ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน เมืองชลบุรี, ชลบุรี

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน เมืองชลบุรี, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ง่ายตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อหาคนดูแลเลยค่ะ ใส่ใจดูแลให้หมดทุกอย่างเลย แค่บอกว่าต้องการคนดูแลแบบไหนบ้าง ประทับใจมากค่ะ
Saijai
กมลชนก วิสุทธิสาร
3 ปีที่แล้ว
ดิฉันเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลพี่สาวที่เส้นเลือดในสมองแตกไปเยอะมาก แล้วก็ยังต้องหาคนมาดูแลเค้าที่บ้านอีก กังวลใจมากว่าจะหาคนดูแลในงบประมาณที่เรามีไม่ได้ แต่สุดท้ายได้คนดูแลที่มีประสบการณ์และราคาเป็นกันเองมาช่วย กังวลอยู่นานว่าจะหาคนดูแลไม่ได้ ดิฉันขอบคุณเว็บใส่ใจจริงๆค่ะ ที่ทำให้ดิฉันหาคนได้ในราคาที่ต้องการ
Saijai
วราณี รังเสาร์วิเชียร
3 ปีที่แล้ว
ดูแลดี ไว้ใจได้ หายห่วงค่ะ
Saijai
กานต์ศรันย์ เจริญกิจธารา
3 ปีที่แล้ว
ผู้ดูแลคอยช่วยพูดให้กำลังใจ คอยดูแลเรื่องต่าง ๆ ให้ จนตอนนี้คุณพ่อกลับมายิ้มร่างเริงได้อีกครั้งแล้วค่ะ
Saijai
อนันตา ไวยากูล
4 ปีที่แล้ว
แม่ยายผมเป็นมะเร็งครับ หาคนมาดูแลหลายคนแล้ว ทำงานไม่ได้นานก็ลาออก สู้งานไม่ไหว ผมมาเจอเว็บใส่ใจ เลยลองเรียกใช้บริการคนดูแลผ่านทางนี้ดู ทุกอย่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีครับ
Saijai
ภุชงค์ จิตเสนา
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ความหมายของคำว่าผู้ป่วยระยะสุดท้ายและจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าอาการป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย ๆ ของโรค เช่น โรคมะเร็งที่ลุกลามเร็วมาก จากอวัยวะหนึ่งไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย และผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ หรือรักษาไม่หาย ในปัจจุบันมีโรคที่รักษาไม่หายมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาไปตลอดชีวิต และโรคที่ดำเนินมาถึงระยะสุดท้าย ซึ่งผู้ป่วยได้รับประทานยา และเข้ารับการรักษามาระยะหนึ่ง แต่อาการไม่ดีขึ้น กรณีนี้จะเข้าสู่การเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย ซึ่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ไม่เกิน 1ปี และยังรวมไปถึงผู้ที่เผชิญอาการป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอย่างเฉียบพลัน จากอุบัติเหตุและสถานการณ์ร้ายแรงอีกด้วย จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ บรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสบาย ลดความเจ็บป่วย ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีปัญหาทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตพร้อมๆ กัน ดังนั้นการดูแลต้องดูแลทั้งองค์รวมทั้งกายและจิตใจ รวมถึงสังคม สภาพแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวกับอาการเจ็บป่วย และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต การดูแลต้องมีการเตรียมพร้อมและรับมือที่ดี เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยเองตกใจกับอาการหลายๆ อย่างที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งมาจากการทรุดตัวของโรคที่เป็นอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ต้องมีการอธิบายแต่ละอาการให้ญาติผู้ป่วยรับรู้ เพื่อจะได้ลดความกังวลและมอบความรักให้ผู้ป่วยอย่างเต็มที่ในขณะที่สามารถทำได้อยู่
หากคุณกำลังมองหาผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณสมบัติอะไรบ้างที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี
สําหรับ palliative care หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไหร่ นอกจากการดูแลรักษาทางกาย แล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ช่วยเหลือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือด้านอารมณ์ไม่ให้เกิดความวิตกกังวลเกินไป ผู้ดูแลอาจใช้หลักความเชื่อของแต่ละศาสนา มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเข้าใจ หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และแนวทางการดูแลผู้ป่วย มักมีความแตกต่างกันไปสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เปิดใจรับข้อมูลและการรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เรียนรู้ความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
สำคัญที่สุด ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องที่จําเป็น มีความสามารถในการตัดสินใจ ติดต่อประสานงานได้ ไม่ตื่นตกใจ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกต้องเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบายหรือภาวะวิกฤติ และมีความสามารถดูแลสุขภาพกาย เพราะอาจต้องทำงานหนักและพักผ่อนน้อย ดูแลจิตใจของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและผู้ป่วย
สิ่งที่คุณควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถไว้ใจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างมาได้
ในยุคสังคมวัตถุนิยมเพราะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายๆ คนไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้ายด้วยแล้ว ยิ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะหามาดูแลญาติของเรานั้นจะไว้ใจเขาได้อย่างไร? เพราะผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมาก เรามาดูกันค่ะ

1. ควรตรวจสอบวุฒิการศึกษาและประวัติการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการดังนั้นผู้ดูแลจะมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและควรผ่านการอบรมหลักสูตร พนักงานผู้ช่วยพยาบาล (โดยมีการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย)
3. มีการตรวจสอบผลการตรวจสุขภาพผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายก่อนเข้าทำงาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
4. มีการพูดคุยถึงอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายกับผู้ดูแลก่อน หรือลองยกตัวอย่างคำถามเพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้แก้ไขสถานการณ์ หลังจากนั้นก็ทำการประเมินผลว่าคำตอบที่ได้เป็นที่น่าพอใจและน่าไว้วางใจให้ผู้ดูแลอยู่กับผู้ป่วยอยู่ตามลำพังได้หรือไม่
5. ลองทดสอบการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสบการณ์ที่เพียงพอหรือไม่ก่อนทำการจ้างงาน เพื่อลดความกังวลของผู้ว่าจ้าง
สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรามีแนวทางในการดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษา

ขั้นตอนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. การดูแลทางด้านร่างกาย หากผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ควรแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบว่ามีอาการอย่างไร และเจ็บปวดบริเวณใด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการปวดและให้การรักษาดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการของตนได้ ผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง หายใจแรง หายใจเร็ว เป็นต้น
2. การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโศกเศร้าเสียใจ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรให้คำแนะนำ และให้กำลังใจกับผู้ป่วย
3. การดูแลทางด้านสังคม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและทำในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ