วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
ผู้ดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รับอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้ดูแลผู้ป่วยพักฟื้น/เฝ้าไข้ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันพยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำลังดูแลอยู่เป็นอย่างดี เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีการสูญเสียความอยากอาหาร เนื่องจากกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ผู้ดูแลไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียด และระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปซึ่งมาจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ อาจทำให้ผู้ป่วย สำลัก หรืออาเจียน ผู้ดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยเป็นอย่างดี
2. มีใจรักและพร้อมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเต็มที่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีความวิตกกังวล ความเครียด มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงอาการหลาย ๆ อย่างที่แสดงออกมา เช่นในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการพูดและการมองเห็น ผู้ดูแลอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายประสาทการฟังยังทำงานได้อยู่ รับรู้ในสิ่งที่ผู้คนรอบข้างคุยกัน ผู้ดูแลจึงไม่ควรบ่น หรือใช้คำพูดที่อาจกระทบกระเทือนใจผู้ป่วยได้
3. สามารถอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ การดูแลจะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายที่สุด ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยในแต่ละวันเช่น ทำความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความในปาก หยอดน้ำตาเทียม ไม่ให้ตาแห้ง พลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และทำกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งหด และลดอาการปวดได้
ข้อแนะนำที่จะช่วยให้ครอบครัวสามารถคลายกังวลใจเมื่อต้องให้ผู้ป่วยอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่สามารถไว้ใจได้มีดังนี้
1. มองหาผู้ดูแลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ญาติ เพื่อน บริษัทตัวแทนหรือเว็บไซต์สำหรับหาผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง การใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เฟสบุค หรือไลน์ เป็นช่องทางในการหาผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดูจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บางเว็บไซต์มีการรีวิวประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้ที่เคยใช้บริการ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้อีกทาง
2. ผู้ดูแลมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะดูจากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นถือว่าส่วนที่สำคัญที่สุด จะสามารถรู้ได้ว่าผู้ดูแลคนนี้ทำงานเคยทำงานมาแล้วกี่ปี ดูแลผู้ป่วยมาแล้วกี่คน เพื่อใช้ประกอบการณ์ตัดสินใจ วุฒิการศึกษา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย หากผู้ดูแลที่จ้างมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ก็สามารถไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง
3. ก่อนตัดสินใจว่าจ้างผู้ว่าจ้างควรมีการนัดสัมภาษณ์งานก่อน เพราะญาติสามารถดูบุคลิกของผู้ดูแล การพูดจา การแต่งตัว ความสะอาด รวมถึงสามารถถามคำถามเพื่อใช้วัดว่า ผู้ดูแลพร้อมทำงานมากแค่ไหน
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้
1. ต้องมีการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับมากขึ้น การหายใจที่สั้นลง และหยุดเป็นพักๆ รวมถึงความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดกับตัวผู้ป่วย หากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่จะได้รักษาได้ถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ซึมเศร้า ตกใจ เป็นต้น
2. หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง โดยผู้ดูแลจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆให้ผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ช่วยประคองผู้ป่วยเมื่อ เดิน หรือยืน
3. การดูแลด้านอาหารการกิน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีอาการปฏิเสธอาหารและความอยากที่ลดลง สาเหตุจาก การรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ควรฝืนให้ผู้ป่วยรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจ บางครั้งอาจบรรเทาได้โดยการ ให้แพทย์ให้ยากระตุ้นความอยาก เป็นต้น
4. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ เช่น ความกลัว วิตกกังวล ญาติและผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความทุกข์ใจ
5. ผู้ป่วยและทางญาติ สามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการการดูแลในสถานที่ใด หากดูแลที่บ้าน แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลให้สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยผู้ป่วยบรรเทาจากความเจ็บป่วยทางกาย และให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อลดความกังวลต่างๆ แต่หากต้องการดูแลที่สถานพยาบาล เนื่องจาก ไม่มีผู้ดูแลที่บ้าน หรืออาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน แม้ว่าการดูแลในโรงพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง