ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน คลองสามวา, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน คลองสามวา, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ชื่อเล่นชื่อนก อายุ 36 ปี ประวัติการทำงานเคยทำงานที่โรงพยาบาลวิชัยเวชอ้อมน้อย 10 ปีแผนกห้องผ่าตัด 4 ปี แผนก ICU 6 ปีดูแลผู้สูงอายุ 2 ปี

แสดงเพิ่มเติม
Rain Ny
Rain Ny
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

รับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เพราะทำงานแผนกผู้ป่วยหนักมา 10 ปีค่ะ ลักษณนิสัยพูดคุยกับผู้ด้วยโดยดูสีหน้าบุคคลิกของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นคนแบบไหนชอบให้พูดคุยด้วยไหมให้กำลังใจผู้ป่วยในยามที่ท้อแท้สิ้นหวัง

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

พร้อมดูแล​ห่วงใย​เอาใจใส่ผู้สูงอายุ

ใจเย็น​เพียบพร้อม​สามารถทำกายภาพบำบัด​นวดแขนขา​พาเดิน​หรือทำนา​สั่งได้ทุกอย่าง

พร้อมดูแลครอบครัวท่านดุจพ่อแม่

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดเลยค่ะ
Saijai
มารียา เสวตจนขจร
3 ปีที่แล้ว
พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ดูแลดี ไว้ใจได้ หายห่วงค่ะ
Saijai
กานต์ศรันย์ เจริญกิจธารา
3 ปีที่แล้ว
คนดูแลที่ได้มา ผ่านการดูแลคนป่วยโรคมะเร็งมาเยอะ เค้ารู้วิธีการดูแล การพูดยังไงให้คนไข้รู้สึกสบายใจ ส่วนตัวเราชอบมาก เพราะคนดูแล ดูแลอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้วิธีการสื่อสารกับคนไข้ด้วย จิตใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
Saijai
ธีรเดช ทวีรุ่งโรจน์
4 ปีที่แล้ว
ความใส่ใจในรายละเอียดและเอาใจใส่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ในช่วงที่ทุกคนในบ้านเป็นทุกข์ แต่เราได้ผู้ดูแลดูแลคุณพ่ออย่างดี ทำอาหาร ชำระร่างกาย ทำแผล และดูแลท่านตลอดเวลา ดูแลเหมือนญาติอีกคน
Saijai
เอนก วงศ์วาณิชย์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและอะไรคือจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึงผู้ที่ป่วยด้วยอาการป่วยที่เป็นระยะท้าย ๆ ของโรค ไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้หายและคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่เกิน 1 ปี จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่ง WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความอีกว่า เป็นการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) และครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต รวมถึงการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการดูแลครอบครัวและญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการดูแลนั้นเริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้าย หรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะ สำหรับโรคนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวในต้องการ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ด้วยหวังให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบไม่มีเรื่องติดค้างไว้เบื้องหลัง
คุณสมบัติอะไรบ้างของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care) หรือการดูแลแบบประคับประคองว่า เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรค โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการทุกข์ทรมานด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ ได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแล คือ การลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งช่วยดูแลความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อมีบุคคลในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้คนอื่น ๆในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการป่วยโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
2. ผู้ดูแลสามารถประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือจากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เบื่ออาหาร เป็นต้น
3. เป็นคนรักษาความลับของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี โดยให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล รวมไปถึงการให้ความเคารพในความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
4. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องมีความรู้เบื้องต้นในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยได้

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติหลัก ๆ ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี เพราะการดูแลชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นสิ่งสำคัญ หากคนดูแลและครอบครัวดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
สิ่งที่คุณควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถไว้ใจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างมาได้
ในยุคสังคมวัตถุนิยมเพราะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายๆ คนไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้ายด้วยแล้ว ยิ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะหามาดูแลญาติของเรานั้นจะไว้ใจเขาได้อย่างไร? เพราะผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมาก เรามาดูกันค่ะ

1. ควรตรวจสอบวุฒิการศึกษาและประวัติการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการดังนั้นผู้ดูแลจะมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและควรผ่านการอบรมหลักสูตร พนักงานผู้ช่วยพยาบาล (โดยมีการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย)
3. มีการตรวจสอบผลการตรวจสุขภาพผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายก่อนเข้าทำงาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
4. มีการพูดคุยถึงอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายกับผู้ดูแลก่อน หรือลองยกตัวอย่างคำถามเพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้แก้ไขสถานการณ์ หลังจากนั้นก็ทำการประเมินผลว่าคำตอบที่ได้เป็นที่น่าพอใจและน่าไว้วางใจให้ผู้ดูแลอยู่กับผู้ป่วยอยู่ตามลำพังได้หรือไม่
5. ลองทดสอบการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสบการณ์ที่เพียงพอหรือไม่ก่อนทำการจ้างงาน เพื่อลดความกังวลของผู้ว่าจ้าง
สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรามีแนวทางในการดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษา

ขั้นตอนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. การดูแลทางด้านร่างกาย หากผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ควรแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบว่ามีอาการอย่างไร และเจ็บปวดบริเวณใด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการปวดและให้การรักษาดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการของตนได้ ผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง หายใจแรง หายใจเร็ว เป็นต้น
2. การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโศกเศร้าเสียใจ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรให้คำแนะนำ และให้กำลังใจกับผู้ป่วย
3. การดูแลทางด้านสังคม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและทำในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ