ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน นนทบุรี

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน นนทบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
อมรรัตน์  อัศวจิตตานนท์
อมรรัตน์ อัศวจิตตานนท์
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีประสบการณ์ด้านรพ.มา4ปีและดูแลตามบ้านมาก่อนหน้านี้รวมแล้วเกือบ10ปีทั้งด้านเด็กและผูสูงอาย สามารถพูดจีน ขับรถยนต์ได้มีใบขับขี่ และด้านกายภาพบำบัด รวมถึงนวดบำบัด ฯลฯ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 42 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

จ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านเว็บไซต์ใส่ใจ ดูแลดีมากครับ ใส่ใจรายละเอียดมาก ๆ มีวิธีการดูแลที่ไม่ให้เกิดแผลกดทับ และยังเป็นคนซื่อสัตย์อีกด้วย
Saijai
เจนสุดา ปู่หลง
3 ปีที่แล้ว
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
3 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
4 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว
อยากได้คนดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน แต่เป็นอีกคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องการใช้โซเชี่ยลหรืออินเทอร์เน็ตในการทำอะไรแบบนี้ ญาติเลยแนะนำเว็บใส่ใจมา บอกให้ลองเปิดดู อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ดูแล้วลองศึกษาวิธีการตามดูแล้วก็ค้นพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดไว้ตอนแรกเลยค่ะ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ
Saijai
ศิศิกาญจน์ แย้มสมัย
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอน อาการเจ็บป่วยอาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ต้องเข้าเฝือกตัว ผู้ป่วยอัมพาตที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือผู้ป่วยชราที่มีความอ่อนเพลียมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยประเภทนี้จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ในบ้านโดยมีผู้ดูแล

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าที่จะทำให้เกิดแผลกดทับได้
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลการป้อนอาหาร โดยปรับเตียงให้อยู่ในมุม 45-90 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับอาหารให้เหมาะสมกับภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ภาวะกลืนลําบากอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย เพราะมีโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟันการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene) มีส่วนสําคัญในการรักษาภาวะอาการกลืนลําบากซึ่งมักถูกมองข้าม การดูแลสุขภาพช่องปากจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสําลัก
4. ภาวะสุขภาพจิต เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่ายและความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อผ่อนคลายและลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง
คุณเจออุปสรรคอะไรบ้างเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หลาย ๆ คนที่อาจไม่มีเวลาว่างมากพอในการอยู่ดูแลผู้ป่วยจึงแก้ปัญหาโดยการเลือกจ้างผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาช่วยทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน แต่การจ้างผู้ดูแลอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าผู้ดูแลไม่มีความสามารถและทักษะการดูแลมากพอ จนกายเป็นอุปสรรค อาจต้องเปลี่ยนผู้ดูแลอยู่บ่อย ๆ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานมีต้องใช้ความรู้และความใส่ใจ การเลือกผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรเลือกบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดูแล ให้เข้ามาดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องคอยตรวจสอบอาการของคนที่คุณรัก อย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ นั้น เป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว

ญาติและครอบครัวควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วย เช่น ที่นอนลม อุปกรณ์ทำแผล เตียงสำหรับผู้ป่วย และห้องที่สามารถ เคลื่อนย้าย และดูแลผู้ป่วยได้สะดวก แผ่นซึมซับกันเปื้อน
2. ให้เวลากับการหาและคัดเลือกผู้ดูแล ถึงแม้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะเน้นเพียงทักษะการดูแลเรื่องความสะอาด ถูกต้องตามแผนการรักษา โดยเฉพาะการดูแลด้านสุขอนามัย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว สังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยว่าต้องการสิ่งใด เช่น รู้สึกเมื่อยต้องการพลิกตัว หิวน้ำหรือคันที่ผิวหนัง ต้องการทำความสะอาดแต่ทำเองไม่ได้ เป็นต้น
3. เตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงย่อมมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความชำนาญ ค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก คนในครอบครัวอาจต้องปรับเปลี่ยนตารางกันทำงานเพื่อให้ส่งเสริมและสอดคล้องกันตารางการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วย อาจเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้ลองพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและความปลอดภัยระหว่างการจ้างผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถเปลี่ยนงาน หรือออกจากงานมาดูแลผู้ป่วยเอง
4. ครอบครัวและคนรอบข้างผู้ป่วยต้องเข้าใจ เอาใจใส่ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านไปอย่างราบรื่น
มีวิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้ผู้ป่วยติดเตียงมีแผลกดทับ
เมื่อเกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยแล้ว ต้องดูแลรักษาแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อ อย่างระมัดระวังที่สุดเพราะแผลอาจรุกรามได้ ส่วนนิยามของการส่วนการรักษาแผลกดทับคือการช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง

วิธีป้องกันแผลกดทับมีดังนี้

• ที่สำคัญที่สุดคือการจัดท่าทางในการนั่งและนอน ควรปรับเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 ชั่วโมงช่วย เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวและเป็นการป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ดี ควรเลือกเบาะรองนั่งหรือเตียงนอนที่ช่วยผ่อนแรงกด อาจเป็นเตียงนอนลม หรือหาหมอนลม ห่วงยางที่มีรูมารองตรงจุดกดทับ และเปลี่ยนท่าทุก 15 นาทีสำหรับท่านั่งและ2 ชั่วโมงในท่านอน ปรับเตียงให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งกันจนเกิดแผลกดทับ
• ทำแผนภูมิ รูปอธิบายอย่างชัดเจน เป็น “นาฬิกาพลิกตัวผู้ป่วย” อีกวิธีที่หนึ่งที่จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงมีสุขภาพที่ดีขึ้นและปลอดภัยจากการเกิดแผลกดทับ เริ่มต้นด้วย 6 โมงเช้า พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางซ้าย จากนั้น 8 โมงเช้า พลิกผู้ป่วยนอนหงาย เมื่อถึงเวลา 10 โมงเช้า พลิกกลับมาตะแคงขวา เที่ยงวัน เปลี่ยนอิริยาบถ แล้วให้ตะแคงซ้ายอีกครั้ง ฯลฯ ทำเช่นนี้สลับวนไปทุกๆ สองชั่วโมง เมื่อถึงกลางคืนเวลานอน แนะนำให้ใช้ที่นอนลมหรือแผ่นเจลรอง ลดการกดทับปุ่มกระดูก
• การทำความสะอาดผิวหนัง ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคที่มีความเสี่ยงให้เกิดแผลกดทับ ควรหมั่นตรวจผิวหนังของผู้ป่วยว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ หลังจากล้างทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ดูแลผิวสม่ำเสมอ เช่น ทาโลชั่นสำหรับผิวแห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนอย่างสม่ำเสมอ ตรวจดูกระดุมเสื้อหรือตะเข็บของผ้าปูที่นอนให้ดี เพื่อป้องกันและลดการเสียดสีผิวหนัง