วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็กชั่วคราว รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง พี่เลี้ยงสองภาษา พี่เลี้ยงวันหยุดบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันสวัสดีค่ะ ชื่อจอยนะคะ อายุ 22 ปีค่ะ เพิ่งจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลันหอการค้าไทย สาขาภาษาอังกฤษและการแปลค่ะ เคยช่วยพี่เลี้ยงหลานตอนช่วงปิดเทอมค่ะ และตอนนี้อยากหาประสบการณ์เลี้ยงเด็กเพิ่มค่ะ เพื่อที่จะสมัครเป็นออแพร์ที่ต่างประเทศค่ะ เป็นคนใจเย็นและใจดีค่ะ สามารถสอนภาษาอังกฤษน้องและสอนการบ้านน้องได้ค่ะ เข้ากับเด็กได้ดีและชอบอยู่กับเด็กค่ะ
แสดงผล 21 ถึง 30 จาก 30 ผลการค้นหา
1 2ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงเด็ก
• ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อ รวมไปถึงประวัติการศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กคนนั้น ๆ จริง
• ต้องมีการตรวจสอบประวัติการทำงานจากสถานที่ทำงานที่ผ่านมาเพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กคนดังกล่าวนั้นเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เคยใช่บริการก่อนหน้าไม่สามารถไว้ใจพี่เลี้ยงเด็กคนดังกล่าวหรือไม่
• การเลือกใช้พี่เลี้ยงเด็กจากบริษัทจัดหางานหรือเอเจนซี่ (Agency) เป็นอีกวีธีที่ช่วยตรวจสอบได้ เพราะทางบริษัทจัดหางานได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นของพี่เลี้ยงเด็กไว้แล้ว และอาจมีข้อมูลประวัติการทำงานจากนายจ้างเก่าด้วย
• หลังจากตกลงว่าจ้างและเริ่มงานก็ควรเฝ้าดูแลพฤติกรรมและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของพี่เลี้ยงเล็กอยู่ตลอดเวลา พ่อแม่หรือผู้ปกครองบางท่านอาจจะดูแลควบคู่ไปกับพี่เลี้ยงเด็กสักระยะหนึ่งก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กสามารถทำงานได้ตามที่รับมอบหมาย หากพ่อแม่เองไม่มีเวลาอาจจะให้บุคคลอื่นที่ท่านไว้วางใจคอยสังเกตพฤติกรรมของพี่เลี้ยง
• พ่อแม่หรือผู้ปกครององต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของลูกท่านด้วย เช่น หากลูกของท่านแสดงออกว่าไม่มีความสุข มีความตระหนกหวหวาดกลัวเมื่อต้องอยู่กับพี่เลี้ยง หรือ ลูกรักของท่านมีอุบัติเหตุบ่อยเหลือเกิน ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหรือสามารถหลีกเลี่ยงด้ เช่นเดี๋ยวหกล้ม หัวโน ยุงกัดเต็มตัว มีรอยฟกช้ำจากการชนขอบโต๊ะ พ่อแม่ไม่ควรละเลยและเร่งตรวจสอบถึงสาเหตุของอาการดังกล่าว
1. พ่อแม่ควรถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของพี่เลี้ยง เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ งานอดิเรก ไปจนถึงความสามารถในการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ให้เด็ก เช่น การทำอาหาร การอาบน้ำให้เด็ก การพาเด็กเข้านอน เป็นต้น
2. ถามเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีต พ่อแม่อาจถามพี่เลี้ยงเด็กว่าเคยเป็นพี่เลี้ยงเด็กมานานกี่ปี เคยรับดูแลเด็กมาแล้วกี่ครอบครัว ในขณะเดียวกันพ่อแม่อาจขอให้พี่เลี้ยงเล่าถึงประสบการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่เคยพบเจอมากับการเป็นพี่เลี้ยงเด็ก และถามว่าผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาได้อย่างไร
3. คำถามเกี่ยวกับการรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินของพี่เลี้ยงเด็ก เช่น ถามว่าพี่เลี้ยงเด็กเคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินบ้างหรือไม่ เมื่อเกิดปัญหา หรือมีเหตุด่วนเหตุร้ายเกิดขึ้น พี่เลี้ยงจะสามารถติดต่อใครเพื่อขอความช่วยเหลือได้บ้าง เป็นต้น
4. ถามเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่พี่เลี้ยงเด็กสามารถทำร่วมกันกับเด็ก ได้ในยามว่าง พ่อแม่อาจลองยกตัวอย่างสถานการณ์มา เช่น หากอยากให้เด็กหลีกเลี่ยงการจับโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต พี่เลี้ยงจะชวนเด็กทำกิจกรรมใดแทน เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือแนวคำถามที่คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปถามพี่เลี้ยงเด็กขณะทำการสัมภาษณ์ได้ โดยระหว่างการสัมภาษณ์นั้นควรทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างเรียบง่ายและไม่กดดันเกิดไป เพื่อให้พี่เลี้ยงเด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างเป็นตัวเองมากขึ้น ซึ่งโอกาสที่พ่อแม่จะเข้าถึงตัวตนของพี่เลี้ยงก็มีมากขึ้นเช่นเดียวกัน
1. แฝงการเรียนรู้กฎกติกาในกิจกรรม เพื่อให้เด็กเข้าใจหน้าที่ของตัวเอง เช่นเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ หรือไม่เล่นขณะรับประทานอาหาร เพราะการฝึกวินัยผ่านการใช้กติกา จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเอง (Self – Regulation) การควบคุมตนเองเป็นกระบวนการที่สมองของเด็กดำเนินการซึ่งทำให้พวกเขาสามารถควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์เฉพาะได้
2. ฝึกร้องเพลง สิ่งที่ได้จากกิจกรรมที่มีความสุขสนุกสนานอย่างการร้อง คือกิจกรรมการพัฒนา (Working memory) หน่วยความจำในการทำงานเป็นระบบความ ความจำในการทำงานมีความสำคัญต่อการใช้เหตุผลและแนวทางในการตัดสินใจและพฤติกรรม
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ เต้นตามเพลงช้า เร็ว ตามจังหวะเพลง เมื่อเพลงจบเด็กต้องหยุดรอ ก่อนขึ้นเพลงต่อไป การรอ คือการควบคุมยับยั้งชั่งใจ (Self-Inhibition) ได้เป็นอย่างดี
4. ฝึกขว้างสิ่งของ เด็กเล็ก ๆ มักสนุกกับการขว้างสิ่งของ เปลี่ยนเป็นกิจกรรมรับส่งลูกบอล เช่น ขอให้เด็กส่งบอลสีฟ้ามาให้ หรือใช้ให้เด็กหยิบนิทานมาให้ เป็นการฝึกพัฒนาการประสาทมือประสาทสายตา การเข้าใจความหมายของสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว
5. ฝึกเล่าเรื่อง เริ่มจากพี่เลี้ยงเล่านิทาน ที่เด็ก ๆ สนใจ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แฝงพัฒนาการทางด้านภาษา อาจใช้ตุ๊กตาหรือของเล่นเป็นบทบาทสมมุติ เป็นการฝึกการคิดแก้ปัญหา เช่น ถ้าหนูเดินไปเจอหมาป่าตรงนั้นหนูจะทำอย่างไรคะ เด็กจะฉุกคิด คำตอบอาจเป็นให้วิ่งไปหาคุณพ่อคุณแม่ หรือกลับมาหาพี่เลี้ยง เป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับการฉุกคิดแก้ปัญหา
กิจกรรมเหล่านี้เสริมพัฒนาการ ทางด้าน EQ (Emotional Quotient) และ IQ (Intelligence Quotient) ไปในตัว
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง