ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน พัทยา, ชลบุรี

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน พัทยา, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ง่ายตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อหาคนดูแลเลยค่ะ ใส่ใจดูแลให้หมดทุกอย่างเลย แค่บอกว่าต้องการคนดูแลแบบไหนบ้าง ประทับใจมากค่ะ
Saijai
กมลชนก วิสุทธิสาร
3 ปีที่แล้ว
ดูแลดี ไว้ใจได้ หายห่วงค่ะ
Saijai
กานต์ศรันย์ เจริญกิจธารา
3 ปีที่แล้ว
คนดูแลที่ได้มา ผ่านการดูแลคนป่วยโรคมะเร็งมาเยอะ เค้ารู้วิธีการดูแล การพูดยังไงให้คนไข้รู้สึกสบายใจ ส่วนตัวเราชอบมาก เพราะคนดูแล ดูแลอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้วิธีการสื่อสารกับคนไข้ด้วย จิตใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
Saijai
ธีรเดช ทวีรุ่งโรจน์
3 ปีที่แล้ว
คุณปู่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายต้องอยู่โรงพยาบาลหลายเดือน ทางโรงพยาบาลต้องให้มีคนเฝ้าอย่าง 1 คนที่ต้องอยู่ด้วยตลอด ผมเลยจ้างคนดูแลที่หาเจอบนเว็บไซต์ใส่ใจ ประทับใจครับ
Saijai
มานิตย์ ยิ้มสว่าง
3 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและอะไรคือจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึงผู้ที่ป่วยด้วยอาการป่วยที่เป็นระยะท้าย ๆ ของโรค ไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้หายและคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่เกิน 1 ปี จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่ง WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความอีกว่า เป็นการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) และครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต รวมถึงการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการดูแลครอบครัวและญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการดูแลนั้นเริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้าย หรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะ สำหรับโรคนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวในต้องการ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ด้วยหวังให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบไม่มีเรื่องติดค้างไว้เบื้องหลัง
หากคุณกำลังมองหาผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณสมบัติอะไรบ้างที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี
สําหรับ palliative care หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไหร่ นอกจากการดูแลรักษาทางกาย แล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ช่วยเหลือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือด้านอารมณ์ไม่ให้เกิดความวิตกกังวลเกินไป ผู้ดูแลอาจใช้หลักความเชื่อของแต่ละศาสนา มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเข้าใจ หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และแนวทางการดูแลผู้ป่วย มักมีความแตกต่างกันไปสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เปิดใจรับข้อมูลและการรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เรียนรู้ความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
สำคัญที่สุด ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องที่จําเป็น มีความสามารถในการตัดสินใจ ติดต่อประสานงานได้ ไม่ตื่นตกใจ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกต้องเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบายหรือภาวะวิกฤติ และมีความสามารถดูแลสุขภาพกาย เพราะอาจต้องทำงานหนักและพักผ่อนน้อย ดูแลจิตใจของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและผู้ป่วย
สิ่งที่คุณควรตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถไว้ใจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างมาได้
ในยุคสังคมวัตถุนิยมเพราะสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายๆ คนไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยในบ้าน ยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้ายด้วยแล้ว ยิ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่จะหามาดูแลญาติของเรานั้นจะไว้ใจเขาได้อย่างไร? เพราะผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมาก เรามาดูกันค่ะ

1. ควรตรวจสอบวุฒิการศึกษาและประวัติการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะได้รับการรักษาแบบประคับประคองตามอาการดังนั้นผู้ดูแลจะมีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและควรผ่านการอบรมหลักสูตร พนักงานผู้ช่วยพยาบาล (โดยมีการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย)
3. มีการตรวจสอบผลการตรวจสุขภาพผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายก่อนเข้าทำงาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
4. มีการพูดคุยถึงอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายกับผู้ดูแลก่อน หรือลองยกตัวอย่างคำถามเพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้แก้ไขสถานการณ์ หลังจากนั้นก็ทำการประเมินผลว่าคำตอบที่ได้เป็นที่น่าพอใจและน่าไว้วางใจให้ผู้ดูแลอยู่กับผู้ป่วยอยู่ตามลำพังได้หรือไม่
5. ลองทดสอบการทำงานของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสบการณ์ที่เพียงพอหรือไม่ก่อนทำการจ้างงาน เพื่อลดความกังวลของผู้ว่าจ้าง
เรามีแนวทางสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไร
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือ ลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ

แนวทางสำคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายดังนี้

1. หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ให้การดูทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นการดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว หากคนใดคนหนึ่งในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนอื่นๆ ในครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วยไปด้วย
2. การรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้าใจความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยและครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ข้อมูลของการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางการดูแล
3. ระลึกไว้เสมอว่าการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี้ ไม่ใช่เป็นการยื้อชีวิตของผู้ป่วยด้วยการใช้เครื่องมือและความรู้ทางการแพทย์ที่อาจทำให้ผู้ป่วยทรมานและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในขณะเดียวกันต้องไม่เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าความเป็นไปของโรคตามธรรมชาติ การดูแลต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอและจัดการบรรเทาอาการเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน