วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ช่างซ่อมบำรุง
การมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จลุล่วงภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกับผู้ว่าจ้าง อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับนั้นเป็นสิ่งสำคัญและยังเป็นตัวชี้วัดคุณภาพในการทำงานของบุคคลนั้น ๆ ทำให้เห็นว่าบุคคลนั้น ๆ มีความใส่ใจต่องานมากน้อยเพียงใด ในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้
ความซื่อสัตย์เป็นอีกสิ่งที่สำคัญเช่นกัน การที่เรามีความซื่อสัตย์ไม่ว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือผู้ว่าจ้างจะทำให้ตัวเรานั้นมีความน่าเชื่อถือ แต่ไม่ได้มีแค่สองสิ่งนี้ที่เป็นคุณสมบัติของช่างซ่อมบำรุง ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความรู้ความสามารถในงานซ่อมบำรุงและมีความรอบรู้ในเชิงช่างทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ช่างซ่อมบำรุงจะต้องมีความรู้ในเรื่องเครื่องจักร เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ และยังต้องมีความกล้าที่จะตัดสินใจ มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จก็เป็นคุณสมบัติที่ดีของช่างซ่อมบำรุงเช่นกัน
หากคุณได้แต่คาดการณ์สาเหตุ โดยระบุสาเหตุไม่ได้ชัดเจนแล้ว "ลอง" ลงมือซ่อมเองตามวิธีที่เราคิดว่าน่าจะใช่นั้นย่อมเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเราได้ง่าย ปัญหาเหล่านั้นอาจเป็นปัญหาที่อันตรายถึงชีวิต และการที่เรา "ลอง" ซ่อมแซมเครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นด้วยตนเอง อาจจะทำให้คุณภาพของสิ่งของเหล่านั้นมีคุณภาพที่ลดลง หากคุณลองค้นหาวิธีซ่อมอุปกรณ์หรือแก้ไขมันด้วยตัวเองจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ จะพบว่าเว็บไซต์เหล่านั้นไม่แนะนำให้ซ่อมหรือแก้ไขด้วยตัวเอง แต่แนะนำให้ปรึกษาหรือเรียกช่างซ่อมบำรุงที่เป็นมืออาชีพมาดูแทน เพราะเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ที่เราอาจจะไม่คุ้นชิน อีกทั้งยังไม่มีอุปกรณ์ซ่อมไฟพร้อมเท่ากับช่างซ่อมบำรุงมืออาชีพ
และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงควรเรียกช่างซ่อมบำรุงมืออาชีพมากกว่าลงมือซ่อมเครื่องจักรเครื่องมือเหล่านั้นด้วยตนเอง
เมื่อว่าด้วยเรื่องของการทาสีบ้านนั้น เป็นเรื่องที่ต้องยกให้มืออาชีพอย่าง “ช่างทาสี” โดยเฉพาะเพราะการทาสีบ้านนั้นเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียด ความใส่ใจ รวมถึงการเลือกสีที่มีความคงทนติดอยู่ได้นานเพื่อสร้างความสวยงามให้กับบ้านของเรา
การใช้บริการช่างจาก “ช่างปูกระเบื้อง” ที่มีความชำนาญนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อที่เราจะได้รับงานที่มีคุณภาพ มีความละเอียดอ่อนและมีความสวยงาม
สำหรับฝ้าเพดานที่หลายคนมองข้ามนั้นก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้บ้านมีความลงตัวมากยิ่งขึ้น การเลือกฝ้าเพดานจึงเป็นอีกอย่างหนึ่งสำคัญ การใช้บริการช่าง “ช่างฝ้าเพดาน” เป็นสิ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง เพื่อจะเลือกฝ้าเพดานที่เหมาะสมกับบ้านของเรา ให้มีความทนทาน และสามารถคงอยู่ได้อย่างยาวนาน
การดูแลสวนเป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนและความใส่ใจเป็นอย่างมาก การทำสวนไม่ใช่การทำแค่เพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องทำให้สวนนั้นสามารถอยู่ได้อย่างยาวนาน การมี “คนดูแลสวน” จึงเป็นสิ่งที่เพิ่มความสะดวกและประหยัดเวลาให้แก่ตัวเราขึ้นมาก ๆ
คุณภาพของสระว่ายน้ำจะดีได้นั้น จะต้องได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ การดูแลที่มีขั้นตอนมากมาย และยากลำบากสำหรับเจ้าของสระบางรายจึงทำให้ต้องมีการจ้าง “ช่างดูแลสระว่ายน้ำ” เพื่อการดูแลสระว่ายน้ำของเราที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ปัญหามุ้งลวดเปลี่ยนเองซ่อมเอง ได้หรือไม่
มุ้งลวด เป็นสิ่งสำคัญที่มีอยู่ในทุก ๆ บ้าน เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งเข้ากรอบกับบานประตู หรือหน้าต่าง เพื่อป้องกันยุง แมลง ในยามที่เปิดประตูออกเพื่อให้อากาศได้ถ่ายเท แต่ในบ่อยครั้งมักเกิดการชำรุด เสียหาย อาจจะเกิดจากหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ฝีมือของลูกน้อยวัยกำลังซน เขี้ยวเล็บของน้องหมาน้องแมว หรือการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ทำให้อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันยุง หรือแมลงนั้น เกิดเป็นช่องโหว่ ที่ทำให้สัตว์มีปีกเหล่านั้นบินเข้ามาภายในบ้านได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น SaiJai จึงนำเทคนิค การซ่อมแซม หรือเปลี่ยนมุ้งลวดที่อยู่ในสภาพชำรุด เสียหาย ให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมปกติ
แบบที่ 1 ซ่อมรูรั่ว มุ้งลวด ขนาดเล็ก หรือรอยขาดเป็นแนวยาว มีขั้นตอน ดังนี้
1.ตัดแต่งรอยขาด และเก็บขอบลวดที่ชำรุดเสียหายให้เรียบร้อย
2.ตัดเทปกาวซ่อมมุ้งลวด ให้มีขนาดใหญ่กว่ารูที่ขาดเล็กน้อย
3.ลอกฟิล์มกาวออก แล้วแปะเทปกาวซ่อมมุ้งลวด ทับไปที่รอยชำรุด ใช้มือกดเทปกาวติดกับมุ้งลวด ให้สนิท
แบบที่ 2 เปลี่ยนมุ้งลวดทั้งบาน มีขั้นตอนดังนี้
1.ใช้คีม ไขขวง หรือที่หนีบ ดึงขอบเส้นยาง หรือขอบอะลูมิเนียม ของกรอบหน้าต่าง ออกทั้ง 4 ด้าน
2.ลองแผ่นมุ้งลวดเก่าออกก่อน แล้วปัดฝุ่นทำความสะอาดตามขอบร่องต่าง ๆ
3.ตัดแผ่นมุ้งลวดใหม่ ให้มีขนาดใหญ่กว่ากรอบ ด้านละประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำไปวางบนกรอบหน้าต่าง จากนั้นให้ใช้ลูกกลิ้ง กดมุ้งลวดลงไปในร่อง เพื่อกำหนดและตรึงมุ้งลวดทุกด้านให้ตึง
4.ใช้ลูกกลิ้งกดเส้นยาง หรือขอบอะลูมิเนียม อัดลงไปในร่องให้แน่น
5.ใช้คัตเตอร์รีดมุ้งลวดส่วนเกินออก แล้วเก็บรายละเอียดชิ้นงานให้เรียบร้อย
เลือกมุ้งลวดอย่างไร ติดตั้งอย่างไร ให้ถูกใจที่สุด
มุ้งลวด เป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้านอีกชนิดหนึ่งที่เรียกได้ว่ามีประโยชน์อย่างมาก ในการช่วยป้องกันแมลง เช่น ยุง ไม่ให้เข้ามาภายในบ้านของเราได้ ปัจจุบันมีการเลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมีการติดตั้งไว้ ดังนั้น SaiJai ขอเสนอบทความ ที่จะช่วยให้คุณรู้ว่าควรจะเลือกมุ้งลวด แบบไหน อย่างไร เพื่อไม่ให้มีปัญหาจุกจิกกวนใจได้ในภายหลัง
ใช้มุ้งลวดแบบไหนใช่ที่สุด
ควรมีการคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ และความจำเป็น เจ้าของบ้านเองควรทำความเข้าใจประเภทของมุ้งลวด ว่าต้องการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างไร ซึ่งมุ้งลวดแต่ละประเภท มีคุณสมบัติในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ควรมีการเลือกให้ตอบโจทย์ความต้องการให้ได้มากที่สุด เช่น
- มุ้งไนลอน ที่มีความแข็งแรงด้วยเส้นใยสังเคราะห์ มีความหนา อากาศถ่ายเทได้ยาก แต่ทนทาน จึงไม่เหมาะหากนำไปติดตั้งบริเวณหน้าต่าง
- มุ้งอะลูมิเนียม ช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก แต่มีความผุกร่อนได้ง่าย ใช้ไปนาน ๆ จะมีการยึดติดไม่ค่อยดี และต้องทำความสะอาดเป็นประจำ
- มุ้งเหล็กกล้า ทนต่อการกระแทกหรือการแทงด้วยของมีคม มีความปลอดภัยสูง เหมาะกับการติดตั้งภายนอก แต่ปัจจุบันยังมีราคาสูง
- มุ้งไฟเบอร์ หรือ มุ้งใยแก้ว ทนทานต่อการผุกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมเพราะมีการผลิตด้วยความร้อนสูง เหมาะมากในบ้านพักต่างอากาศ ชายทะเล แต่ไม่ทนแรงกระแทกมากนัก อาจทำให้เกิดการผิดรูปเสียทรงเดิมได้
ติดมุ้งลวดด้านไหนดีกว่ากัน
การติดตั้งมุ้งลวด ทำได้ทั้งด้านในและด้านนอก ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความชอบของเจ้าของบ้าน ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป คือ การติดมุ้งลวดด้านใน เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากการติดตั้งภายในสามารถใช้มุ้งลวดแบบอะลูมิเนียมแบบบาง มีความทนทานน้อยหน่อย แต่ราคาไม่สูงมาก ติดไว้ด้านในช่วยให้ดูแลรักษาง่าย โดยมีประตูเปิดออกทางด้านนอกแทน
การติดมุ้งลวดด้านนอก หากเลือกเอาวัสดุที่มีความแข็งแรง ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีในเรื่องความปลอดภัย แต่หากเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพ ก็จะทำให้มุ้งลวดเสื่อมสภาพเร็ว และชำรุดได้ง่ายเมื่อโดนแรงกระแทก
วิธีซ่อมมุ้งลวดขาด หมดกังวลเรื่องยุงเข้า
อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับซ่อมมุ้งลวด มีดังนี้
มุ้งลวด เทปกาวซ่อมมุ้งลวด เส้นยางสำหรับทำขอบมุ้งลวด ถุงมือ กรรไกร คีม คัตเตอร์ ลูกกลิ้ง ค้อน ไขขวง
ถัดมา เราจะเริ่มซ่อมมุ้งลวด ไปดูกันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง รับรองว่าทำตามได้ ง่ายนิดเดียว
1.ซ่อมรูรั่วขนาดเล็ก ซ่อมแซมมุ้งลวดที่ขาดเป็นรูกว้าง
ขั้นตอนที่ 1 คือ ทำการตัดแต่งมุ้งลวดของคุณให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 2 คือ ให้วัดขนาดรูที่ขาด แล้วตัดเทปซ่อมมุ้งลวดให้มีขนาดใหญ่กว่ารูที่ขาด ลอกฟิล์มกาวออก
ขั้นตอนที่ 3 คือ เริ่มแปะเทปกาว ใช้มือกดฟิล์มให้ติดกับมุ้งลวดจนแนบสนิท
2.ซ่อมมุ้งลวดที่ขาดเป็นแนวยาว หรือขอบที่ติดกับกรอบ
ขั้นตอนที่ 1 คือ ทำการตัดแต่งมุ้งลวดของคุณให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 2 คือ ให้ตัดฟิล์มกาวตามความยาวของรูรั่ว แล้วลอกฟิล์มกาวออก
ขั้นตอนที่ 3 คือ เริ่มแปะเทปกาว ใช้มือกดฟิล์มให้ติดกับมุ้งลวดจนแนบสนิท
3.เป็นการซ่อมแบบเปลี่ยนมุ้งลวดทั้งบาน
ขั้นตอนที่ 1 คือ ให้นำไขขวงมาถอดบานพับและด้านจับ นำออกให้หมด
ขั้นตอนที่ 2 คือ ใช้คีมมาดึงขอบออก
ขั้นตอนที่ 3 คือ ทำการดึงมุ้งลวดเก่าออกมา
ขั้นตอนที่ 4 คือ ให้ปัดฝุ่นทำความสะอาด ตามขอบร่องต่าง ๆ ของตัวมุ้งลวด
ขั้นตอนที่ 5 คือ ให้เริ่มวางแผ่นมุ้งลวดใหม่บนกรอบหน้าต่าง วัดระยะให้ห่างจากกรอบด้านละ 1 นิ้ว แล้วตัดส่วนที่เป็นมุมให้มีความเฉียง 45 องศา
ขั้นตอนที่ 6 คือ ใช้ลูกกลิ้งกดมุ้งลวดให้ลงไปในร่อง แล้วสลับไปทำด้านตรงข้ามก่อน เพื่อดึงมุ้งลวดนั้นให้ตึง
ขั้นตอนที่ 7 คือ ให้นำค้อน ตอกเส้นยางอัดลงไปในร่อง
ขั้นตอนที่ 8 คือ ใช้คัตเตอร์กรีดมุ้งลวดส่วนที่เกินออก เพื่อเป็นการเก็บรายละเอียด
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง