วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ประเภทงานบริการ
พี่เลี้ยงเด็ก พี่เลี้ยงเด็กชั่วคราว รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง พี่เลี้ยงสองภาษา พี่เลี้ยงวันหยุดบริการในเมืองยอดนิยม
บางเขน บางกอกน้อย ป้อมปราบศัตรูพ่า พระนคร บางพลัด บางบอน พระโขนง ภาษีเจริญ คลองสามวา ตลิ่งชันข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง
อย่างแรกเลยคุณพ่อคุณแม่ต้องมีการสื่อสารพูดคุยอย่างจริงจังกับพี่เลี้ยงเด็กเพื่อส่งต่อและรับข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและวิธีการดูแล หากคุณพ่อคุณแม่มีคำถามหรือข้อสงสัย ควรพูดคุยและทำความเข้าใจให้ตรงกัน การเก็บความสงสัยไว้คนเดียวโดยไม่ได้พูดคุยกับพี่เลี้ยงเด็ก ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาและไม่ได้ช่วยคลายกังวลของคุณพ่อคุณแม่ลงเลย
นอกจากการเลือกพี่เลี้ยงเด็กและบ้านเลี้ยงเด็กแล้ว การสอบถามลูกว่าได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างตอนอยู่บ้านพี่เลี้ยง เป็นความใส่ใจและได้สังเกตพัฒนาการของลูก หากลูกยังเป็นเด็กเล็ก ให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำกิจกรรมเล่นกับลูกและใช้คำสั่งง่าย ๆ เพื่อดูการโต้ตอบ จะช่วยให้สามารถเรียนรู้ถึงพัฒนาการได้ เช่น คุณพ่อคุณแม่ลองขอบอล ขอหนังสือจากลูก ๆ แล้วดูว่าลูกมีปฏิกิริยาอย่างไร
คุณพ่อคุณแม่ควรไปรับส่งลูกที่บ้านพี่เลี้ยงด้วยตัวเองทุกครั้ง เพราะสามารถสังเกตสภาพแวดล้อมภายในบ้านว่าสะอาดเรียบร้อยดีหรือไม่ อาจเสนอแนะให้พี่เลี้ยงเด็กระวังเป็นพิเศษในจุดที่เป็นอันตรายและทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น เหลี่ยมเสา มุมโต๊ะ บริเวณพื้นต่างระดับ ชั้นว่างของ หรือขั้นบันไดที่เด็กจะปีนป่ายได้
ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารในปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่สามารถตั้งไลน์กลุ่ม (LINE Group) หรือช่องทางแชทอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถ วิดีโอคอลหา (Video Call) พี่เลี้ยงเด็กในระหว่างวัน หรือสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ของเด็กคนอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยงเด็กคนเดียวกัน เป็นอีกวิธีที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยกันเป็นหูเป็นการให้แน่ใจว่าเด็กได้รับการดูแลที่ดีและปลอดภัย
1. ควรมีการพูดคุยสัมภาษณ์พี่เลี้ยงหลายครั้งเพื่อให้รู้ถึง บุคลิก หรือ ลักษณะนิสัยที่แท้จริงของพี่เลี้ยงนั้น เพราะการพูดคุยแค่ครั้ง หรือสองครั้งอาจไม่สามารถทราบ หรือสัมผัสได้ถึงบุคลิกที่แท้จริง
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานของพี่เลี้ยงคนนั้นจากหลายคนทั้งเพื่อน คนใกล้ชิด และนายจ้างที่เคยใช้บริการมาก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงคนดังกล่าวมี พฤติกรรม หรือมีประวัติอย่างไร ซึ่งวิธีนี้เป็นการช่วยให้พ่อแม่มีข้อมูลในการตัดสินใจ หากจากการตรวจสอบประวัติ คุณได้รับข้อมูลในทางลบจากหลาย ๆ คน เช่น หาก 3 ใน 5 คนของผู้ที่เคยใช้บริการมีประสบการณ์ในแง่ลบ จะช่วยให้พ่อแม่สามารถพิจารณาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
3. ตรวจสอบความรู้หรือหลักสูตรต่าง ๆ ที่พี่เลี้ยงผ่านการอบรมหรือทดสอบมาจริง โดยอาจมีการสอบถามกับสถาบันผู้ออกประกาศนียบัตรแต่ละฉบับนั้น
4. เพื่อความสบายใจและเป็นการยืนยันว่าพี่เลี้ยงนั้นไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน ควรขอให้พี่เลี้ยงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองพิสูจน์หลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ้าพี่เลี้ยงปฏิเสธอาจทำให้สงสัยได้ว่าพี่เลี้ยงคนนั้นมีอะไรปิดปัง หรือไม่บริสุทธิ์ใจ
5. ตรวจสอบที่ตั้งของบ้านของพี่เลี้ยงเด็กว่าตั้งอยู่ที่ไหน ไม่ควรไกลจากบ้าน หรือ ที่ทำงานของพ่อแม่ หรือญาติสนิทที่สามารถไว้วางใจได้ ตรวจสอบถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ บรรยากาศของบ้าน นอกเหนือจากพี่เลี้ยงเด็กแล้วมีใครอาศัยอยู่ในบ้านนั้นด้วยบ้างไหม เพื่อนบ้านรอบข้าง หรือในพื้นที่ใกล้เคียงมีลักษณะเป็นอย่างไร มีพื้นที่ให้ลูกของคุณได้วิ่งเล่นหรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
6. ทดลองพาลูกของคุณไปทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง ไปพบพี่เลี้ยงที่บ้านโดยที่คุณอยู่ด้วยตลอดเวลา เพื่อสังเกตดูว่าเด็กสามารถเข้ากับพี่เลี้ยงได้ดีหรือไม่ ลูกชอบสถานที่ สภาพแวดล้อมหรือไม่
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำของทางใส่ใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังตัดสินใจส่งลูกไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยงค่ะ
พ่อแม่ควรลองสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกคุณได้ดังนี้
1. สังเกตสภาพร่างกายของลูกว่ามีรอยฟกช้ำดำเขียว แผล ถลอก ต่าง ๆ ที่ผิดปกติ หากพบเห็นบ่อย ต้องพูดคุยและสอบถามจากทั้งตัวลูกของคุณเอง และ จากทางพี่เลี้ยงว่าร่องรอยเหล่านั้นเกิดจากสาเหตุใด
2. พยายามสังเกตอารมณ์และการแสดงออกของลูกว่าผิดปกติไปจากเดิมก่อนฝากเลี้ยงที่บ้านพี่เลี้ยงหรือไม่ เด็กมีการงอแง มีอาการหวาดกลัว หรือไม่อยากไปบ้านพี่เลี้ยงหรือเปล่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ เพราะหากเด็กมีความรู้สึกเช่นนั้นแสดงว่าเด็กต้องพบเจอ หรือประสบเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้หวาดกลัว และไม่อยากกลับไปที่บ้านพี่เลี้ยงอีก ซึ่งในบางครั้งเหตุการณ์ที่เด็กประสบอาจจะไม่ได้เกิดจากการกระทำของพี่เลี้ยงโดยตรง แต่อาจเป็นสิ่งที่เด็กพบเห็นจากสภาพแวดล้อมใกล้เคียงหรือรอบบ้านพี่เลี้ยง
3. พ่อแม่ควรใส่ใจสังเกตพฤติกรรมของลูก ก่อนและหลังไปบ้านพี่เลี้ยง ควรชวนลูกคุย เพื่อสอบถาม หรือชักชวนให้ลูกเล่าให้ฟังว่าแต่ละวันทำอะไรบ้าง การเป็นอยู่เป็นแบบไหนหรือการเลี้ยงดูของพี่เลี้ยงนั้นเป็นอย่างไร มีสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบอะไรบ้าง ควรพูดคุยให้เพลิดเพลินโดยไม่ใช้การบังคับหรือเค้นเอาความจริง
4. พ่อแม่จำเป็นต้องสังเกต พัฒนาการการเจริญเติบโตในภาพรวมของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เช่นเกณฑ์มาตรฐานเรื่องสภาพร่างกาย น้ำหนัก ส่วนสูง ที่จะต้องได้มาตรฐานไม่สูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์จนเกินไป หรือ พัฒนาการเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามช่วงอายุหรือไม่ เด็กสองถึงสามเดือน เริ่มยิ้ม เริ่มชันคอ หรือจำหน้าแม่ได้ หรือ สี่ถึงหกเดือนเริ่มคว่ำได้ หรือนั่งแบบใช้มือยัน เจ็ดถึงสิบก็เริ่มนั่ง เริ่มหาที่เกาะเพื่อยืน หรือเริ่มคลานได้ เป็นต้น พัฒนาการเหล่านี้จะบ่งชี้ให้เห็นว่าพี่เลี้ยงดูแลเด็กได้เหมาะสมหรือไม่ และหากไม่เป็นไปตามเกณฑ์อย่างไร จะได้หาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง