ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน พร้าว, เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน พร้าว, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน พร้าว, เชียงใหม่:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

สามีเป็นคนอเมริกัน ให้ดิฉันช่วยหาคนมาดูแลคุณพ่อของเค้าที่เป็นอัมพฤกษ์ มีภาวะแขนขาอ่อนแรง แต่ยังพอใช้งานได้ ซึ่งปกติคนดูแลที่เชี่ยวชาญด้านนี้ก็หายากอยู่แล้ว ยิ่งเป็นคนดูแลแบบที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้อีก ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่ โชคดีที่มาเจอเว็บใส่ใจ มีข้อมูลพร้อม
Saijai
ดรุณี เชอร์แมน
4 ปีที่แล้ว
We have had extremely good services from them. Thank you for providing such a quality services for my mom.
Saijai
Peter H. Jones
4 ปีที่แล้ว
วันก่อนลองสอบถามญาติ ๆ ดูว่าพอจะรู้จักใครที่พูดภาษาอังกฤษได้บ้างมั้ยเพราะต้องการให้มาดูแลแม่สามีที่เป็นชาวแคนาดา ญาติส่งลิงก์ของเว็บใส่ใจมาให้ดูค่ะ ตัวเว็บบอกข้อมูลค่อนข้างละเอียดเลย อยากได้บริการแบบไหนก็แค่กรอก ๆ ข้อมูลและความต้องการเพิ่มเติมเอา รอไม่นานทางเว็บก็ติดต่อกลับมาแล้วค่ะ ประทับใจมาก
Saijai
อังคณา แมกซ์เวิร์ธ
4 ปีที่แล้ว
แต่งงานกับแฟนชาวต่างชาติ ครอบครัวเขาย้ายมาทำธุรกิจที่เมืองไทย มีคุณตามาด้วย เราทุกคนมีงานยุ่งกันหมด ที่นี่ไม่มีบ้านพักคนชราแบบเมืองนอกที่ให้คุณตาไปอยู่ได้ จึงมองหาคนดูแลแบบ 2 ภาษามาดูแลที่บ้าน ตอนแรกเราคิดว่าจะราคาสูง แต่พอติดต่อพูดคุยตกลงกันแล้วได้ราคาที่เรารับได้ ไม่แพงจนเกินไป ลงตัวค่ะ ชอบเว็บนี้จริงๆ ใส่ใจช่วยเราได้ค่ะ
Saijai
สุกัญญา อากีเลล่า
4 ปีที่แล้ว
I got the bilingual senior care for my dad with perfect process, perfect service, and perfect price. Thank you so much.
Saijai
Christina Yang
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

ความจำเป็นที่ต้องจ้างผู้ดูแลสองภาษาเพื่อดูแลผู้สูงอายุต่างชาติคืออะไร
สิ่งที่ส่งผลให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุเติบโตได้ดี ส่วนหนึ่งมาจากสภาพสังคมปัจจุบันที่คนวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้านทำให้ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยตนเอง รวมถึงความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุในประเทศไทยไม่ได้มีเพียงแค่คนไทยเท่านั้น แต่ยังมีผู้สูงอายุต่างชาติที่เข้ามาใช้ชีวิตหลังเกษียณหรือเป็นผู้ที่มาอาศัยอยู่ในไทยอีกด้วย จึงต้องมีการจ้างผู้ดูแลสองภาษาเพื่อดูแลผู้สูงอายุต่างชาติ ด้วยเหตุผลดังนี้

1. การสื่อสาร ความจำเป็นหลักในการจ้างผู้ดูแลสองภาษา คือเพื่อดูแลผู้สูงอายุต่างชาติ เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร ผู้ดูแลจะได้รู้ว่าผู้สูงอายุต้องการอะไรหรือมีอาการเจ็บป่วยตรงไหน เพื่อจะได้ตอบสนองให้ตรงจุด เพราะหากมีการสื่อสารผิดพลาด อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและป็นอันตรายต่อตัวผู้สูงอายุได้ ผู้ดูแลที่มีทักษะในการสื่อสารดี จะทำให้สามารถเข้าใจผู้สูงอายุได้มากขึ้นอีกด้วย
2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ หากผู้ดูแลสามารถพูดภาษาเดียวกับผู้สูงอายุได้ จะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบายใจและไว้ใจผู้ดูแลมากขึ้น เพราะการจ้างผู้ดูแลให้อยู่กับผู้สูงอายุเพียงลำพัง หากไม่สามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ จะทำให้ทั้งผู้ดูแลและผู้สูงอายุรู้สึกอึดอัด การจ้างผู้ดูแลสองภาษายังช่วยให้การทำกิจกรรม ต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น เช่น การพาผู้สูงอายุออกไปเดินเล่น ผ่อนคลาย รวมถึงการพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ ผู้ดูแลจะสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อสารได้
3. สร้างความมั่นใจให้กับครอบครัวของผู้สูงอายุและตัวของผู้สูงอายุ การจ้างผู้ดูแลสองภาษา ทำให้มั่นใจได้ว่า ผู้ดูแลจะสามารถดูแลผู้สูงอายุได้เต็มที่ คอยอยู่คุยเป็นเพื่อนผู้สูงอายุได้ การดูแลก็เป็นไปอย่างปลอดภัย และสามารถเป็นทางเลือกให้กับญาติผู้สูงอายุ หรือตัวผู้สูงอายุเองในการจ้างผู้ดูแลได้อีกด้วย

ต้องรู้อะไรบ้างเมื่ออยากจ้างคนต่างด้าวมาดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ส่วนมากมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึงวัยกลางคน

หากต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเป็นชาวต่างด้าว เราควรมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

1. ตรวจสอบประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ อายุ ภูมิลำเนาเดิม รวมถึงโรคประจำตัว เพราะย่อมมีผลกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย อีกทั้งควรตรวจสอบว่าไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสีย ไม่เป็นผู้วิกลจริตไม่สมประกอบ ไม่ติดสารเสพติดทุกชนิด โดยอาจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างคนเก่าและสอบถามสาเหตุของการออกจากที่ทำงานเดิมด้วย
2. ผู้ดูแลคนสูงอายุต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสุขภาพและมีการทำใบอนุญาตทำงาน (work permit) ให้ถูกต้อง
3. สังเกตบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการสัมภาษณ์ โดยลองถามคำถามที่จะประเมินว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีใจรักงานบริการหรือมีความอดทนมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ที่เอามายกเป็นตัวอย่าง
4. แจ้งรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจน ตกลงเรื่องเงินเดือนและหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น เกี่ยวกับเรื่องวันหยุดพักผ่อนและสวัสดิการที่มีให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับเข้าทำงานแล้ว
5. อธิบายข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบในบ้าน ว่ามีกฎข้อบังคับใดๆ ภายในบ้านหรือไม่ เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันและหลีกเลี่ยงปัญหาหากต้องเข้ามาทำงานและอยู่ในบ้านร่วมกัน
จ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวไทยที่มีทักษะภาษาอังกฤษจะถูกกว่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุต่างสัญชาติอื่น เช่น สัญชาติฟิลิปปินส์ หรือพม่า หรือไม่
หลายคนอาจกำลังตัดสินใจเลือกระหว่างการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุคนไทยหรือชาวต่างด้าว แบบใดจะดีกว่ากัน มีค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกันอย่างไร ใส่ใจมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน ดังนั้นหลาย ๆ คนจึงสนใจที่จะจ้างผู้ดูแลที่เป็นชาวต่างด้าว เช่น ชาวฟิลิปปินส์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายแทบจะไม่แตกต่างกับการจ้างผู้ดูแลคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษ แต่ชาวฟิลิปปินส์จะมีสำเนียงภาษาอังกฤษและพื้นฐานของภาษาอังกฤษค่อนข้างดีกว่าคนไทยเพราะได้ทำการฝึกฝนภาษาตั้งแต่เด็ก ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า นอกจากนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวฟิลิปปินส์มักที่จะมีประวัติทางการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ดี ทั้งยังผ่านการฝึกอบรมทำให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่การจ้างผู้ดูแลเป็นคนต่างด้าวที่มีค่าจ้างถูกกว่าคนไทยนั้น ตัวนายจ้างต้องทราบด้วยว่าอาจจะมีขั้นตอนการจ้างงานที่ยุ่งยากกว่าการจ้างคนไทยและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้ เพราะหากจ้างชาวต่างด้าวมาทำงาน ต้องขอใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว โดยได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (วีซ่า Non-Immigrant-B) โดยสามารถติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับวีซ่า Non-Immigrant-B แล้วให้ติดต่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน(Work permit) ณ สำนักงานของกรมการจัดหางาน ดังนั้นหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว นายจ้างควรทำการศึกษาข้อมูลในส่วนนี้โดยละเอียดถึงค่าใช้จ่ายจริงที่ต้องใช้
บนแพลตฟอร์มของใส่ใจมีผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ หรือไม่
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวและการบริการทางการแพทย์ ทำให้ในแต่ละปีมีชาวต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางเข้ามาประเทศไทย เพื่อท่องเที่ยว ทำงาน พักผ่อน และอยู่อาศัยหลังเกษียณ ใส่ใจเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารภาษาอังกฤษและเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการที่มองหาตัวเลือกของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ จึงบรรจุภาษาอังกฤษเป็นหนึ่งในทักษะทางภาษาที่ผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุบนแพลตฟอร์มของใส่ใจสามารถระบุลงให้คุณสมบัติของตนเอง ทำให้ผู้ใช้บริการคัดกรองและเข้าถึงข้อมูลของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ได้ง่ายและรวดเร็ว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใส่ใจมีผู้ให้บริการบนแพลตฟอร์มให้คุณได้เลือกคนที่ตรงใจคุณที่สุด