ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน พญาไท, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน พญาไท, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน พญาไท, กรุงเทพมหานคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

Suttinee  Munin
Suttinee Munin
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

น.ส. ศุทธินี เหมือนอินทร์อายุ 22 ปี ศาสนา พุทธ เรียนจบ ผู้ช่วยพยาบาล pn เคยทำงาน opd ดูแลผู้สูงอายุ กุมารเวชกรรมที่อยู่ เจริญนคร 55 เขต คลองสาน กรุงเทพมหานครมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนง่าย ยิ้มแย้ม ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 29 ปี

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

หน้าที่หลัก ๆ ของคนเฝ้าไข้มีอะไรบ้าง
ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นเวลานานอาจไม่สะดวกที่จะต้องเข้ารับการรักษาและพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลตลอดเวลา เพราะการพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป นอกจากในกรณีที่เจ็บป่วยกะทันหันหรือต้องการตรวจรักษาจากแพทย์จริง ๆ ฉะนั้นอีกทางเลือกหนึ่งคือการให้ผู้ป่วยทำการพักฟื้นที่บ้าน พร้อมกับจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้นมาทำการดูแลอย่างใกล้ชิดนั่นเอง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้นมีดังต่อไปนี้

1. ดูแลจัดการกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนอาหาร เป็นต้น เนื่องจากผู้ดูแลได้รับการฝึกอบรมและผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง โดยจะคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยทั้งตนเอง ผู้ป่วย และสมาชิกคนอื่น ๆ ภายในบ้านเช่นกัน
2. ดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ผู้ป่วยพักพื้นบางคนอาจมีโรคที่สามารถแพร่ระบาดสู่สมาชิกภายในบ้านได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรแยกให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเดี่ยวและระวังไม่ให้สมาชิกภายในบ้านสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจนเกินไป
3. ระวังเรื่องการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ของผู้ป่วย เช่น ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และระวังเรื่องการชำระสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ กระดาษเช็ดปาก เป็นต้น ซึ่งควรทำลายโดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนทิ้งทุกครั้ง
4. หมั่นตรวจวัดชีพจรและสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ สังเกตดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ เพื่อนำไปรายงานกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
5. ช่วยผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นได้ สำหรับผู้ป่วยพักฟื้นบางคนที่ได้รับการรักษาและต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น
คนเฝ้าไข้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การพิจารณาคุณสมบัติของคนที่จะมาเฝ้าไข้ให้กับผู้ป่วยพักฟื้นนั้นเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็นเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากได้ผู้เฝ้าไข้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในด้านการพยาบาลพิเศษมาจะยิ่งดีต่อตัวผู้ป่วยเลยทีเดียว
2. ผู้เฝ้าไข้ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีใจรักในงานด้านการบริการ สามารถดูแลผู้ป่วยพักฟื้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเช็ดตัว ป้อนข้าว ป้อนยา ดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วย เป็นต้น
3. มีความสามารถในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยพักฟื้นบางรายอาจนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกินจนเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนล้า ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
4. ผู้เฝ้าไข้สามารถอยู่เป็นเพื่อนและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานจนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การมีเพื่อนคอยรับฟังปัญหาหรือชวนพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
5. สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บางครั้งผู้ป่วยพักฟื้นอาจไม่ได้แค่ต้องการนอนอยู่เฉย ๆ อย่างเดียว การทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างอ่านหนังสือ พาเดินเล่นใกล้ ๆ บริเวณห้องพักก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เช่นกัน
6. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และหมั่นสังเกตอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อคอยรายงานให้กับผู้ว่าจ้างและขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้
สิ่งที่กวนใจคุณเมื่อจำเป็นต้องจ้างคนเฝ้าไข้ แนวทางแก้ไขมีอย่างไรบ้าง
หากคุณจำเป็นต้องจ้างผู้ดูแลเพื่อมาดูแลผู้ป่วยที่กำลังอยู่ในระยะพักฟื้นที่บ้านนั้น แน่นอนว่าอาจมีสิ่งที่คอยกวนใจจนทำให้เป็นกังวลอยู่ไม่น้อย ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่ที่จะทำให้คุณต้องคอยพะวงอยู่ตลอดเวลาคือการที่ต้องคอยกังวลว่าผู้ดูแลจะมีความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัวที่คุณรักได้ดีหรือไม่นั่นเอง

แนวทางในการแก้ไขคือการเลือกพิจารณาเลือกผู้ดูแลจากคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของคุณ จึงควรพิจารณาเลือกผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมาไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือเป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจะดีที่สุด เพราะถือเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้ดูแลนั้นมีความมืออาชีพจริง ๆ และสามารถอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับผู้ป่วยแทนเราได้นั่นเอง

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัยทั้งของตัวผู้ป่วยเองและทรัพย์สินต่าง ๆ ภายในบ้าน วิธีแก้ปัญหาคือควรตรวจสอบประวัติของผู้ดูแลให้ละเอียดก่อนทำการจ้างนั่นเอง โดยสามารถตรวจสอบจากการค้นหารีวิวเพิ่มเติมจากผู้จ้างก่อนหน้านี้ ที่สำคัญต้องมั่นใจว่าผู้ดูแลที่จะจ้างมานั้นไม่เคยมีประวัติการกระทำผิดทางอาชญากรรมใด ๆ มาก่อนด้วย

อีกหนึ่งทางที่สามารถคลายกังวลให้คุณได้คือการนัดสัมภาษณ์ก่อนการจ้างงานเพื่อที่คุณจะได้ทำความรู้จักนิสัยใจคอของผู้ดูแล อีกทั้งคุณสามารถสังเกตวิธีการตอบคำถามของผู้ดูแลเพื่อประกอบการตัดสินใจของคุณได้ เพราะฉะนั้นหากคุณจะเลือกใครสักคนมาดูแลคนใกล้ชิด ควรตรวจสอบทุกอย่างให้ละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า และเพื่อคุณจะได้ผู้ดูแลที่ดีที่สุดมาดูแลคนที่คุณรัก
ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อทางใส่ใจรับดูแลหรือไม่
บน Platform ของใส่ใจมีผู้ให้บริการเฝ้าไข้ แต่ต้องขอสงวนสิทธิ์หากผู้ป่วยมีโรคติดต่อดังต่อไปนี้

1. โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 / COVID-19) โดยจะมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา
2. โรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (Smallpox) โรคนี้จะมีตุ่มขึ้นตามผิวหนัง หากตุ่มเหล่านี้แตกก็จะทำให้ติดต่อกันได้ผ่านทางระบบทางเดินหายใจและการสัมผัสทางผิวหนัง ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้ แต่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยการปลูกฝี
3. โรควัณโรค ที่มีการดื้อยา 4 ขนาน ได้แก่ ไอโซไนอะซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) กลุ่มยาฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolones) และกลุ่มยาทางเลือกที่สอง ที่เป็นยาชนิดฉีด (Second-line injectable drugs) ซึ่งหมายความว่า วัณโรคชนิดนี้จะไม่สามารถใช้ยาดังกล่าวรักษาให้หายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยมีโอกาสในการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ง่าย
4. โรคตาแดง เป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยและมักระบาดในช่วงหน้าฝน ถึงแม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สามารถติดต่อได้และต้องรีบทำการรักษา
5. โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 (โรคไข้หวัดใหญ่ 2009) เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนเริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ไปยังหลายประเทศ

ไม่เพียงแต่ 5 โรคข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ โรคติดต่อร้ายแรงที่ผู้ให้บริการต้องขอสงวนสิทธิ์ในการรับดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ดูแล