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่ายและความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อผ่อนคลายและลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง
คุณเจออุปสรรคอะไรบ้างเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หลาย ๆ คนที่อาจไม่มีเวลาว่างมากพอในการอยู่ดูแลผู้ป่วยจึงแก้ปัญหาโดยการเลือกจ้างผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาช่วยทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน แต่การจ้างผู้ดูแลอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าผู้ดูแลไม่มีความสามารถและทักษะการดูแลมากพอ จนกายเป็นอุปสรรค อาจต้องเปลี่ยนผู้ดูแลอยู่บ่อย ๆ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
หากต้องการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้าน ทั้งเครื่องมือ ของใช้ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก รวมทั้งผู้ดูแล ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำระยะยาว และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

ครอบครัวสามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเรื่องแนวทางการดูแล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้หรือไม่ได้ การดูแลรักษาความสะอาด เป็นต้น เพื่อที่จะได้กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องและครอบคลุม
2. จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เตียงที่สามารถปรับท่านอนหรือนั่งได้ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่นอนลม อาจรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ออกซิเจนชนิดถัง หรือของใช้ที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ
3. เตรียมพื้นที่หรือจัดบ้านให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วย เช่น ที่พักของผู้ป่วยควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับเตียงและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดูแล อากาศโปร่งถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับ
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อผู้ป่วยนอนติดเตียง ได้แก่ แผลกดทับ โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ท้ายทอย ข้อศอก ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ เป็นต้น สาเหตุการเกิดแผลกดทับ คือการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เหล่านี้จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อย ๆ ระยะแรกอาจเกิดอาการลอกที่ผิว แต่พอนานเข้าก็จะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อจะมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถพลิกตัวเองได้เองจึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่จะช่วยปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงแรงกดทับจากการนอนหรือนั่งไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน

การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ