รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง ใน ชลบุรี

รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง ใน ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ขอชื่นชมในเรื่องของการบริการเลยค่ะ ถือว่าตอบโจทย์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องออกไปทำธุระด้านนอกอยู่บ่อย ๆ มาก เวลาที่พาเด็กไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยงก็จะได้รับการต้อนรับอย่างดี ตอนมารับกลับบ้านพี่เลี้ยงก็จะคอยอัปเดตเรื่องต่าง ๆ ให้เราด้วยค่ะ
Saijai
ณัฐณิชา สวัสดิรักษ์
3 ปีที่แล้ว
จองพี่เลี้ยงจากเว็บใส่ใจ เป็นมากกว่าพี่เลี้ยงเด็กอีกค่ะ นอกจากช่วยดูแลเรื่องทั่ว ๆ ไปของเด็กแล้ว ยังใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับลูกของเราอยู่ตลอด เป็นทั้งพี่และเพื่อนให้ลูกสาวไปเลยค่ะ น้องมีความสุขที่ได้อยู่กับพี่เลี้ยง ผู้ปกครองอย่างเราก็สบายใจหายห่วงไปด้วยค่ะ
Saijai
อนุรักษ์ ทิศาวลัย
3 ปีที่แล้ว
ใช้บริการฝากลูกไว้ที่บ้านพี่เลี้ยง เพราะเราไม่สะดวกที่จะจ้างพี่เลี้ยงมาเลี้ยงลูกเราที่บ้าน แต่ก่อนพาไปฝาก เราเช็คประวัติพี่เลี้ยง ไปดูสถานที่จริงเองด้วย เพื่อความสบายใจ บ้านพี่เลี้ยงมีเด็กสามสี่คน หลังจากฝากเลี้ยงลูกกับพี่เลี้ยง เราถามลูกตลอดว่าเป็นไงบ้าง ลูกบอกสนุกค่ะ มีเพื่อนเยอะเลย
Saijai
แพรวนภา กาญจนวานิจย์
4 ปีที่แล้ว
บ้านอยู่แถวบางนา มองหาที่ฝากเลี้ยงลูกมานานแล้วหายากมาก ๆ จนมาเจอเวปใส่ใจ สามารถหาที่ฝากเลี้ยงได้ง่ายมาก ไม่ผิดหวังจริงๆที่เลือกใช้งานเว็บใส่ใจ
Saijai
ศศิธร เรืองรอง
4 ปีที่แล้ว
ปลื้มมากเว่อร์ ในที่สุดชั้นก็เจอเว็บไซต์ที่หาพี่เลี้ยงได้ตรงใจมาก แฮปปี้ค้าา
Saijai
กรกนก กิจสมานทวี
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา รับเลี้ยงเด็กที่บ้านตัวเอง

ฝากเลี้ยงเด็กที่บ้านพี่เลี้ยงต่างจากการฝากเลี้ยงที่ศูนย์เลี้ยงเด็กอย่างไร
สมัยนี้พ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ทำให้ต้องมองหาตัวช่วยเช่นพี่เลี้ยงที่รับดูแลเด็กที่บ้านหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่เราคิดหรือไม่ว่าบ้านเลี้ยงเด็กกับสถานที่รับเลี้ยงเด็กต่างกันอย่างไร

เมื่อให้ลูกไปอยู่ที่บ้านรับเลี้ยงเด็กที่ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก การเดินทางไม่ไกล เพราะพ่อแม่ต้องคุ้นเคยอยู่บ้างและสะดวกในการรับส่ง ในบ้านนั้นเด็กๆได้เรียนรู้การเข้าสังคม เพราะต้องอยู่กับเพื่อนๆหลายวัยที่ใกล้เคียงกัน ต้องมีการปรับตัวในการเข้าสังคม เป็นการฝึกพัฒนาการด้าน EQ ไปในตัว การรู้จักการรอคอยเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อน สิ่งดึงดูดความสนใจ นิทาน เกมส์ หรือดนตรี ร้องเพลง ในบ้านที่มีลักษณะคล้ายๆบ้านที่เด็กเคยอยู่ ทำให้ปรับตัวได้ไม่ยาก นม ขนมหรืออาหาร พ่อแม่อาจเตรียมมาให้ เพราะได้จะได้คุยเคยกับสิ่งที่เคยทานมาก่อน ปัญหาที่จะเจอก็อาจเป็นแค่การปรับตัว ให้เข้ากับสังคมใหม่ๆ เด็กอาจทานได้น้อยลงเพราะแปลกสถานที่ แปลกคนป้อน แต่เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่เรียนรู้และปรับตัวได้เสมอ

สถานที่รับเลี้ยงเด็ก อย่างแรกที่แตกต่างคือการจัดการ พ่อแม่มีโอกาสได้พูดคุย ถึงวิธีการ แผนการดูแล ซึ่งมีการโฆษณาดึงดูดความสนใจ ปริมาณเด็กอาจมีถึง 25-30 คนต่อหนึ่งห้อง (จุดคุ้มทุนในการลงทุน) โดยมีพี่เลี้ยงเด็ก 1-2 คน พ่อและแม่อาจรู้พัฒนาการของลูกๆผ่าน สมุดบันทึกกิจกรรมให้พ่อแม่ดู ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรไปบ้าง เช่นน้องสนใจร้องเพลงดี แต่ทานข้าวได้น้อย น้องยังปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ยังไม่แบ่งของเล่น ฯลฯ และเมื่อเด็กเล็กๆต้องอยู่รวมกันในสถานที่ใดที่หนึ่งปัญหาที่ตามมา ที่ยังแก้ได้ยาก คือการติดเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เช่นโรค ไข้หวัดและท้องร่วง หรือแม้แต่อาจเกิดการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ จากการเล่นกับเพื่อน เรื่องการกินอาหาร เด็กๆจำนวนมากในสถานที่รับเลี้ยงเด็กมักรับประทานอาหารได้น้อย เพราะพี่เลี้ยงไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงข้อมูลนี้เป็นการสื่อสารสองด้านที่ผู้ปกครองรับรู้ และแน่นอนที่สุดค่าใช้จ่ายย่อมสูงกว่าการที่ให้ลูกไปบ้านเลี้ยงเด็ก เมื่อจ่ายมากกว่าบางครั้งความคาดหวังก็มากกว่าและสถานที่รับเลี้ยงก็มีความแตกต่างกันไป ผู้ปกครองควร ศึกษาข้อมูลและวางแผนก่อนตัดสินใจ

การปรับตัวและมีพัฒนาการตามแผนอายุของลูกๆ การส่งลูกไปบ้านรับเลี้ยงเด็กหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก อย่างน้อย 8 ชั่วโมงนั้น ลูกที่ห่างจากพ่อแม่ จะต้องได้รับการดูแลที่ดีดั่งพ่อแม่ตั้งใจไว้
คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไรได้บ้างให้คลายกังวลใจหากต้องฝากเลี้ยงลูก ๆ ที่บ้านพี่เลี้ยง
บางครั้งการฝากลูก ๆ ไว้ที่บ้านพี่เลี้ยงอาจสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อย ใส่ใจจะมาแนะนำวิธีที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลเมื่อต้องฝากลูกน้อยไว้ที่บ้านของพี่เลี้ยงในแต่ละวันดังนี้

1. เพื่อลดความกังวลของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยและอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงความจำเป็นที่เด็กจะต้องอยู่กับพี่เลี้ยงก่อนพาเด็กไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยง เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความกังวลว่าจะถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง ลองให้สัญญากับเด็กดูว่าหากเชื่อฟังพี่เลี้ยงได้รางวัลตอบแทน ซึ่งทำให้เด็กคลายความกังวลและสามารถปรับตัวได้ในที่สุด
2. พูดคุยสอบถามกับเด็กทุกครั้งหลังจากที่รับกลับมาจากบ้านพี่เลี้ยง สอบถามถึงความเป็นอยู่ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวันว่ามีอะไรบ้าง วันนี้ทานอาหารอะไรบ้าง ฯลฯ การสังเกตพฤติกรรมของเด็กทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถคาดเดาได้ว่าพี่เลี้ยงดูแลเด็กและปฏิบัติต่อเด็กอย่างไร
3. คุณพ่อคุณแม่ควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์และเบอร์ฉุกเฉินเอาไว้ และสอนให้ลูกของคุณใช้โทรศัพท์มือถือเผื่อในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ และในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่สามารถโทรสอบถามความเป็นอยู่จากพี่เลี้ยงในระหว่างวันได้เช่นกัน
4. แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หาบริการพี่เลี้ยงเด็กที่ใกล้บ้านและสะดวกในการเดินทางไปส่ง-รับเด็กในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อเวลางานของคุณพ่อคุณแม่มากเกินไป
5. ก่อนทำการประกาศหาพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรลองสอบถามจากคนใกล้ชิดก่อน ว่าพอจะรู้จักใครที่มีความสามารถในการดูแลเด็กหรือไม่ เนื่องจากการแนะนำจากคนรู้จักนั้นน่าจะเป็นอะไรที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้มากกว่า
6. คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกคนที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็ก ไม่ว่าจะเคยดูแลลูกหลานของตนเอง ดูแลเด็กตามบ้าน หรือดูแลเด็กที่สถานรับเลี้ยง เพื่อให้มั่นใจว่าพี่เลี้ยงจะสามารถดูแลลูกของคุณได้อย่างแน่นอน
ก่อนตัดสินใจนำลูก ๆ ไปฝากเลี้ยงที่บ้านพี่เลี้ยงเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรเช็คอะไรบ้าง
คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่กำลังมองหาหรือตัดสินใจส่งลูกไปฝากเลี้ยงที่บ้านพี่เลี้ยงเด็กมีดังต่อไปนี้

1. ควรมีการพูดคุยสัมภาษณ์พี่เลี้ยงหลายครั้งเพื่อให้รู้ถึง บุคลิก หรือ ลักษณะนิสัยที่แท้จริงของพี่เลี้ยงนั้น เพราะการพูดคุยแค่ครั้ง หรือสองครั้งอาจไม่สามารถทราบ หรือสัมผัสได้ถึงบุคลิกที่แท้จริง
2. ตรวจสอบประวัติการทำงานของพี่เลี้ยงคนนั้นจากหลายคนทั้งเพื่อน คนใกล้ชิด และนายจ้างที่เคยใช้บริการมาก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงคนดังกล่าวมี พฤติกรรม หรือมีประวัติอย่างไร ซึ่งวิธีนี้เป็นการช่วยให้พ่อแม่มีข้อมูลในการตัดสินใจ หากจากการตรวจสอบประวัติ คุณได้รับข้อมูลในทางลบจากหลาย ๆ คน เช่น หาก 3 ใน 5 คนของผู้ที่เคยใช้บริการมีประสบการณ์ในแง่ลบ จะช่วยให้พ่อแม่สามารถพิจารณาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
3. ตรวจสอบความรู้หรือหลักสูตรต่าง ๆ ที่พี่เลี้ยงผ่านการอบรมหรือทดสอบมาจริง โดยอาจมีการสอบถามกับสถาบันผู้ออกประกาศนียบัตรแต่ละฉบับนั้น
4. เพื่อความสบายใจและเป็นการยืนยันว่าพี่เลี้ยงนั้นไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน ควรขอให้พี่เลี้ยงตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับกองพิสูจน์หลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ้าพี่เลี้ยงปฏิเสธอาจทำให้สงสัยได้ว่าพี่เลี้ยงคนนั้นมีอะไรปิดปัง หรือไม่บริสุทธิ์ใจ
5. ตรวจสอบที่ตั้งของบ้านของพี่เลี้ยงเด็กว่าตั้งอยู่ที่ไหน ไม่ควรไกลจากบ้าน หรือ ที่ทำงานของพ่อแม่ หรือญาติสนิทที่สามารถไว้วางใจได้ ตรวจสอบถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ บรรยากาศของบ้าน นอกเหนือจากพี่เลี้ยงเด็กแล้วมีใครอาศัยอยู่ในบ้านนั้นด้วยบ้างไหม เพื่อนบ้านรอบข้าง หรือในพื้นที่ใกล้เคียงมีลักษณะเป็นอย่างไร มีพื้นที่ให้ลูกของคุณได้วิ่งเล่นหรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
6. ทดลองพาลูกของคุณไปทำความรู้จักกับพี่เลี้ยง ไปพบพี่เลี้ยงที่บ้านโดยที่คุณอยู่ด้วยตลอดเวลา เพื่อสังเกตดูว่าเด็กสามารถเข้ากับพี่เลี้ยงได้ดีหรือไม่ ลูกชอบสถานที่ สภาพแวดล้อมหรือไม่
ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำของทางใส่ใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังตัดสินใจส่งลูกไปฝากที่บ้านพี่เลี้ยงค่ะ
พฤติกรรมใดของลูก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องใช้บริการรับฝากเลี้ยงเด็กที่บ้านพี่เลี้ยง
พฤติกรรมใดของลูก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงเมื่อต้องใช้บริการรับฝากเลี้ยงเด็กที่บ้านพี่เลี้ยง

สำหรับบางครอบครัว การฝากลูกให้พี่เลี้ยงดูแลที่บ้านของพี่เลี้ยงอาจเป็นครั้งแรกที่เด็กต้องแยกจากพ่อแม่ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ใช้ชีวิตและทำกิจวัตรกับคนที่ไม่คุ้นเคย การปรับตัวเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากและสร้างความเครียดให้กับเด็กได้ โดยเฉพาะทารกและเด็กเล็กซึ่งยังไม่เข้าใจภาษา หากเด็กมีอาการงอแงมากกว่าปกติโดยไม่มีอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บร่วมด้วย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเด็กมีความคุ้นเคยกับพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา กลิ่น สัมผัส และน้ำเสียง เมื่อต้องอยู่กับพี่เลี้ยงซึ่งถือเป็นคนแปลกหน้าอาจนำมาซึ่งความกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัย ต้องให้เวลาเด็กและพี่เลี้ยงได้ปรับตัวและสร้างความคุ้นเคยสักระยะหนึ่ง แต่ถ้าเด็กงอแงจากการบาดเจ็บ มีรอยฟกช้ำ หรือไม่สบายบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นอาจหมายถึงการละเลยและไม่เอาใจใส่ของพี่เลี้ยง ที่ร้ายแรงกว่านั้นอาจมีการใช้ความรุนแรงกับเด็ก สำหรับเด็กโตหากเด็กเป็นคนสดใส ร่าเริง ช่างพูดคุย แต่เปลี่ยนเป็นซึมลง ไม่ร่าเริงอย่างเคย คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับเด็กเพื่อให้รู้ว่ามีอะไรรบกวนจิตใจ มีเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมหรือมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือไม่ หากเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือใช้ความรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนที่จะอยู่กับพี่เลี้ยง อาจเป็นได้ว่าเด็กลอกเลียนพฤติกรรมเหล่านี้จากพี่เลี้ยงหรือจากเด็กคนอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยงคนเดียวกัน

หากลูก ๆ ของท่านมีพฤติกรรมหรือความเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ควรเร่งหาสาเหตุและแก้ไขให้เร็วที่สุดเพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของลูกน้อย