ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สารภี, เชียงใหม่

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน สารภี, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
ง่ายตั้งแต่ขั้นตอนการติดต่อหาคนดูแลเลยค่ะ ใส่ใจดูแลให้หมดทุกอย่างเลย แค่บอกว่าต้องการคนดูแลแบบไหนบ้าง ประทับใจมากค่ะ
Saijai
กมลชนก วิสุทธิสาร
3 ปีที่แล้ว
ดิฉันเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลพี่สาวที่เส้นเลือดในสมองแตกไปเยอะมาก แล้วก็ยังต้องหาคนมาดูแลเค้าที่บ้านอีก กังวลใจมากว่าจะหาคนดูแลในงบประมาณที่เรามีไม่ได้ แต่สุดท้ายได้คนดูแลที่มีประสบการณ์และราคาเป็นกันเองมาช่วย กังวลอยู่นานว่าจะหาคนดูแลไม่ได้ ดิฉันขอบคุณเว็บใส่ใจจริงๆค่ะ ที่ทำให้ดิฉันหาคนได้ในราคาที่ต้องการ
Saijai
วราณี รังเสาร์วิเชียร
3 ปีที่แล้ว
ค่าใช้จ่ายแม้จะสูงขึ้นมาแต่ด้วยความเป็นมืออาชีพ ที่ต้องดูแลป้อนอาหารทางสายยาง การเช็ดตัวคอยดุแลสุขอนามัย ที่สำคัญมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ก่อนที่จะจ้างผมเคยดูแลคุณตาด้วยตัวเองแต่ ทำให้นอนน้อยมากสุขภาพเลยไม่อำนวย เลยจ้างพี่เลี้ยงมาช่วยดูแล ถือว่าคุ้มครับ ผมได้พักมากขึ้น คุณตาได้มืออาชีพดูแล
Saijai
ศิริ ธนะปรียาสกุล
4 ปีที่แล้ว
เราว่าเว็บใส่ใจใช้งานง่าย ช่วยประหยัดเวลาในการนั่งส่งอีเมลหรือข้อความไปสอบถาม เพราะเราต้องการคนด่วนมาก ขอบคุณเว็บใส่ใจจริง ๆ ค่ะ ช่วยเราได้มากจริง ๆ
Saijai
วรรณา แก้วดี
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและอะไรคือจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึงผู้ที่ป่วยด้วยอาการป่วยที่เป็นระยะท้าย ๆ ของโรค ไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้หายและคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่เกิน 1 ปี จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่ง WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความอีกว่า เป็นการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) และครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต รวมถึงการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการดูแลครอบครัวและญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการดูแลนั้นเริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้าย หรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะ สำหรับโรคนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวในต้องการ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ด้วยหวังให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบไม่มีเรื่องติดค้างไว้เบื้องหลัง
ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่การดูแลเพียงเฉพาะสุขภาพกายเท่านั้น แต่รวมไปถึงการดูแลสภาพจิตใจด้วย ซึ่งเป็นการดูแลแบบประคับประคองในช่วงสุดท้ายของโรคเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูดคุยสอบถามความต้องการของญาติถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่มีแบบแผนที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของญาติเป็นสำคัญ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเผชิญกับอาการป่วย ที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายต่าง ๆ และทำให้สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคและอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่กำลังดูแลอยู่เป็นอย่างดี เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมีการสูญเสียความอยากอาหาร เนื่องจากกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ผู้ดูแลไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเครียด และระบบการทำงานของร่างกายผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปซึ่งมาจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถทำงานได้ อาจทำให้ผู้ป่วย สำลัก หรืออาเจียน ผู้ดูแลควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการเหล่านี้ของผู้ป่วยเป็นอย่างดี
2. มีใจรักและพร้อมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างเต็มที่ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีความวิตกกังวล ความเครียด มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ รวมถึงอาการหลาย ๆ อย่างที่แสดงออกมา เช่นในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการพูดและการมองเห็น ผู้ดูแลอาจจะคิดว่าผู้ป่วยไม่รับรู้อะไรแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางรายประสาทการฟังยังทำงานได้อยู่ รับรู้ในสิ่งที่ผู้คนรอบข้างคุยกัน ผู้ดูแลจึงไม่ควรบ่น หรือใช้คำพูดที่อาจกระทบกระเทือนใจผู้ป่วยได้
3. สามารถอำนวยความสะดวกในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยอย่างเต็มที่ การดูแลจะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายที่สุด ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยในแต่ละวันเช่น ทำความสะอาดปาก โดยใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดทำความในปาก หยอดน้ำตาเทียม ไม่ให้ตาแห้ง พลิกตัวผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และทำกายภาพบำบัด เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งหด และลดอาการปวดได้
ข้อควรสังเกตเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างเป็นคนที่ไว้ใจได้
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ดูแลต้องมีความอดทน ความรู้ ความเข้าใจอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างดี ที่สำคัญผู้ดูแลต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อครอบครัวจำเป็นต้องว่าจ้างผู้ดูแลเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวของผู้ป่วยย่อมยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ดี

ข้อแนะนำที่จะช่วยให้ครอบครัวสามารถคลายกังวลใจเมื่อต้องให้ผู้ป่วยอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่สามารถไว้ใจได้มีดังนี้

1. มองหาผู้ดูแลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ญาติ เพื่อน บริษัทตัวแทนหรือเว็บไซต์สำหรับหาผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง การใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เฟสบุค หรือไลน์ เป็นช่องทางในการหาผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดูจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บางเว็บไซต์มีการรีวิวประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้ที่เคยใช้บริการ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้อีกทาง
2. ผู้ดูแลมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะดูจากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นถือว่าส่วนที่สำคัญที่สุด จะสามารถรู้ได้ว่าผู้ดูแลคนนี้ทำงานเคยทำงานมาแล้วกี่ปี ดูแลผู้ป่วยมาแล้วกี่คน เพื่อใช้ประกอบการณ์ตัดสินใจ วุฒิการศึกษา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย หากผู้ดูแลที่จ้างมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ก็สามารถไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง
3. ก่อนตัดสินใจว่าจ้างผู้ว่าจ้างควรมีการนัดสัมภาษณ์งานก่อน เพราะญาติสามารถดูบุคลิกของผู้ดูแล การพูดจา การแต่งตัว ความสะอาด รวมถึงสามารถถามคำถามเพื่อใช้วัดว่า ผู้ดูแลพร้อมทำงานมากแค่ไหน

สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เรามีแนวทางในการดูแลอย่างไร
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ การดูแลประคับประคอง รักษาบรรเทาอาการผู้ป่วยที่มีอาการหนัก หรือป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีองค์ประกอบหลายๆ ด้าน ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระหว่างการรักษา

ขั้นตอนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. การดูแลทางด้านร่างกาย หากผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ควรแจ้งให้แพทย์และผู้ดูแลทราบว่ามีอาการอย่างไร และเจ็บปวดบริเวณใด เพื่อให้ทราบสาเหตุของอาการปวดและให้การรักษาดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการของตนได้ ผู้ดูแลสามารถสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ เช่น ผู้ป่วยหายใจเสียงดัง หายใจแรง หายใจเร็ว เป็นต้น
2. การดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ เช่น ความกลัว ความโศกเศร้าเสียใจ ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ผู้ดูแลและผู้ใกล้ชิดควรให้คำแนะนำ และให้กำลังใจกับผู้ป่วย
3. การดูแลทางด้านสังคม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและประเมินปัญหาทางด้านสังคมที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกับครอบครัว และประเมินความพร้อมในการรับรู้ความจริง เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการต่อไปได้อย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้ามีความตั้งใจและมุ่งมั่น โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและทำในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ