ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สันกำแพง, เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สันกำแพง, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ดิฉันเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลพี่สาวที่เส้นเลือดในสมองแตกไปเยอะมาก แล้วก็ยังต้องหาคนมาดูแลเค้าที่บ้านอีก กังวลใจมากว่าจะหาคนดูแลในงบประมาณที่เรามีไม่ได้ แต่สุดท้ายได้คนดูแลที่มีประสบการณ์และราคาเป็นกันเองมาช่วย กังวลอยู่นานว่าจะหาคนดูแลไม่ได้ ดิฉันขอบคุณเว็บใส่ใจจริงๆค่ะ ที่ทำให้ดิฉันหาคนได้ในราคาที่ต้องการ
Saijai
วราณี รังเสาร์วิเชียร
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
3 ปีที่แล้ว
ความใส่ใจในรายละเอียดและเอาใจใส่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ในช่วงที่ทุกคนในบ้านเป็นทุกข์ แต่เราได้ผู้ดูแลดูแลคุณพ่ออย่างดี ทำอาหาร ชำระร่างกาย ทำแผล และดูแลท่านตลอดเวลา ดูแลเหมือนญาติอีกคน
Saijai
เอนก วงศ์วาณิชย์
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายต้องอยู่โรงพยาบาลหลายเดือน ทางโรงพยาบาลต้องให้มีคนเฝ้าอย่าง 1 คนที่ต้องอยู่ด้วยตลอด ผมเลยจ้างคนดูแลที่หาเจอบนเว็บไซต์ใส่ใจ ประทับใจครับ
Saijai
มานิตย์ ยิ้มสว่าง
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและอะไรคือจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึงผู้ที่ป่วยด้วยอาการป่วยที่เป็นระยะท้าย ๆ ของโรค ไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้หายและคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่เกิน 1 ปี จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่ง WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความอีกว่า เป็นการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) และครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต รวมถึงการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการดูแลครอบครัวและญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการดูแลนั้นเริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้าย หรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะ สำหรับโรคนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวในต้องการ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ด้วยหวังให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบไม่มีเรื่องติดค้างไว้เบื้องหลัง
คุณสมบัติอะไรบ้างของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care) หรือการดูแลแบบประคับประคองว่า เป็นการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรค โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการทุกข์ทรมานด้านต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพ ได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย ทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแล คือ การลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสามารถช่วยดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งช่วยดูแลความรู้สึกของผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อมีบุคคลในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้คนอื่น ๆในครอบครัวได้รับผลกระทบจากการป่วยโดยเฉพาะทางด้านจิตใจ
2. ผู้ดูแลสามารถประเมินผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้อย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หรือจากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เครียด เบื่ออาหาร เป็นต้น
3. เป็นคนรักษาความลับของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดี โดยให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล รวมไปถึงการให้ความเคารพในความเชื่อทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
4. ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องมีความรู้เบื้องต้นในการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยได้

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติหลัก ๆ ที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี เพราะการดูแลชีวิตของผู้ป่วยถือเป็นสิ่งสำคัญ หากคนดูแลและครอบครัวดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ดีจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
ข้อควรสังเกตเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างเป็นคนที่ไว้ใจได้
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ดูแลต้องมีความอดทน ความรู้ ความเข้าใจอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างดี ที่สำคัญผู้ดูแลต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อครอบครัวจำเป็นต้องว่าจ้างผู้ดูแลเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวของผู้ป่วยย่อมยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ดี

ข้อแนะนำที่จะช่วยให้ครอบครัวสามารถคลายกังวลใจเมื่อต้องให้ผู้ป่วยอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่สามารถไว้ใจได้มีดังนี้

1. มองหาผู้ดูแลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ญาติ เพื่อน บริษัทตัวแทนหรือเว็บไซต์สำหรับหาผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง การใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เฟสบุค หรือไลน์ เป็นช่องทางในการหาผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดูจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บางเว็บไซต์มีการรีวิวประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้ที่เคยใช้บริการ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้อีกทาง
2. ผู้ดูแลมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะดูจากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นถือว่าส่วนที่สำคัญที่สุด จะสามารถรู้ได้ว่าผู้ดูแลคนนี้ทำงานเคยทำงานมาแล้วกี่ปี ดูแลผู้ป่วยมาแล้วกี่คน เพื่อใช้ประกอบการณ์ตัดสินใจ วุฒิการศึกษา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย หากผู้ดูแลที่จ้างมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ก็สามารถไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง
3. ก่อนตัดสินใจว่าจ้างผู้ว่าจ้างควรมีการนัดสัมภาษณ์งานก่อน เพราะญาติสามารถดูบุคลิกของผู้ดูแล การพูดจา การแต่งตัว ความสะอาด รวมถึงสามารถถามคำถามเพื่อใช้วัดว่า ผู้ดูแลพร้อมทำงานมากแค่ไหน

สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรามีแนวทางในการดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษา

ขั้นตอนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. การดูแลทางด้านร่างกาย หากผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ควรแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบว่ามีอาการอย่างไร และเจ็บปวดบริเวณใด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการปวดและให้การรักษาดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการของตนได้ ผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง หายใจแรง หายใจเร็ว เป็นต้น
2. การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโศกเศร้าเสียใจ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรให้คำแนะนำ และให้กำลังใจกับผู้ป่วย
3. การดูแลทางด้านสังคม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและทำในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ