ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สะพานสูง, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สะพานสูง, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
รุ่งเพชร ก๊กรัมย์
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

พร้อมดูแล​ห่วงใย​เอาใจใส่ผู้สูงอายุ

ใจเย็น​เพียบพร้อม​สามารถทำกายภาพบำบัด​นวดแขนขา​พาเดิน​หรือทำนา​สั่งได้ทุกอย่าง

พร้อมดูแลครอบครัวท่านดุจพ่อแม่

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 28 ปี
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 41 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
Rain Ny
Rain Ny
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

รับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ดีปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้เพราะทำงานแผนกผู้ป่วยหนักมา 10 ปีค่ะ ลักษณนิสัยพูดคุยกับผู้ด้วยโดยดูสีหน้าบุคคลิกของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นคนแบบไหนชอบให้พูดคุยด้วยไหมให้กำลังใจผู้ป่วยในยามที่ท้อแท้สิ้นหวัง

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
วชิราภรณ์ ขาวอุบล
Saijai ประสบการณ์ 1-2 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

ชื่อเล่นชื่อนก อายุ 36 ปี ประวัติการทำงานเคยทำงานที่โรงพยาบาลวิชัยเวชอ้อมน้อย 10 ปีแผนกห้องผ่าตัด 4 ปี แผนก ICU 6 ปีดูแลผู้สูงอายุ 2 ปี

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
วลดา ดาวเรือง
วลดา ดาวเรือง
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี

สวัสดีค่ะหนูจบผู้ช่วยพยาบาลหนูมั่นใจว่ามีจิตใจอ่อนโยนและใจเย็นมากๆค่ะเคยดูแลผู้ป่วยติดเตียงในโรงพยาบาลได้ดีมากๆค่ะและยังสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าวขับรถหรือไปทำธุระให้ได้ค่ะ คุยกันได้ก่อนค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดเลยค่ะ
Saijai
มารียา เสวตจนขจร
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
4 ปีที่แล้ว
ผู้ดูแลคอยช่วยพูดให้กำลังใจ คอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ให้ จนตอนนี้คุณพ่อกลับมายิ้มร่างเริงได้อีกครั้งแล้วค่ะ
Saijai
อนันตา ไวยากูล
4 ปีที่แล้ว
ความใส่ใจในรายละเอียดและเอาใจใส่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ในช่วงที่ทุกคนในบ้านเป็นทุกข์ แต่เราได้ผู้ดูแลดูแลคุณพ่ออย่างดี ทำอาหาร ชำระร่างกาย ทำแผล และดูแลท่านตลอดเวลา ดูแลเหมือนญาติอีกคน
Saijai
เอนก วงศ์วาณิชย์
4 ปีที่แล้ว
แม่ยายผมเป็นมะเร็งครับ หาคนมาดูแลหลายคนแล้ว ทำงานไม่ได้นานก็ลาออก สู้งานไม่ไหว ผมมาเจอเว็บใส่ใจ เลยลองเรียกใช้บริการคนดูแลผ่านทางนี้ดู ทุกอย่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีครับ
Saijai
ภุชงค์ จิตเสนา
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

เราให้คำจำกัดความของผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าอย่างไรและมีจุดประสงค์อย่างไรในการดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีความหมายครอบคลุมมากกว่าผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต ดังนี้

1. เป็นผู้ป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่ได้หรือรักษาไม่หาย เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยบางคนจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต
2. เป็นโรคที่ดำเนินมาถึงระยะท้ายของโรค เช่น โรคไต ที่รักษาโดยกินยาและคุมอาหารมาตลอด แต่เมื่อผ่านมาระยะหนึ่ง กินยาอย่างไรอาการก็ไม่ดีขึ้นจึงต้องเริ่มต้นทำการล้างไต แต่เมื่อมาถึงจุดที่ไม่สามารถล้างไตได้ จึงมาถึงจุดที่เข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย
3. ผู้ป่วยที่มีเวลาเหลือไม่นาน เช่น ป่วยเป็นโรคมะเร็ง จากตอนแรกอาจพบมะเร็งที่สมอง เมื่อผ่านไปไม่นานกลับพบที่อวัยวะอื่น ๆ ตามมาด้วย อาจททำให้ผู้ป่วยมีชีวิตต่อไปอีกไม่นานเพราะโรคลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

ทางเลือกในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

• การดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายที่บ้าน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายคนเลือกใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านกับครอบครัว โดยให้แพทย์แนะนำขั้นตอนและวิธีการดูแลให้ นอกจากนี้ครอบครัวอาจจัดหาผู้ดูแลส่วนตัวมาช่วยดูแลผู้ป่วยเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างดีและถูกต้องเหมาะสม
• การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สถานพยาบาล ผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่โรงพยาบาล เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่พิเศษเพื่อดูแลอาการป่วย จึงไม่สามารถรักษาตัวที่บ้านได้ แต่ถึงแม้ว่าจะต้องทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ครอบครัวญาติพี่น้องสามารถมาเยี่ยม ดูแล และให้กำลังใจผู้ป่วยได้ แต่อาจมีข้อจำกัดบ้าง เช่น ห้องผู้ป่วยวิกฤตหรือที่เรียกกันว่าห้องไอซียู ซึ่งผู้ที่มาเยี่ยมควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย
คุณสมบัติอะไรบ้างของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care) หรือการดูแลแบบประคับประคองว่า เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรค โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการทุกข์ทรมานด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ ได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแล คือ การลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งช่วยดูแลความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อมีบุคคลในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้คนอื่น ๆในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการป่วยโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
2. ผู้ดูแลสามารถประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือจากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เบื่ออาหาร เป็นต้น
3. เป็นคนรักษาความลับของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี โดยให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล รวมไปถึงการให้ความเคารพในความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
4. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องมีความรู้เบื้องต้นในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยได้

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติหลัก ๆ ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี เพราะการดูแลชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นสิ่งสำคัญ หากคนดูแลและครอบครัวดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดที่เราจ้างมานั้นไว้ใจได้
การที่เราจะไว้ใจใครสักคนที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวหรือไม่ใช่คนในครอบครัวอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าต้องให้คนคนนั้น มาทำหน้าที่ดูแลใกล้ชิดสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อเราต้องตัดสินใจว่าจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เราต้องสอบถามประวัติส่วนตัว สอบถามถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมา รวมถึงตรวจสอบประวัติอาชญากรรม แต่นั่นยังไม่อาจยืนยันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าคนที่เราเลือกเป็นคนที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในส่วนของความซื่อสัตย์ที่ไม่ใช่แค่การไม่ลักขโมยหรือหยิบฉวยของมีค่า แต่รวมถึงการบอกกล่าวข้อมูลความจริงให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับรู้ สิ่งเหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายพึงมี แต่ถ้าเราสามารถหา “บุคลากรวิชาชีพ” เช่น พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบําบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ มาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ถือเรื่องที่ดีและทำให้เราวางใจได้มากขึ้น เพราะบุคลากรเหล่านี้ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เข้าใจถึงจิตบริการผู้ป่วยเป็นอย่างดี เช่น การสวนสายยางให้อาหาร หรือการให้ยาลดอาการเจ็บปวด เป็นต้น อีกทั้งบุคลากรเหล่านี้มีความเสามารถและทักษะเฉพาะด้าน ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถเติมเต็มและตอบสนองต่อความต้องการความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม การประสานบทบาทการดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้ดูแลที่เป็นญาติมิตรของผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตนเองให้ไปสู่บทบาทพี่เลี้ยงที่ต้องทำงานสองหน้าที่ควบคู่กันไป เพื่อสร้างความมั่นใจที่ จัดการกับสภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้
สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรามีแนวทางในการดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษา

ขั้นตอนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. การดูแลทางด้านร่างกาย หากผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ควรแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบว่ามีอาการอย่างไร และเจ็บปวดบริเวณใด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการปวดและให้การรักษาดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการของตนได้ ผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง หายใจแรง หายใจเร็ว เป็นต้น
2. การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโศกเศร้าเสียใจ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรให้คำแนะนำ และให้กำลังใจกับผู้ป่วย
3. การดูแลทางด้านสังคม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและทำในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ