ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน เมืองปทุมธานี, ปทุมธานี

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน เมืองปทุมธานี, ปทุมธานี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
อัญชัญสินี เมฆสวัสดิ์
อัญชัญสินี เมฆสวัสดิ์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

อายุ 50 ปี หนัก 78 kg สูง 153 cm มีประสบการณ์ทำงานเฝ้าไข้ดูแลผู้ป่วย 18 ปี สามารถดูแลคนไข้ได้ทุกประเภททั้งเคสธรรมดาและเคสติดเตียง(ทำได้ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มานาน ชอบงานเคส Feed/Suction เป็นพิเศษ) ดูแลผู้ป่วยได้ทุกขั้นตอนทำอาหารเหลวทางสายยางปั่น Feed อาหารทางจมูก และ หน้าท้อง Suction ทำแผลทำกายภาพล้วงสวนอุจจาระสวนปัสสาวะชายใส่สาย NG สำหรับฟีดอาหารครามสามรถทำชักชั่นปากคอจมุกคอได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
3 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
3 ปีที่แล้ว
คุณย่าเป็นผู้ป่วยติดเตียง แต่คนที่บ้านไม่มีความรู้ในการดูแล เลยลองหาคนที่รับจ้างดูแลผู้ป่วยติดเตียง โชคดีที่เจอน้องคนนี้ น้องตั้งใจทำงานและดูแลคุณย่าได้ดีมาก ๆ ค่ะ ตอนนี้คอยช่วยดูแลกันเหมือนเป็นคนในครอบครัวไปแล้ว
Saijai
ณัฐฐา จามศิลป์
4 ปีที่แล้ว
คนดูแลคุณยายคนที่ผ่าน ๆ มา ราคาสูงทั้งนั้น แต่ทำงานได้ไม่คุ้มกับราคาที่จ่ายไป บางคนไม่มีประสบการณ์แถมไม่มีความอดทนอีก เจอคนใหม่ผ่านใส่ใจ ช่างแตกต่างจากคนเก่า ๆ เยอะมาก ถึงแม้ราคาอาจจะสูงพอ ๆ กัน แต่ได้คนมีประสบการณ์ และมีพื้นฐานเกี่ยวกับงานพยาบาลมาก่อน การดูแลและการบริการของน้องเค้าก็ดีมาก
Saijai
ดุษฏี ธีระโยธา
4 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ดูแลแค่เรื่องกิจวัตร แต่พี่ีที่เฝ้าคุณพ่อยังดูแลเรื่องกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้กับคุณพ่อผมอีกด้วยครับ ดีเกินกว่าที่คิดไว้จริง พี่เค้าอัธยาศัยดีมากครับ ตอนนี้นอกจากอาการของคุณพ่อผมดีขึ้นแล้วยังมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นอีกด้วยครับ
Saijai
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังจนทำให้สภาวะร่างกายเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป อีกทั้งยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เพราะต้องนอนอยู่แต่บนเตียงตลอดเวลานั่นเอง ผู้ป่วยติดเตียงนั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หากเป็นผู้ดูแลที่มีประสบการณ์และมีความมืออาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นยิ่งดี เพราะผู้ดูแลจะมีวิธีการดูแลอย่างถูกวิธีนั่นเอง

หน้าที่หลักของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีดังนี้

1. ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยต้องนอนนิ่ง ๆ เป็นเวลานานนั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลาย ๆ อย่างตามมา เช่น แผลกดทับ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับเป็นเวลานานนั่นเอง ผู้ดูแลจำเป็นต้องดูแลเรื่องการจัดท่านอนอย่างถูกต้อง จับผู้ป่วยพลิกตัวอยู่เสมอ คอยช่วยขยับแขนหรือขา เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อฝ่อและไม่ให้เกิดอาการบวมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2. ผู้ดูแลมีหน้าที่ใส่ใจเรื่องความสะอาดของผู้ป่วยติดเตียง โดยจะดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การขับถ่าย การชำระร่างกาย เป็นต้น รวมไปถึงดูแลเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และสิ่งของทั้งหลายที่ผู้ป่วยใช้ เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ เป็นต้น
3. ดูแลไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ผู้ป่วยติดเตียงบางคนอาจต้องให้อาหารทางสายยาง ดังนั้นผู้ดูแลต้องหมั่นตรวจสอบและติดตามอาการจากแพทย์บ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ หากไม่เพียงพอจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เรื่องอาหารเสริมหรือวิธีแก้ไขอื่น ๆ ต่อไป
4. ดูแลเรื่องสภาวะจิตใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนที่อยู่บนเตียงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้สภาพจิตใจแย่ลง ผู้ดูแลควรหากิจกรรมหรือพูดคุยและอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
คุณเจออุปสรรคอะไรบ้างเมื่อจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หลาย ๆ คนที่อาจไม่มีเวลาว่างมากพอในการอยู่ดูแลผู้ป่วยจึงแก้ปัญหาโดยการเลือกจ้างผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาช่วยทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน แต่การจ้างผู้ดูแลอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าผู้ดูแลไม่มีความสามารถและทักษะการดูแลมากพอ จนกายเป็นอุปสรรค อาจต้องเปลี่ยนผู้ดูแลอยู่บ่อย ๆ

ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน

หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
ญาติควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานมีต้องใช้ความรู้และความใส่ใจ การเลือกผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงควรเลือกบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดูแล ให้เข้ามาดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องคอยตรวจสอบอาการของคนที่คุณรัก อย่างสม่ำเสมอ เพราะผู้ป่วยติดเตียงต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน การนอนติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ นั้น เป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว

ญาติและครอบครัวควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเลือกใช้บริการผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วย เช่น ที่นอนลม อุปกรณ์ทำแผล เตียงสำหรับผู้ป่วย และห้องที่สามารถ เคลื่อนย้าย และดูแลผู้ป่วยได้สะดวก แผ่นซึมซับกันเปื้อน
2. ให้เวลากับการหาและคัดเลือกผู้ดูแล ถึงแม้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะเน้นเพียงทักษะการดูแลเรื่องความสะอาด ถูกต้องตามแผนการรักษา โดยเฉพาะการดูแลด้านสุขอนามัย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว สังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยว่าต้องการสิ่งใด เช่น รู้สึกเมื่อยต้องการพลิกตัว หิวน้ำหรือคันที่ผิวหนัง ต้องการทำความสะอาดแต่ทำเองไม่ได้ เป็นต้น
3. เตรียมความพร้อมทางเศรษฐกิจ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงย่อมมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความชำนาญ ค่ายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก คนในครอบครัวอาจต้องปรับเปลี่ยนตารางกันทำงานเพื่อให้ส่งเสริมและสอดคล้องกันตารางการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วย อาจเป็นโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้ลองพิจารณาเปรียบเทียบความคุ้มค่าทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและความปลอดภัยระหว่างการจ้างผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถเปลี่ยนงาน หรือออกจากงานมาดูแลผู้ป่วยเอง
4. ครอบครัวและคนรอบข้างผู้ป่วยต้องเข้าใจ เอาใจใส่ และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงผ่านไปอย่างราบรื่น
วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ให้เกิดแผลกดทับ
สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อผู้ป่วยนอนติดเตียง ได้แก่ แผลกดทับ โดยแผลกดทับมักเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่หุ้มกระดูก เช่น ท้ายทอย ข้อศอก ส้นเท้า ข้อเท้า สะโพก หรือกระดูกก้นกบ เป็นต้น สาเหตุการเกิดแผลกดทับ คือการที่ผู้ป่วยนอนนาน ๆ บริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่าง ๆ เหล่านี้จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงที่ผิวหนังทำให้เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลไปเรื่อย ๆ ระยะแรกอาจเกิดอาการลอกที่ผิว แต่พอนานเข้าก็จะลอกไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรือถึงชั้นกระดูก และเมื่อร่างกายปราศจากผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ปกคลุมแล้วโอกาสเกิดการติดเชื้อจะมากขึ้นและอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ การป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถพลิกตัวเองได้เองจึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่จะช่วยปรับเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และควรมีอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยลดแรงกดทับ เช่น ฟองน้ำ ที่นอนลม หมอนผ้านุ่มๆ เจลรองปุ่มกระดูก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเลี่ยงแรงกดทับจากการนอนหรือนั่งไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานาน

การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ