ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน สงขลา

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน สงขลา

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ใน สงขลา:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

มาปุ๊ปทำงานเป็นปั๊บ ตั้งแต่เตรียมอาหาร เตรียมยา เช็ดตัวคุณตา เปลี่ยน เสื้อผ้าแผ่นรองอนามัย ทำงานได้สะอาดมาก จัดเก็บเรียบร้อย พอคุณตาหลับก็ช่วยเก็บกวาด เตรียมงานรอบบ่ายต่อ งานดีมากเลยมาบอกต่อ
Saijai
ฐิตตา วันมหาชัย
4 ปีที่แล้ว
เว็ปไซต์ใส่ใจใช้งานง่ายค่ะ ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาคนดูแล การนัดสัมภาษณ์ ทดลองงาน เลยทำให้ได้ผู้ดูแลคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการเลย ไม่ผิดหวังเลยค่ะ
Saijai
วิลาวัลย์ ชำนาญยิ่ง
4 ปีที่แล้ว
ขอชื่นชมป้านิด ดูแลคุณตาเป็นอย่างดี คุณตาเป็นผู้ป่วยติดเตียงค่ะ หาคนมาดูแลยากมาก ๆ เพราะต้องช่วยวัดไข้ วัดความดัน เช็ดตัวและทำความสะอาดห้องนอนให้ท่านด้วย ได้ป้าเค้ามาเราอุ่นใจและสบายใจขึ้นมากเลยค่ะ
Saijai
สุนทรีย์ แสงนวล
4 ปีที่แล้ว
ขอบคุณเว็บใส่ใจจริง ๆ ค่ะ ใช้งานง่าย มีคยให้เลือกเยอะเลย
Saijai
วรรณี ศรีสุตโต
4 ปีที่แล้ว
น้องดูแลได้ดีมากค่ะ มีความรู้เกี่ยวกับอาการและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องฟอกปอดดีมากค่ะ แถมสุภาพมาก ๆ คุณพ่อเองก็ยังอยากให้จ้างต่อเป็นผู้ดูแลประจำ
Saijai
ภารดี ไตรภพ
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง
การใช้บริการดูแลผู้สูงอายุแบบชั่วคราวนั้นอาจเกิดมาจากหลาก ๆ สาเหตุไม่ว่าจะเป็นการรับช่วงดูแลผู้สูงอายุต่อจากผู้ดูแลประจำเป็นระยะเวลาชั่วคราว หรือการได้รับติดต่อเพื่อให้ไปดูแลผู้สูงอายุ ยามที่บุคคลในครอบครัวไม่สามารถมีเวลามาดูแลผู้สูงอายุเองได้ รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุที่เข้ามาทำการพักฟื้นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต ณ สถานที่พักหรือสถานที่บำบัดก็ตาม ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1. การรับช่วงดูแลผู้สูงอายุต่อจากผู้ดูแลคนก่อนหน้าหรือครอบครัว ซึ่งหน้าที่นี้เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดเพราะการรับช่วงต่อหรือการเข้าไปดูแลผู้สูงอายุนั้น ต้องมีการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลของผู้นั้นเป็นอย่างดีก่อน เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุเกิดความไม่คุ้นเคย หรือต้องปรับตัวกับผู้ดูแลคนใหม่
2. การดูแลเรื่อง อาการเจ็บป่วยหรืออาการทางจิต ในกรณีที่ผู้สูงอายุคนนั้นเป็นผู้สูงอายุที่ป่วย และเข้ามาทำการพักฟื้นชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุให้รับประทานอาหารและยาตรงตามเวลา หรือ การทำกายภาพบำบัดต่างๆ ให้แก่ผู้สูงอายุ
3. การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากผู้สูงอายุบางท่านอาจมีปัญหาด้านสุขภาพหนัก จากการแก่ตัวของอายุ ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรหลายๆ อย่างได้ด้วยตนเอง ผู้ดูแลชั่วคราวจึงมีหน้าที่เรียนรู้และศึกษากิจวัตรของผู้สูงอายุบุคคลนั้นๆ เพื่อเข้าไปช่วยเหลือในกิจวัตรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนชุดชั้นใน แพมเพิร์ส และรวมถึงการนอน
4. การดูแลเรื่องอาหารการกิน ผู้สูงอายุบางท่านอาจรับประทานอาหารไม่เหมือนกันและร่างกายก็ยังต้องการสารอาหารเป็นพิเศษที่ต่างกันในแต่ละคน ทำการดูแลเรื่องอาหารการกินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
5. การคอยพูดคุยเพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงาและสร้างกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่ต้องมีคนดูแลนั้นมาจากสาเหตุหลักๆ เลยคือครอบครัวไม่มีเวลาให้ หรือถูกทอดทิ้งทำให้บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุเกิดความน้อยใจและตัดพ้อคิดสั้น การคอยอยู่ข้างๆ และพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันจึงเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวควรมีประสบการณ์หรือไม่ และเราสามารถไว้ใจผู้สูงอายุชั่วคราวได้หรือไม่
คำโบราณกล่าวไว้ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย มีอยู่ในแทบทุก ๆ การตัดสินใจ การเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกัน จริงอยู่ที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวที่ไม่มีประสบการณ์หรือประสบการณ์น้อย จะมีอัตราค่าจ้างที่ไม่แพง เราอาจคิดว่านี่คืองานง่าย ๆ แค่มานั่งคุยทานข้าวกับผู้สูงอายุก็หมดไปแล้วหนึ่งวัน แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้จะเป็นการดูแลแค่ชั่วคราว แต่ผู้ดูแลต้องมีความตื่นตัวและคอยระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะผู้สูงอายุหลายคนยังคงคิดว่า ตัวเองยังแข็งแรงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนอื่น เดินได้สะดวก ทำงานบ้านได้ แต่ความจริงด้วยอายุที่มากขึ้น กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงลง สายตาที่ฝ้าฟาง ด้วยการตัดสินใจที่ลังเล ทั้งหมดนำมาซึ่งอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ดังนั้นเราจึงต้องมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ (Technical skill) ดูแลพยุงเข้าห้องน้ำ อาบน้ำหรือเช็ดตัว ทำกายภาพบำบัด ดูแลเรื่องอาหาร จัดยา ตามอาการ เปลี่ยนเสื้อผ้า เฝ้าสังเกตสิ่งผิดปรกติ ทัศนคติและบุคลิก (Personality & Attitude) คอยเป็นเพื่อนพูดคุยกับผู้สูงอายุ ชวนให้คิดเชิงบวก คลายความกังวล ให้มีความภูมิใจในตัวเอง สำคัญต้องมีจิตบริการ ไม่รำคาญ แม้บางครั้งอาจต้องทำงานใต้ความกดดัน สามารถตรวจประวัติอาชญากรรมได้ (Criminal Background Check) เนื่องจากผู้ว่าจ้างกำลังเลือกและอนุญาตให้คนแปลกหน้าเข้าไปดูแลคนที่เรารัก ดังนั้นเราต้องมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยและใส่ใจขั้นตอนนี้และให้ความสำคัญเช่นกัน ดังนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นผู้ความรู้ความเข้าใจ และมีจิตบริการ สามารถปฏิบัติดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่นลูกหลานคนหนึ่ง
ค่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวครั้งละเท่าไหร่
วัยที่สูงขึ้นผู้สูงอายุของทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุทุกคนต้องการความรักความเอาใจใส่จากคนใกล้ชิด คนในครอบครัวโดยเฉพาะลูกหลานควรให้เวลาดูแลเพื่อให้ท่านไม่รู้สึกเหงาและซึมเศร้า แต่ด้วยสภาพสังคมในปัจจุบันที่คนส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทำให้ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเอง เลยต้องจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยอัตราค่าจ้างผู้ดูแลจะแตกต่างกันไปตามความรู้และประสบการณ์ สำหรับอัตราค่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราวโดยทั่วไป สำหรับพยาบาลวิชาชีพมีอัตราค่าจ้างอยู่ที่ประมาณ 1,600 – 2,500 บาท ต่อเวร เวรของพยาบาล นับเป็น เช้า บ่าย ดึก เวรละ 8 ชั่วโมง 8.00-16.00., 16.00-24.00, 24.00-8.00. ส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่ใช่พยาบาล แต่ผ่านการอบรมมีวุฒิบัตรรับรอง อัตราค่าจ้างสำหรับไป-กลับ ใช้เวลาทำงานประมาณ 12 ชั่วโมง จะอยู่ที่ วันละ 1,200-1,600 บาท (อัตราจ้างในกรุงเทพและต่างจังหวัดอาจมีราคาแตกต่างกัน) ซึ่งผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้สูงอายุ มีความเข้าใจและมีจิตบริการ สามารถมาช่วยดูแลผู้สูงอายุได้ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง เช่น ดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ เช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การเคลื่อนย้าย การขับถ่าย ให้ถูกสุขลักษณะ อาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า พูดคุยกับผู้สูงอายุ ให้ท่านเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่คุ้นเคย เป็นต้น อีกทั้งดูแลทางการแพทย์เบื้องต้น เช่น จัดยา ป้อนอาหาร ดูดเสมหะ พลิกตะแคงตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ นวดหรือทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น ตามความจำเป็นของผู้สูงอายุแต่ละท่าน
อุปกรณ์และของใช้จำเป็นที่ควรจัดเตรียมไว้ในการดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง
ผู้สูงอายุแต่ละท่านมีปัญหาเรื่องสุขภาพที่แตกต่างกันไป อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่จำเป็นต้องใช้จึงแตกต่างกันไปด้วย ครอบครัวต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความสะดวกสบายและปลอดภัยที่สุด

เราควรจัดเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้างในการดูแลผู้สูงอายุ

1. เก้าอี้รถเข็นที่ออกแบบมาเพื่อผู้สูงอายุ ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเดินเองได้สะดวก เนื่องจากโรคประจำตัว หรือจากการผ่าตัดรักษา การใช้เก้าอี้รถเข็นจะทำให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุได้สะดวกยิ่งขึ้น
2. อุปกรณ์ช่วยเดิน สำหรับผู้สูงอายุที่หัดเดิน หรือเดินเองไม่สะดวก หรือใช้ไม้เท้าช่วยพยุงในการเดิน
3. อุปกรณ์ในห้องนอน เริ่มจากเตียงที่สามารถปรับระดับได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความลำบากในการลุกขึ้นนั่งด้วยตัวเอง บันไดขึ้นเตียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถขึ้น-ลงเตียงได้สะดวก ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ โต๊ะคร่อมเตียง จะช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น กระโถนรองการขับถ่าย กระบอกปัสสาวะ สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินไปขับถ่ายในห้องน้ำได้ แผ่นรองซึมซับเพื่อความสะดวกของผู้ดูแลที่ไม่ต้องเก็บเครื่องนอนซักใหม่ทุกวัน และทิชชูหรือสำลีม้วน ใช้เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่าง ๆ
4. ของใช้ส่วนตัว เสื้อผ้า ชุดชั้นใน ผ้าขนหนู สำหรับบางท่านอาจจะต้องใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ ซึ่งการเลือกใช้ก็แตกต่างกันไปตามความจำเป็น ซึ่งจะมีทั้งสำหรับผู้สูงอายุที่ยังสามารถช่วยตัวเองอีก และสำหรับผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง
5. ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ ยาประจำตัวของผู้สูงอายุ ยาดมและยาหม่องเพราะผู้สูงอายุบางท่านร่างกายไม่แข็งแรง อาจเป็นลมได้ง่าย หากเริ่มมีอาการสามารถใช้ยาดมบรรเทาได้ ปรอทวัดไข้ เพื่อวัดอุณหภูมิว่าปกติหรือไม่ เพราะผู้สูงอายุบางท่านที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการไข้ร่วมด้วย จะทำให้อาการทรุดลงไปอีก