ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน พร้าว, เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน พร้าว, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ได้คนมาทำงานแต่ส่วนมากทำได้ระยะสั้น ๆ มีคนล่าสุดนี่แหล่ะ เจอที่เว็บใส่ใจ นอกจากจะมีประสบการณ์ ขยัน อดทน แล้วยังไว้วางใจให้ดูแลบ้านได้ด้วย พี่เค้าเก่งมากเลยค่ะ
Saijai
ศิริรัตน์ รักษาการณ์
3 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
3 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
3 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
อยากได้คนดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน แต่เป็นอีกคนที่ไม่ค่อยสันทัดเรื่องการใช้โซเชี่ยลหรืออินเทอร์เน็ตในการทำอะไรแบบนี้ ญาติเลยแนะนำเว็บใส่ใจมา บอกให้ลองเปิดดู อ่านเงื่อนไขต่าง ๆ ดูแล้วลองศึกษาวิธีการตามดูแล้วก็ค้นพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิดไว้ตอนแรกเลยค่ะ เว็บไซต์ใช้งานง่ายมาก ๆ
Saijai
ศิศิกาญจน์ แย้มสมัย
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน
ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม ต้องนอนบนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม หรือผู้ประสบอุบัติเหตุรุนแรง บางรายสามารถขยับร่างกายบางส่วนได้บ้าง แต่บางรายไม่สามารถขยับอวัยวะใด ๆ ได้เลย ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากมีปัญหาเรื่อง แผลกดทับ และการขาดอาหาร ความรุนแรงอาจลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

สิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องทำในแต่ละวันได้แก่

1. สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลกดทับ ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ผู้ดูแลควรพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ2 ชั่วโมง พร้อมกับการจัดท่านอนใหม่ เช่น นอนหงายสลับนอนตะแคง และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อลดแรงกดทับเช่น ที่นอนลม ฟองน้ำ เป็นต้น ในส่วนของการทำความสะอาดผิวหนัง ไม่ควรให้เปียกชื้นจนเกินไป เพราะจะเกิดการอักเสบของแผลตามมา
2. ผู้ป่วยติดเตียงบางราย มีความผิดปกติของช่องปากและคอหอย ทำให้การกลืนอาหารเป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร ผู้ดูแลควรปรับเตียงของผู้ป่วยให้อยู่ที่ 45-90 องศา และใช้หมอนช่วยดันหลัง เพื่อง่ายต่อการทรงตัว และผู้ดูแลควรเลือกอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่สามารถเคี้ยวได้สะดวก ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารประเภทของเหลว เช่น โจ๊ก
3. ดูแลเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยรวม ทั้งระบบขับถ่าย ชำระล้างร่างกาย สังเกตสีปัสสาวะของผู้ป่วยอยู่บ่อยครั้ง เพราะสีปัสสาวะสามารถบอกโรคได้ รวมทั้งดูแลสุขภาพช่องปาก และฟัน พร้อมทั้งระวังการเกิดเชื้อราในช่องปาก นอกจากการดูแลความสะอาดของตัวผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลต้องจัดสภาพแวดล้อมห้องนอนของผู้ป่วยให้เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก
4. ดูแลเรื่องภาวะสุขภาพจิต นอกจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพของร่างกายแล้ว สุขภาพจิตก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลควรให้ความสนใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความเครียด และเบื่อหน่ายกับการทำกิจวัตรประจำวันซ้ำๆ ผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมมาทำกับผู้ป่วย เพื่อความผ่อนคลายร่วมกัน หรือขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อความเหมาะสม

อะไรคืออุปสรรคเมื่อคุณจ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงและสามารถรับมือได้อย่างไร
อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางรายอาจจะขยับร่างกายได้เป็นบางส่วนหรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัด

การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็อาจจะมีปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่มีความอดทนในการทำงานและต้องเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางท่านต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ หรืออาจมีอาการอื่น ๆร่วมด้วยเช่น ต้องสวนปัสสาวะหรืออุจจาระให้

หากผู้ดูแลไม่มีความอดทนย่อมไม่สามารถรับภาระที่มากมายและจุกจิกเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างต้องหาคนใหม่มาแทนอยู่ตลอด ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสอนงานใหม่ทั้งหมดในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้นก่อนที่จะรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาทำงานจึงควรจะทำการคุยรายละเอียดพร้อมทั้งอธิบายถึงอาการของผู้ป่วยให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต

นอกจากผู้ป่วยติดเตียงจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายแล้ว ปัญหาด้านสภาพจิตใจยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ ผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ ความเบื่อหน่ายและความทุกข์ทางด้านจิตใจ ซึ่งผู้ดูแลควรหากิจกรรมมาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ โดยผู้ว่าจ้างควรจะคัดเลือกจากจุดนี้เป็นสำคัญเช่นเดียวกัน
สิ่งที่ญาติควรเตรียมก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นญาติของผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ญาติผู้ป่วยควรรู้และเตรียมตัวก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพื่อเตรียมตัวในการกำหนดและจัดหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการในการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง
2. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องมั่นใจว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด เช่น เตียงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่นอนลม รถเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหนมาไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การทำแผล อุปกรณ์ทำความสะอาดผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่หายใจเองลำบาก อย่างเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
3. ความพร้อมทางด้านการเงิน อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นการดูแลในระยะยาว ดังนั้นจึงอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องวางแผนและบริหารจัดการการเงินในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. จัดเตรียมสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ครอบครัวควรจัดหาสถานที่ในบ้านที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยอยู่ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อยู่ชั้นล่างเพื่อง่ายต่อการขนย้ายผู้ป่วย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน




วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับ
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อผู้ป่วยนอนติดเตียง ได้แก่ แผลกดทับ โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ท้ายทอย ข้อศอก ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ เป็นต้น สาเหตุการเกิดแผลกดทับ คือการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เหล่านี้จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อย ๆ ระยะแรกอาจเกิดอาการลอกที่ผิว แต่พอนานเข้าก็จะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อจะมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถพลิกตัวเองได้เองจึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่จะช่วยปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงแรงกดทับจากการนอนหรือนั่งไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน

การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ