ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน บางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน บางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
Rain Ny
Rain Ny
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

รับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เพราะทำงานแผนกผู้ป่วยหนักมา 10 ปีค่ะ ลักษณนิสัยพูดคุยกับผู้ด้วยโดยดูสีหน้าบุคคลิกของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นคนแบบไหนชอบให้พูดคุยด้วยไหมให้กำลังใจผู้ป่วยในยามที่ท้อแท้สิ้นหวัง

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ชื่อเล่นชื่อนก อายุ 36 ปี ประวัติการทำงานเคยทำงานที่โรงพยาบาลวิชัยเวชอ้อมน้อย 10 ปีแผนกห้องผ่าตัด 4 ปี แผนก ICU 6 ปีดูแลผู้สูงอายุ 2 ปี

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

พร้อมดูแล​ห่วงใย​เอาใจใส่ผู้สูงอายุ

ใจเย็น​เพียบพร้อม​สามารถทำกายภาพบำบัด​นวดแขนขา​พาเดิน​หรือทำนา​สั่งได้ทุกอย่าง

พร้อมดูแลครอบครัวท่านดุจพ่อแม่

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ง่ายตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อหาคนดูแลเลยค่ะ ใส่ใจดูแลให้หมดทุกอย่างเลย แค่บอกว่าต้องการคนดูแลแบบไหนบ้าง ประทับใจมากค่ะ
Saijai
กมลชนก วิสุทธิสาร
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
3 ปีที่แล้ว
ความใส่ใจในรายละเอียดและเอาใจใส่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ในช่วงที่ทุกคนในบ้านเป็นทุกข์ แต่เราได้ผู้ดูแลดูแลคุณพ่ออย่างดี ทำอาหาร ชำระร่างกาย ทำแผล และดูแลท่านตลอดเวลา ดูแลเหมือนญาติอีกคน
Saijai
เอนก วงศ์วาณิชย์
4 ปีที่แล้ว
แม่ยายผมเป็นมะเร็งครับ หาคนมาดูแลหลายคนแล้ว ทำงานไม่ได้นานก็ลาออก สู้งานไม่ไหว ผมมาเจอเว็บใส่ใจ เลยลองเรียกใช้บริการคนดูแลผ่านทางนี้ดู ทุกอย่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีครับ
Saijai
ภุชงค์ จิตเสนา
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายต้องอยู่โรงพยาบาลหลายเดือน ทางโรงพยาบาลต้องให้มีคนเฝ้าอย่าง 1 คนที่ต้องอยู่ด้วยตลอด ผมเลยจ้างคนดูแลที่หาเจอบนเว็บไซต์ใส่ใจ ประทับใจครับ
Saijai
มานิตย์ ยิ้มสว่าง
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ความหมายของคำว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายและจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอาการป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย ๆ ของโรค เช่น โรคมะเร็งที่ลุกลามเร็วมาก จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย และผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ หรือรักษาไม่หาย ในปัจจุบันมีโรคที่รักษาไม่หายมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต และโรคที่ดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยได้รับประทานยา และเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง แต่อาการไม่ดีขึ้น กรณีนี้จะเข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 1ปี และยังรวมไปถึงผู้ที่เผชิญอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน จากอุบัติเหตุและสถานการณ์ร้ายแรงอีกด้วย จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ บรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสบาย ลดความเจ็บป่วย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีปัญหาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตพร้อมๆ กัน ดังนั้นการดูแลต้องดูแลทั้งองค์รวมทั้งกายและจิตใจ รวมถึงสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการเจ็บป่วย และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลต้องมีการเตรียมพร้อมและรับมือที่ดี เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยเองตกใจกับอาการหลายๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมาจากการทรุดตัวของโรคที่เป็นอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ต้องมีการอธิบายแต่ละอาการให้ญาติผู้ป่วยรับรู้ เพื่อจะได้ลดความกังวลและมอบความรักให้ผู้ป่วยอย่างเต็มที่ในขณะที่สามารถทำได้อยู่
คุณสมบัติอะไรบ้างของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care) หรือการดูแลแบบประคับประคองว่า เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรค โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการทุกข์ทรมานด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ ได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแล คือ การลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งช่วยดูแลความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อมีบุคคลในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้คนอื่น ๆในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการป่วยโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
2. ผู้ดูแลสามารถประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือจากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เบื่ออาหาร เป็นต้น
3. เป็นคนรักษาความลับของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี โดยให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล รวมไปถึงการให้ความเคารพในความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
4. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องมีความรู้เบื้องต้นในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยได้

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติหลัก ๆ ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี เพราะการดูแลชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นสิ่งสำคัญ หากคนดูแลและครอบครัวดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
สิ่งที่คุณควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถไว้ใจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างมาได้
ในยุคสังคมวัตถุนิยมเพราะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายๆ คนไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้ายด้วยแล้ว ยิ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะหามาดูแลญาติของเรานั้นจะไว้ใจเขาได้อย่างไร? เพราะผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมาก เรามาดูกันค่ะ

1. ควรตรวจสอบวุฒิการศึกษาและประวัติการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการดังนั้นผู้ดูแลจะมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและควรผ่านการอบรมหลักสูตร พนักงานผู้ช่วยพยาบาล (โดยมีการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย)
3. มีการตรวจสอบผลการตรวจสุขภาพผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายก่อนเข้าทำงาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
4. มีการพูดคุยถึงอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายกับผู้ดูแลก่อน หรือลองยกตัวอย่างคำถามเพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้แก้ไขสถานการณ์ หลังจากนั้นก็ทำการประเมินผลว่าคำตอบที่ได้เป็นที่น่าพอใจและน่าไว้วางใจให้ผู้ดูแลอยู่กับผู้ป่วยอยู่ตามลำพังได้หรือไม่
5. ลองทดสอบการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสบการณ์ที่เพียงพอหรือไม่ก่อนทำการจ้างงาน เพื่อลดความกังวลของผู้ว่าจ้าง
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันที่พัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจากโรคร้ายแรงหายจากอาการป่วยมากขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ นั่นคือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความทุกข์ทรมานใจที่ตามมาไม่เพียงส่งผลต่อตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังกระทบไปถึงครอบครัวของผู้ป่วยด้วย การดูแลที่ดีช่วยให้ตัวผู้ป่วยและญาติพร้อมปรับตัวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยคือต้องยอมรับว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีเวลาเหลืออีกไม่นาน หากทำใจยอมรับได้การดูแลจะเป็นไปได้ด้วยดี

แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. ต้องมีการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับมากขึ้น การหายใจที่สั้นลง และหยุดเป็นพักๆ รวมถึงความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดกับตัวผู้ป่วย หากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่จะได้รักษาได้ถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ซึมเศร้า ตกใจ เป็นต้น
2. หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง โดยผู้ดูแลจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆให้ผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ช่วยประคองผู้ป่วยเมื่อ เดิน หรือยืน
3. การดูแลด้านอาหารการกิน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีอาการปฏิเสธอาหารและความอยากที่ลดลง สาเหตุจาก การรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ควรฝืนให้ผู้ป่วยรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจ บางครั้งอาจบรรเทาได้โดยการ ให้แพทย์ให้ยากระตุ้นความอยาก เป็นต้น
4. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ เช่น ความกลัว วิตกกังวล ญาติและผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความทุกข์ใจ
5. ผู้ป่วยและทางญาติ สามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการการดูแลในสถานที่ใด หากดูแลที่บ้าน แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลให้สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยผู้ป่วยบรรเทาจากความเจ็บป่วยทางกาย และให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อลดความกังวลต่างๆ แต่หากต้องการดูแลที่สถานพยาบาล เนื่องจาก ไม่มีผู้ดูแลที่บ้าน หรืออาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน แม้ว่าการดูแลในโรงพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป