วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน
อายุ 50 ปี หนัก 78 kg สูง 153 cm มีประสบการณ์ทำงานเฝ้าไข้ดูแลผู้ป่วย 18 ปี สามารถดูแลคนไข้ได้ทุกประเภททั้งเคสธรรมดาและเคสติดเตียง(ทำได้ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มานาน ชอบงานเคส Feed/Suction เป็นพิเศษ) ดูแลผู้ป่วยได้ทุกขั้นตอนทำอาหารเหลวทางสายยางปั่น Feed อาหารทางจมูก และ หน้าท้อง Suction ทำแผลทำกายภาพล้วงสวนอุจจาระสวนปัสสาวะชายใส่สาย NG สำหรับฟีดอาหารครามสามรถทำชักชั่นปากคอจมุกคอได้ค่ะ
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นหลัก ๆ คือไม่ควรให้ผู้ป่วยนอนในท่าเดิมนาน ๆ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแผลกดทับได้ ดังนั้นจึงต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ ถ้าผู้ดูแลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยได้ในที่สุด เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่าผู้ป่วยติดเตียงนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมไปถึงเรื่องกิจวัตรประจำวันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้าวป้อนยา เช็ดตัว บางครั้งก็ต้องใส่สายเพื่อสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยหรือต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมด้วย ผู้ดูแลจึงต้องมีความอดทนและมีใจรักในการบริการเป็นอย่างมาก หากผู้ดูแลขาดความรับผิดชอบในส่วนนี้ อาจเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน
หลาย ๆ คนคงไม่อยากเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกิดความยากลำบากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว คนจ้างเองก็ต้องคอยอธิบายวิธีการดูแลและเงื่อนไขหลาย ๆ อย่างใหม่ทุกครั้งที่ต้องทำการจ้างผู้ดูแลคนใหม่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจจ้างผู้ดูแลนั้นควรพิจารณาถึงคุณสมบัติหลาย ๆ อย่าง หรือสอบถามความเห็นจากคนใกล้ชิดดูก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผู้ดูแลที่มีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ และเหมาะสมที่จะให้มาทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในบ้านของคุณ
ครอบครัวสามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงดังนี้
1. ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเรื่องแนวทางการดูแล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้หรือไม่ได้ การดูแลรักษาความสะอาด เป็นต้น เพื่อที่จะได้กำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้องและครอบคลุม
2. จัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น เตียงที่สามารถปรับท่านอนหรือนั่งได้ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่นอนลม อาจรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ออกซิเจนชนิดถัง หรือของใช้ที่จำเป็น เช่น ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ
3. เตรียมพื้นที่หรือจัดบ้านให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วย เช่น ที่พักของผู้ป่วยควรอยู่ชั้นล่าง เพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับเตียงและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดูแล อากาศโปร่งถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
การจัดท่าทางสำหรับเลี่ยงการเกิดแรงกดทับทำได้ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนท่าทางทุก ๆ 15 นาทีหากต้องนั่งบนรถเข็นและพลิกตัวเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
2. ปรับเตียงนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศาเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งจนเกิดแผลกดทับได้
3. เบาะรองนั่งหรือเตียงนอนควรเลือกแบบที่ช่วยผ่อนแรงกดทับและปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนได้สบาย
4. รถเข็นควรเลือกแบบที่ปรับระดับได้ เพื่อช่วยลดแรงกดทับ
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง