วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
จอมทองข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ปัญหาที่พบได้บ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและวิธีการแก้ไข มีดังต่อไปนี้
1. แผลกดทับ เนื่องจากขยับตัวได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่ต้องนอนกับที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดแผลกดทับตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณ ท้ายทอย ข้อศอก สะโพก ก้นกบ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการดูแลที่ดี อาการแผลกดทับเหล่านี้อาจลุกลามไปเป็นแผลติดเชื้อที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ วิธีแก้ไขคือผู้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องพลิกตัวผู้ป่วยบ่อย ๆ หรือพยายามเปลี่ยนท่านอนของผู้ป่วยอยู่เสมอ ห้ามทิ้งผู้ป่วยให้นอนในท่าเดียวซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน หมั่นทำความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น และอาจใช้อุปกรณ์เสริมในการลดแรงกดดันของกระดูก
2. ปัญหาเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยของผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยต้องนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา การทำความสะอาดร่างกายเป็นไปได้ยากและจำกัด ต้องให้ผู้ป่วยขับถ่ายด้วยกระโถนบนที่นอน บางรายต้องใช้สายสวนปัสสาวะ ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ในรายที่ใช้สายสวนปัสสาวะ ผู้ดูแลจำเป็นต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะเป็นประจำทุกสองสัปดาห์ และควรทำความสะอาดสายด้วยสบู่อ่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรทำความสะอาดร่างกาย ของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการขับถ่ายต้องรีบทำความสะอาดทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเป็นอันขาด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ สุขภาพปากและฟันสำคัญควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังมื้ออาหาร
3. ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้ป่วย สิ่งนี้นับเป็นอีกสิ่งสำคัญ เพราะผู้ป่วยติดเตียงอาจมีภาวะเครียดและอาการซึมเศร้าได้ ผู้ดูแลควรชวนพูดคุย หรืออ่านหนังสือ หรือเปิดเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบเพื่อเป็นการสร้างความผ่อนคลาย ผู้ดูแลต้องไม่แสดงอาการไม่พอใจ หงุดหงิด กับผู้ป่วยเพราะอาจกระทบต่อความรู้สึกของผู้ป่วยได้
ครอบครัวสามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเรื่องแนวทางการดูแล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้หรือไม่ได้ การดูแลรักษาความสะอาด เป็นต้น เพื่อที่จะได้กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องและครอบคลุม
2. จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เตียงที่สามารถปรับท่านอนหรือนั่งได้ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่นอนลม อาจรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ออกซิเจนชนิดถัง หรือของใช้ที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ
3. เตรียมพื้นที่หรือจัดบ้านให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วย เช่น ที่พักของผู้ป่วยควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับเตียงและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดูแล อากาศโปร่งถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง