ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน บ้านแพ้ว, สมุทรสาคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ใน บ้านแพ้ว, สมุทรสาคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

Saijai
ยังไม่มีข้อมูลการรีวิว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้

หน้าที่หลัก ๆ ของคนเฝ้าไข้มีอะไรบ้าง
ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นเวลานานอาจไม่สะดวกที่จะต้องเข้ารับการรักษาและพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลตลอดเวลา เพราะการพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป นอกจากในกรณีที่เจ็บป่วยกะทันหันหรือต้องการตรวจรักษาจากแพทย์จริง ๆ ฉะนั้นอีกทางเลือกหนึ่งคือการให้ผู้ป่วยทำการพักฟื้นที่บ้าน พร้อมกับจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้นมาทำการดูแลอย่างใกล้ชิดนั่นเอง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้นมีดังต่อไปนี้

1. ดูแลจัดการกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนอาหาร เป็นต้น เนื่องจากผู้ดูแลได้รับการฝึกอบรมและผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้โดยตรง โดยจะคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยทั้งตนเอง ผู้ป่วย และสมาชิกคนอื่น ๆ ภายในบ้านเช่นกัน
2. ดูแลรักษาความสะอาดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ผู้ป่วยพักพื้นบางคนอาจมีโรคที่สามารถแพร่ระบาดสู่สมาชิกภายในบ้านได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรแยกให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องเดี่ยวและระวังไม่ให้สมาชิกภายในบ้านสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจนเกินไป
3. ระวังเรื่องการทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ของผู้ป่วย เช่น ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และระวังเรื่องการชำระสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ กระดาษเช็ดปาก เป็นต้น ซึ่งควรทำลายโดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนทิ้งทุกครั้ง
4. หมั่นตรวจวัดชีพจรและสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ สังเกตดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรือไม่ เพื่อนำไปรายงานกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
5. ช่วยผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นได้ สำหรับผู้ป่วยพักฟื้นบางคนที่ได้รับการรักษาและต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายมากขึ้น
คนเฝ้าไข้ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การพิจารณาคุณสมบัติของคนที่จะมาเฝ้าไข้ให้กับผู้ป่วยพักฟื้นนั้นเป็นอีกสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ที่จำเป็นเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้ผู้ป่วยต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น และมีความเชี่ยวชาญด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน หากได้ผู้เฝ้าไข้ที่เคยผ่านการฝึกอบรมในด้านการพยาบาลพิเศษมาจะยิ่งดีต่อตัวผู้ป่วยเลยทีเดียว
2. ผู้เฝ้าไข้ต้องเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีใจรักในงานด้านการบริการ สามารถดูแลผู้ป่วยพักฟื้นได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การเช็ดตัว ป้อนข้าว ป้อนยา ดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วย เป็นต้น
3. มีความสามารถในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยพักฟื้นบางรายอาจนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกินจนเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนล้า ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน
4. ผู้เฝ้าไข้สามารถอยู่เป็นเพื่อนและพูดคุยกับผู้ป่วยได้ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลารักษานานจนอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการเครียดหรือภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้น การมีเพื่อนคอยรับฟังปัญหาหรือชวนพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันจะช่วยลดอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยได้
5. สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกันกับผู้ป่วยได้ตลอดเวลา บางครั้งผู้ป่วยพักฟื้นอาจไม่ได้แค่ต้องการนอนอยู่เฉย ๆ อย่างเดียว การทำกิจกรรมง่าย ๆ อย่างอ่านหนังสือ พาเดินเล่นใกล้ ๆ บริเวณห้องพักก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เช่นกัน
6. ผู้ดูแลหรือคนเฝ้าไข้จำเป็นต้องมีความรอบคอบ และหมั่นสังเกตอาการในแต่ละวันของผู้ป่วย เพื่อคอยรายงานให้กับผู้ว่าจ้างและขอคำปรึกษาจากแพทย์ต่อไป
ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นเลยก็ว่าได้
สิ่งที่ทำให้เราเป็นกังวลเมื่อต้องใช้บริการคนเฝ้าไข้ และเราจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อคลายความกังวลนั้น ๆ
เมื่อมีผู้ป่วยในครอบครัว หรือผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวเพียงลำพังเกิดเจ็บป่วย จนไม่สามารถดูแลตนเองได้และคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดไม่สามารถดูแลได้เนื่องจากต้องทำงาน การปล่อยให้ผู้ป่วยต้องอยู่ตามลำพังถือเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เพราะอาจเกิดเหตุไม่คาดคิดหรืออาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แล้วไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันเวลา จึงจำเป็นต้องใช้บริการคนเฝ้าไข้เพื่อให้คอยดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย

แต่ญาติผู้ป่วยอาจยังมีความกังวลใจว่าผู้ดูแลอาจไม่ทำหน้าที่อย่างเต็มที่หรือดูแลผู้ป่วยได้ไม่ถูกวิธี เพราะผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ภาระส่วนจึงไปตกอยู่ที่คนเฝ้าไข้ จนทำให้คนเฝ้าไข้ไม่ค่อยใส่ใจผู้ป่วย หรือผู้เฝ้าไข้อำนวยแค่ความสะดวกทางร่างกายให้เพียงอย่างเดียว ไม่ได้พยายามทำให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งทางญาติสามารถมีวิธีลดความกังวลได้โดยหาคนเฝ้าไข้ที่มีประวัติการทำงานที่ดี อาจสอบถามจากผู้ที่เคยใช้บริการ การหาผู้ให้บริการจากสื่อออนไลน์เป็นอีกวิธีที่เราจะสามารถหาข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับประสบการณ์และความพีงพอใจจากลูกค้ารายก่อน ๆ (รีวิว) ถ้าผู้ให้บริการผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมมาแล้วจะทำให้ผู้ว่าจ้างสบายใจได้ว่า คนเฝ้าไข้ไม่เคยมีประวัติทำผิดกฏหมาย ประวัติการอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับหน้าที่ผู้ดูแลป่วยเป็นอีกอย่างที่ทำให้ครอบครัวผู้ป่วยวางใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดี
ผู้ป่วยด้วยโรคประเภทใดที่ผู้ให้บริการบน Platform ของใส่ใจไม่รับดูแล
บน Platform ของใส่ใจ มีผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการป่วยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดรวมไปถึงการดูแลเรื่องการช่วยทำกิจวัตรและอาหารการกินที่จัดเตรียมและปฏิบัติความคำแนะนำของแพทย์หรือความต้องการของตัวผู้จ้างอย่างเคร่งครัด ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอาการเสี่ยงหรือมีอาการเป็นโรคติดต่อที่เสี่ยงมีอันตรายถึงแก่ชีวิต ดังต่อไปนี้

1. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นตระกูลของไวรัสที่ก่อให้อาการป่วยตั้งแต่โรคไข้หวัดธรรมดาไปจนถึงโรคที่มีความรุนแรงมาก เช่น โรคระบบทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS-CoV) เป็นต้น
2. โรคไข้ทรพิษ ไข้ทรพิษหรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” และไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”
3. โรควัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายชนิด เชื้อที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาในประเทศไทย คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดที่ปอดพบร้อยละ 80 ส่วนวัณโรคนอกปอดเป็นผลมาจากการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้แก่ เยื่อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยขอสงวนสิทธิ์ในการดูแลโรคข้างต้น รวมไปถึงโรคติดต่ออันตราย ทั้ง 12 โรคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 คือ กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก ไข้เวสต์ไนล์ ไข้เหลือง ไข้ลาสซา โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส)อีกด้วย