พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน คลองสาน, กรุงเทพมหานคร

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน คลองสาน, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน คลองสาน, กรุงเทพมหานคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

เกียรติศักดิ์ ศรีชาย
เกียรติศักดิ์ ศรีชาย
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
Saijai อายุ 26 ปี
อารยา หนูทอง
อารยา หนูทอง
Saijai อายุ 24 ปี

เคยมีประสบการณ์ทำงานเเม่บ้านมาก่อน สามารถทำความสะอาดได้ โดยส่วนตัวเป็นคนใจเย็นกับสถานการณ์ต่างๆพร้อมรับมือ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

จ้างคนดูแลสัตว์เลี้ยงให้มาดูแลสุนัข 3 ตัว เค้าบริการดีทุกขั้นตอน ให้อาหารให้น้ำ พาน้องไปถ่าย ไปวิ่งเล่นตรงเวลาตลอดเลย กลับบ้านมาน้องดูร่าเริงมาก ประทับใจมากค่ะ
Saijai
ณรงค์เดช อชิวารักษ์
4 ปีที่แล้ว
พี่เลี้ยงจะใส่ใจดูแลน้องอย่างเต็มที่ วันไปรับน้องมีความสุขกระโดดหาเหมือนเดิม
Saijai
ปลายดาว ธวัชพลังกร
4 ปีที่แล้ว
ที่บ้านมีแมว 9 ตัว เวลาเอาไปฝากตามโรงแรมแมว ค่าใช้จ่ายสูงมาก แถมแมวก็เครียด ไม่กิน ไม่นอน อารมย์หงุดหงิดมาก เวลาพากลับมาที่บ้าน ตอนนี้ได้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมาดูแลให้ที่บ้าน นอกจากแมวเราไม่เครียดแล้ว ราคายังถูกกว่าอีกด้วย เปลี่ยนใจมาใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบยาว ๆ เลยค่ะ
Saijai
วิลาศิณี ตรีศรีดา
4 ปีที่แล้ว
ประทับใจที่ดูแลน้องดี สะอาด มีของเล่น เล่นกับน้อง
Saijai
สุภัสสรา รัศมีงาม
4 ปีที่แล้ว
มีน้องหมาอยู่หลายตัว ปัญหาคือเวลาจะเดินทางไปต่างจังหวัดบางครั้งตัดสินใจใกล้วันเดินทางแต่โรงแรมน้องหมาดันเต็ม แย่เลยค่ะ อดเที่ยว แต่ตอนนี้โชคดีที่มาเจอเว็บใส่ใจ ไม่ต้องพาน้องหมาไปฝากที่โรงแรมเพราะให้พี่เลี้ยงที่ได้จากเว็บใส่ใจมาดูแลเค้าที่บ้าน เว็บใช้งานง่าย เราอ่านจากรีวิวของเว็บแล้วตัดสินใจใช้บริการเลย ดีจริง ๆ ค่ะ
Saijai
มณธิชา วัฒนา
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง

บทบาทของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงคืออะไร
หน้าที่ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีอะไรบ้าง

1. ดูแลกิจวัตรและคอยอยู่เป็นเพื่อนกับสัตว์เลี้ยง เมื่อคุณไม่สามารถอยู่ดูแลสัตว์เลี้ยงของตนเองได้ ซึ่งส่วนมากการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์นั้นอาจแบ่งได้เป็น2 กรณี
1) กรณีที่สัตว์เลี้ยงมีอาการป่วยหรืออาการผิดปกติที่ต้องคอยสังเกตการณ์ และเจ้าของไม่สามารถดูแลได้
2) การต้องเดินทางไปยังสถานที่อื่นเป็นเวลาหลายวันและไม่สามารถปล่อยให้สัตว์เลี้ยงต้องอยู่ภายในที่พักอาศัยเป็นเวลานานได้
2. ดูแลกิจวัตรประจำวันโดยรวมทุกอย่าง การพาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกัน จะเป็นการสร้างความคุ้นชิน และความผูกพันกับพี่เลี้ยงได้ดีขึ้น ในขณะเจ้าของไม่อยู่
3. ดูแลเรื่องอาหารการกินให้แกสัตว์เลี้ยง จัดเตรียมอาหารให้สัตว์เลี้ยงแต่ละมื้อ พร้อมทั้งดูแลเรื่องการขับถ่าย จัดเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อม โดยส่วนใหญ่หากสัตว์เลี้ยงเป็นสุนัข จะขับถ่ายหลังการรับประทานอาหารประมาณ15นาที เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ พี่เลี้ยงควรประมาณเวลาไว้ แล้วพาสุนัขไปยังสถานที่ขับถ่าย
4. ให้ความรัก ดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยง ในกรณีที่เจ้าของไม่อยู่หลายวัน การปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ตามลำพัง อาจก่อให้เกิดอาการซึมได้ เพราะสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของอย่างเต็มที่ เมื่อเจ้าของไม่อยู่สัตว์เหล่านั้นจะรู้สึกขาดหาย พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงสามารถเข้ามาเติมเต็มส่วนตรงนี้ได้
5. สังเกตอาการและพฤติกรรมโดยรวมของสัตว์เลี้ยง เพราะบางตัวไม่สามารถปรับตัวได้หากต้องอยู่กับคนแปลกหน้า หรือในสถานที่ ที่ไม่คุ้นเคย พี่เลี้ยงจึงต้องหมั่นสังเกตและปรับให้ดีขึ้น เช่นหากสัตว์เลี้ยงมีอาการซึม ควรหากิจกรรมต่าง ๆ ทำ เช่น เดินเล่น ทั้งนี้ก็ต้องรายงานให้เจ้าของรู้ถึงพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแต่ละวันด้วย

ดังนั้นหากคุณมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางไปยังต่างจังหวัด หรือ ไม่สามารถอยู่ดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณได้ ลองเลือกใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์ของเว็บไซต์ใส่ใจดูสิ คุณจะประทับใจแน่นอน และขณะนี้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงของเราพร้อมแล้วที่จะให้บริการคุณ
พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้ใจได้หรือไม่
เมื่อคุณไม่สามารถหาเวลาว่างมาเล่นกับสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณได้ การใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่จ้างมานั้นจะมีความน่าเชื่อถือมากพอ

ใส่ใจมีคำแนะนำในการพิจารณาเลือกพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่จะทำให้คุณสามารถไว้วางใจที่จะฝากสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณไว้กับพี่เลี้ยงได้

1. พิจารณาประวัติและข้อมูลส่วนตัวของพี่เลี้ยงให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนทำการจ้าง หรือตรวจสอบประวัติการทำงานของพี่เลี้ยงจากผู้ใช้บริการคนอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ว่ามีความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหน เพื่อประเมินถึงความสามารถและความน่าเชื่อถือในการดูแลสัตว์เลี้ยงให้กับคุณ
2. นัดวันและเวลาเพื่อพูดคุยสัมภาษณ์พี่เลี้ยงก่อนทำการว่าจ้าง ชวนพูดคุยถึงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เพื่อดูว่าพี่เลี้ยงนั้นมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมาอย่างไร มีความสนใจมากน้อยแค่ไหน บางครั้งอาจยกตัวอย่างสถานการณ์ต่าง ๆ มา และดูว่าพี่เลี้ยงนั้นมีความคิดเห็นและวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการทดสอบว่าพี่เลี้ยงจะสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงในยามที่คุณไม่อยู่บ้านได้จริง ๆ
3. พิจารณาถึงคุณสมบัติในการดูแลสัตว์เลี้ยง ให้พิจารณาเลือกพี่เลี้ยงที่มีใจรักสัตว์อย่างแท้จริง และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูง สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหาร การพาไปอาบน้ำ หรือแม้กระทั่งมีความรับผิดชอบในการพาสัตว์เลี้ยงไปออกกำลังกาย
4. มีทักษะด้านการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ หากในกรณีที่สัตว์มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจบ่งบอกถึงอาการป่วย พี่เลี้ยงที่สังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้จะรีบแจ้งให้เจ้าของรับรู้และรีบหาวิธีการรักษาสัตว์เลี้ยงได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นหากคุณเลือกพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถไว้ใจได้ว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงที่คุณรักแน่นอนค่ะ
อัตราค่าจ้างสำหรับพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอยู่ที่เรทเท่าไหร่
หน้าที่หลัก ๆ ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็คือการดูแลและคอยอยู่เป็นเพื่อนสัตว์เลี้ยงแทนในยามที่เราไม่อยู่บ้าน คอยช่วยดูแลในเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงเช่น การให้อาหาร การขับถ่าย การออกกำลังกาย เป็นต้น

ค่าจ้างในการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. รูปแบบของการใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีทั้งพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบไปเช้าเย็นกลับ และแบบค้างคืน ซึ่งค่าจ้างสำหรับพี่เลี้ยงสัตว์แบบค้างคืนนั้นจะแพงกว่าค่าจ้างแบบไปเช้าเย็นกลับ เพราะพี่เลี้ยงสัตว์ต้องคอยอยู่ดูแลสัตว์เลี้ยงตลอดทั้งวันทั้งคืนนั่นเอง
2. ประเภทของสัตว์เลี้ยง ความยากง่ายในการดูแลสัตว์แต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกัน หากเป็นสัตว์ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและมีความละเอียดอ่อนมากกว่าก็อาจทำให้ค่าจ้างนั้นแพงขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการดูแลสัตว์แปลกหายากที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและทักษะเพิ่มเติมในการดูแลมากยิ่งขึ้น
3. จำนวนของสัตว์เลี้ยง หากต้องการให้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงดูแลสัตว์ที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งตัว ค่าจ้างในการดูแลก็อาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนของสัตว์เลี้ยงเช่นกัน
4. ขนาดและน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่อาจมีค่าจ้างที่สูงกว่าสัตว์เลี้ยงขนาดทั่วไป เพราะอาจมีระดับความยากง่ายในการควบคุมและดูแลที่แตกต่างกันนั่นเอง ค่าจ้างของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจะอยู่ที่ขั้นต่ำ 300 บาทไปจนถึงสูงสุด 2,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าจ้างที่แตกต่างกันไปก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วยเช่นกัน
วิธีการสังเกตสัตว์เลี้ยงที่เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์
ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบมากในสัตว์เลี้ยงคือ ภาวะน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ หรือโรคอ้วน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคอ้วนมาจากโภชนาการอาหารที่ผิดปกติ เกิดจากการที่เจ้าของให้สัตว์เลี้ยงรับประทานอาหารที่มากจนเกินไป หรือไม่เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์เลี้ยง และไม่ค่อยสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย บางครั้งอาจเกิดจากความเคยชินในการพบเห็น จึงทำให้ไม่รับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ผู้เลี้ยงบางคนยังมีทัศนคติผิด ๆ เกี่ยวกับน้ำหนักส่วนเกินของสุนัข โดยเฉพาะเวลาเห็นสุนัขอ้วนแล้วบอกว่าน่ารัก ซึ่งเจ้าของส่วนใหญ่ก็มักจะต้องการให้สัตว์เลี้ยงของตนน่ารัก น่ากอด น่าซุก โดยการให้สัตว์เลี้ยงของตนกินอาหารเยอะ ๆ รวมถึงอาหารเสริมต่าง ๆ มากมาย หรือการใจอ่อนกับสัตว์เลี้ยงมากเกินไปเช่น เมื่อสัตว์เลี้ยงแสดงอาการขออาหารเพิ่ม แม้ว่าที่กินอยู่จะเยอะเกินไปแล้ว เจ้าของก็ยินยอม ความเข้าใจผิดจากหลาย ๆ สาเหตุเช่นนี้ จึงทำให้สัตว์เลี้ยงของคุณมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงควรมีการหมั่นตรวจสอบน้ำหนักสัตว์เลี้ยงอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอโดยสามารถตรวจสอบหาข้อมูลมาตรฐานน้ำหนักของสัตว์เลี้ยงตามประเภทและชนิดของสัตว์จากแหล่งข้อมูลบนเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต หรือสามารถสอบถามได้จากคุณหมอ หรือสัตวแพทย์ในสถานบริการทางการแพทย์ที่คุณใช้บริการตรวจสัตว์เลี้ยงนั้นก็ได้

หมั่นตรวจสอบสังเกตลักษณะรูปร่างและสัดส่วนของสัตว์เลี้ยงของท่านอย่างสม่ำเสมอ หากมีลักษณะสัดส่วนที่มีเนื้อหรืออ้วนจนเกินไป ในสัตว์เลี้ยงบางสายพันธุ์ลักษณะของสัตว์เลี้ยงอาจเป็นอุปสรรคในการสังเกตลักษณะ ดังนั้นเจ้าของสัตว์อาจสังเกตพฤติกรรมการเป็นอยู่ของสัตว์แทนเช่นหากสัตว์เลี้ยงขี้เกียจในการขยับเคลื่อนตัว หรือวิ่งหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่นานก็มีอาการ หอบ หรือหายใจแรง หรือมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ ก็ควรนำสัตว์เลี้ยงไปโรงพยาบาลสัตว์ต่าง ๆ เพื่อทำการตรวจสอบค่าน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง และตรวจสุขภาพโดยรวม ว่าเข้าข่ายน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเริ่มมีสภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่