ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน สมุทรปราการ

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน สมุทรปราการ

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
วาสนา ฮวดใจการ
วาสนา ฮวดใจการ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ประวัติการทำงานค่ะ

ทำงานมา 5/6 ปีค่ะ จบNa

เคสผ่านทำเคส / คนไข้เจาะคอทำแผล เฟซ suction ส่วนฉี่ ล้วงถ่าย กายภาพ และเคสคนไข้อัลไซเมอร์ ค่ะ

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ น.ส วาสนา ฮวดใจการ

ชื่อเล่น เก๋

หนัก89 สูง 165

เกิด วันอังคาร 27 เมษายน 2527

สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย

ศาสนาพุทธ สถานภาพ บุตรสาว 2 คนค่ะ

พักอาศัยอยู่

เรืองวาอพาร์ทเม้น ..

273 หมู่ 2 ต.บางจาก

อ.พระประแดง

จ.สมุทรปราการ

ปณ.10130

เก๋ - 094-3651322

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

จ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านเว็บไซต์ใส่ใจ ดูแลดีมากครับ ใส่ใจรายละเอียดมาก ๆ มีวิธีการดูแลที่ไม่ให้เกิดแผลกดทับ และยังเป็นคนซื่อสัตย์อีกด้วย
Saijai
เจนสุดา ปู่หลง
3 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
3 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
อยากได้คนดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน แต่เป็นอีกคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องการใช้โซเชี่ยลหรืออินเทอร์เน็ตในการทำอะไรแบบนี้ ญาติเลยแนะนำเว็บใส่ใจมา บอกให้ลองเปิดดู อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ดูแล้วลองศึกษาวิธีการตามดูแล้วก็ค้นพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดไว้ตอนแรกเลยค่ะ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ
Saijai
ศิศิกาญจน์ แย้มสมัย
4 ปีที่แล้ว
คุณตาของเราเพิ่งได้ออกจาก รพ หลังจากที่ต้องรักษาตัวอยู่เป็นอาทิตย์ กลับบ้านมาเป็นผู้ป่วยติดเตียง พยาบาลที่ รพ แนะนำให้หาคนดูแล ลอง Google พบเว็บใส่ใจ รู้ข้อมูลของผู้ดูแลก่อน ทำให้เราตัดสินใจได้ไม่ยาก แล้วเราก็ได้ผู้ที่มาดูแลได้ดีอย่างมืออาชีพ
Saijai
หยดเทียน เจนกิจโสภณ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอน อาการเจ็บป่วยอาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ต้องเข้าเฝือกตัว ผู้ป่วยอัมพาตที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือผู้ป่วยชราที่มีความอ่อนเพลียมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยประเภทนี้จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ในบ้านโดยมีผู้ดูแล

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าที่จะทำให้เกิดแผลกดทับได้
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลการป้อนอาหาร โดยปรับเตียงให้อยู่ในมุม 45-90 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับอาหารให้เหมาะสมกับภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ภาวะกลืนลําบากอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย เพราะมีโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟันการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene) มีส่วนสําคัญในการรักษาภาวะอาการกลืนลําบากซึ่งมักถูกมองข้าม การดูแลสุขภาพช่องปากจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสําลัก
4. ภาวะสุขภาพจิต เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่ายและความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อผ่อนคลายและลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง
อะไรคืออุปสรรคเมื่อคุณจ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงและสามารถรับมือได้อย่างไร
อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางรายอาจจะขยับร่างกายได้เป็นบางส่วนหรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัด

การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็อาจจะมีปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่มีความอดทนในการทำงานและต้องเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางท่านต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ หรืออาจมีอาการอื่น ๆร่วมด้วยเช่น ต้องสวนปัสสาวะหรืออุจจาระให้

หากผู้ดูแลไม่มีความอดทนย่อมไม่สามารถรับภาระที่มากมายและจุกจิกเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างต้องหาคนใหม่มาแทนอยู่ตลอด ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสอนงานใหม่ทั้งหมดในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้นก่อนที่จะรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาทำงานจึงควรจะทำการคุยรายละเอียดพร้อมทั้งอธิบายถึงอาการของผู้ป่วยให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต

นอกจากผู้ป่วยติดเตียงจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายแล้ว ปัญหาด้านสภาพจิตใจยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ ผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ ความเบื่อหน่ายและความทุกข์ทางด้านจิตใจ ซึ่งผู้ดูแลควรหากิจกรรมมาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ โดยผู้ว่าจ้างควรจะคัดเลือกจากจุดนี้เป็นสำคัญเช่นเดียวกัน
ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานมีต้องใช้ความรู้และความใส่ใจ การเลือกผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรเลือกบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดูแล ให้เข้ามาดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องคอยตรวจสอบอาการของคนที่คุณรัก อย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ นั้น เป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว

ญาติและครอบครัวควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วย เช่น ที่นอนลม อุปกรณ์ทำแผล เตียงสำหรับผู้ป่วย และห้องที่สามารถ เคลื่อนย้าย และดูแลผู้ป่วยได้สะดวก แผ่นซึมซับกันเปื้อน
2. ให้เวลากับการหาและคัดเลือกผู้ดูแล ถึงแม้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะเน้นเพียงทักษะการดูแลเรื่องความสะอาด ถูกต้องตามแผนการรักษา โดยเฉพาะการดูแลด้านสุขอนามัย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว สังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยว่าต้องการสิ่งใด เช่น รู้สึกเมื่อยต้องการพลิกตัว หิวน้ำหรือคันที่ผิวหนัง ต้องการทำความสะอาดแต่ทำเองไม่ได้ เป็นต้น
3. เตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงย่อมมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความชำนาญ ค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก คนในครอบครัวอาจต้องปรับเปลี่ยนตารางกันทำงานเพื่อให้ส่งเสริมและสอดคล้องกันตารางการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วย อาจเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้ลองพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและความปลอดภัยระหว่างการจ้างผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถเปลี่ยนงาน หรือออกจากงานมาดูแลผู้ป่วยเอง
4. ครอบครัวและคนรอบข้างผู้ป่วยต้องเข้าใจ เอาใจใส่ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านไปอย่างราบรื่น
ผู้ดูแลควรดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไรให้ไม่เกิดแผลกดทับ
แผลกดทับเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ต้องนอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ทำให้ผิวหนังได้รับแรงกดจากน้ำหนักตัวโดยตรง เลือด สารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงผิวหนังลดลงจนเนื้อเยื่อตาย แผลกดทับเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับมีดังนี้

1. เริ่มตั้งแต่การจัดท่าทาง หมั่นปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดแรงกดทับไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจากการนอนหรือการนั่งท่าเดิมนาน ๆ โดยการพลิกตัวปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยควรทำอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง เตียงนอนของผู้ป่วยปรับให้สูงไม่เกิน 30 องศา ในส่วนของรถเข็น ควรเลือกรถเข็นที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์ลดแรงกดทับ เสริมได้อีก เช่น เตียงลม หมอน เป็นต้น
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจำพวกโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันผิวหนังที่ถูกทำลาย และช่วยให้อาการป่วยหายดีขึ้น ผู้ป่วยบางรายที่เสี่ยงขาดสารอาหาร ควรรับประทานอาหารเสริมในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีจะช่วยให้โอกาสการเกิดแผลน้อย และแผลฟื้นตัวเร็วในกรณีที่เป็นแผลแล้ว
3. หมั่นทำความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาด และแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันความอับชื้น ทาโลชั่นเมื่อผิวแห้งและหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเกินไป เพราะจะทำให้ผิวแห้งกว่าเดิม รวมถึงการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้า ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบกระดุมเสื้อ ตะเข็บผ้าปูที่นอน เพื่อป้องกันการเสียดสี