ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน ปทุมธานี

ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ใน ปทุมธานี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อัญชัญสินี เมฆสวัสดิ์
อัญชัญสินี เมฆสวัสดิ์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

อายุ 50 ปี หนัก 78 kg สูง 153 cm มีประสบการณ์ทำงานเฝ้าไข้ดูแลผู้ป่วย 18 ปี สามารถดูแลคนไข้ได้ทุกประเภททั้งเคสธรรมดาและเคสติดเตียง(ทำได้ด้วยประสบการณ์ที่ทำงานด้านนี้มานาน ชอบงานเคส Feed/Suction เป็นพิเศษ) ดูแลผู้ป่วยได้ทุกขั้นตอนทำอาหารเหลวทางสายยางปั่น Feed อาหารทางจมูก และ หน้าท้อง Suction ทำแผลทำกายภาพล้วงสวนอุจจาระสวนปัสสาวะชายใส่สาย NG สำหรับฟีดอาหารครามสามรถทำชักชั่นปากคอจมุกคอได้ค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
วลัยพร ภู่รัตนกุล
วลัยพร ภู่รัตนกุล
Saijai ประสบการณ์ 3-4 ปี
ผ่านการตรวจสอบประวัติบุคคล

มีความอดทนสูง ตรงต่อเวลา ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดี

แสดงเพิ่มเติม
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 42 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
สุวณิช  พงษ์ศิริเจริญ
สุวณิช พงษ์ศิริเจริญ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

พยาบาลวิชาชีพ ICU และพยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ นิสัยร่าเริง สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ เข้าใจชีวิต เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพระบบสมอง หลอดเลือด หัวใจ ทางเดินอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษที่บ้าน ผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องการเพื่อน

แสดงเพิ่มเติม
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ผมว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นงานที่หนักอยู่นะ ถ้าเราทำเองไม่ได้ ควรจ้างคนดูแลที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วย ลองจ้างคนดูแลผ่านเว็บใส้ใจ โชคดีมากที่ได้พี่นีมาช่วยดูแลคุณพ่อ พี่นีดูแลแผลกดทับไม่ให้อักเสบมากขึ้น คอยเฝ้าคอยเช็ด นวด ชวนพูดคุย เปิดเพลงให้ฟัง ได้เห็นแววตามีความสุขของคุณพ่อ ผมว่าคุ้มกับเงินที่จ่ายไป
Saijai
ปิ่นปินัทธ์ ธนภูดินันท์
4 ปีที่แล้ว
งานที่ต้องทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง คอยจับพลิกตามเวลา ป้อนอาหารทางสายยาง บีบนวดช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย นี่คือสิ่งที่เราสังเกตุผู้ดูแลตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ทุกอย่างทำตามขั้นตอนนุ่มนวล คงจ้างต่อเรื่อย ๆ เลยครับ
Saijai
ปารุสา กรภัควัฒน์
4 ปีที่แล้ว
ประทับใจบริการของคนดูแลมากครับ จ้างมาดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียงอยู่ พี่เขามีประสบการณ์ทำงานพยาบาลมาด้วย คอยดูแลทำนู่นทำนี่ให้ คล่องแคล่วมาก ๆ แบบนี้หายห่วงแล้วครับ ต้องขอบคุณใส่ใจที่ทำให้เราเจอกับพี่เค้าครับ
Saijai
อวัฒน์ ชัยชนะ
4 ปีที่แล้ว
เรทค่าจ้างมีหลายราคาหลายตัวเลือกเลยค่ะ อยากได้คนดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะสั้นหรือยาวก็ได้หมด เพราะตรงหน้าเว็บไซต์ใส่ใจมีบอกรายละเอียดของผู้ให้บริการครบ ทั้งประวัติการทำงาน เรทราคาค่าจ้าง คุณสมบัติที่มี ทุกอย่างลงตัวหมดค่ะ
Saijai
ทิวากรณ์ อนุสาวรีย์
4 ปีที่แล้ว
ไม่ใช่แค่ดูแลแค่เรื่องกิจวัตร แต่พี่ีที่เฝ้าคุณพ่อยังดูแลเรื่องกิจกรรมสันทนาการต่างๆให้กับคุณพ่อผมอีกด้วยครับ ดีเกินกว่าที่คิดไว้จริง พี่เค้าอัธยาศัยดีมากครับ ตอนนี้นอกจากอาการของคุณพ่อผมดีขึ้นแล้วยังมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นอีกด้วยครับ
Saijai
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง
“ผู้ป่วยติดเตียง” หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีความเจ็บป่วยที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนที่นอน อาการเจ็บป่วยอาจเป็นระยะหนึ่งหรือตลอดไป เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ต้องเข้าเฝือกตัว ผู้ป่วยอัมพาตที่เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือผู้ป่วยชราที่มีความอ่อนเพลียมาก เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยประเภทนี้จำนวนไม่น้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอยู่ในบ้านโดยมีผู้ดูแล

บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีอะไรบ้าง

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ เป็นหน้าที่ของผู้ดูแลที่ต้องคอยพลิกตัวให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงที่ไม่สามารถพลิกตัวเองได้ ทุกๆ 2 ชั่วโมง พร้อมเปลี่ยนท่าในการนอนใหม่ เช่น นอนหงาย นอนตะแคงสลับกันไป หลีกเลี่ยงความยับย่นของเสื้อผ้าที่จะทำให้เกิดแผลกดทับได้
2. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ดูแลการป้อนอาหาร โดยปรับเตียงให้อยู่ในมุม 45-90 องศา เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งบนเตียง โดยใช้หมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับอาหารให้เหมาะสมกับภาวะกลืนลำบาก ซึ่งเสี่ยงต่อการสำลักในขณะรับประทานอาหาร อาจทำให้ปอดเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ภาวะกลืนลําบากอาจมีสาเหตุมาจาก ความผิดปกติทางช่องปาก และคอหอยในผู้สูงอายุ
3. ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาด การชำระล้างร่างกายและการขับถ่าย เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลไม่ควรละเลย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปภายในร่างกาย เพราะมีโอกาสการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นผู้ดูแลควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ รวมทั้งการดูแลช่องปาก และฟันการดูแลสุขภาพช่องปาก (oral hygiene) มีส่วนสําคัญในการรักษาภาวะอาการกลืนลําบากซึ่งมักถูกมองข้าม การดูแลสุขภาพช่องปากจะช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดปอดอักเสบจากการสําลัก
4. ภาวะสุขภาพจิต เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือความเบื่อหน่ายและความทุกข์ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ดูแลสามารถหากิจกรรมต่าง ๆ มาทำร่วมกับผู้ป่วย เช่นอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อผ่อนคลายและลดความเศร้าลง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้ ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง
อะไรคืออุปสรรคเมื่อคุณจ้างคนดูแลผู้ป่วยติดเตียงและสามารถรับมือได้อย่างไร
อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ บางรายอาจจะขยับร่างกายได้เป็นบางส่วนหรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัด

การดูแลผู้ป่วยที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่การจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็อาจจะมีปัญหาต่าง ๆ เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่มีความอดทนในการทำงานและต้องเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย ๆ เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงบางท่านต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ หรืออาจมีอาการอื่น ๆร่วมด้วยเช่น ต้องสวนปัสสาวะหรืออุจจาระให้

หากผู้ดูแลไม่มีความอดทนย่อมไม่สามารถรับภาระที่มากมายและจุกจิกเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างต้องหาคนใหม่มาแทนอยู่ตลอด ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องสอนงานใหม่ทั้งหมดในเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้นก่อนที่จะรับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมาทำงานจึงควรจะทำการคุยรายละเอียดพร้อมทั้งอธิบายถึงอาการของผู้ป่วยให้ชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในอนาคต

นอกจากผู้ป่วยติดเตียงจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายแล้ว ปัญหาด้านสภาพจิตใจยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ดูแลจำเป็นต้องเอาใจใส่ ผู้ป่วยแต่ละรายมีภาวะของโรคแตกต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายกัน คือ ความเบื่อหน่ายและความทุกข์ทางด้านจิตใจ ซึ่งผู้ดูแลควรหากิจกรรมมาทำร่วมกับผู้ป่วย เพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรเป็นบุคคลที่มีวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ โดยผู้ว่าจ้างควรจะคัดเลือกจากจุดนี้เป็นสำคัญเช่นเดียวกัน
สิ่งที่ญาติควรเตรียมก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ดังนั้นญาติของผู้ป่วยจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักต่าง ๆ ก่อนเพื่อให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ญาติผู้ป่วยควรรู้และเตรียมตัวก่อนทำการจ้างผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นมีดังนี้

1. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด เพื่อเตรียมตัวในการกำหนดและจัดหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติตรงต่อความต้องการในการดูแลผู้ป่วยนั่นเอง
2. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย และต้องมั่นใจว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยได้ดีที่สุด เช่น เตียงที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่นอนลม รถเข็นในกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปไหนมาไหน รวมไปถึงอุปกรณ์การทำแผล อุปกรณ์ทำความสะอาดผู้ป่วย และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่หายใจเองลำบาก อย่างเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
3. ความพร้อมทางด้านการเงิน อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นการดูแลในระยะยาว ดังนั้นจึงอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แน่นอน และอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งค่าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น ครอบครัวของผู้ป่วยจึงต้องวางแผนและบริหารจัดการการเงินในการดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
4. จัดเตรียมสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสม ครอบครัวควรจัดหาสถานที่ในบ้านที่เหมาะสมต่อการให้ผู้ป่วยอยู่ เช่น ห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อยู่ชั้นล่างเพื่อง่ายต่อการขนย้ายผู้ป่วย และมีพื้นที่กว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยเช่นกัน




มีวิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้ผู้ป่วยติดเตียงมีแผลกดทับ
เมื่อเกิดแผลกดทับกับผู้ป่วยแล้ว ต้องดูแลรักษาแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อ อย่างระมัดระวังที่สุดเพราะแผลอาจรุกรามได้ ส่วนนิยามของการส่วนการรักษาแผลกดทับคือการช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง

วิธีป้องกันแผลกดทับมีดังนี้

• ที่สำคัญที่สุดคือการจัดท่าทางในการนั่งและนอน ควรปรับเปลี่ยนท่านอนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 ชั่วโมงช่วย เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวและเป็นการป้องกันการเกิดแผลกดทับได้ดี ควรเลือกเบาะรองนั่งหรือเตียงนอนที่ช่วยผ่อนแรงกด อาจเป็นเตียงนอนลม หรือหาหมอนลม ห่วงยางที่มีรูมารองตรงจุดกดทับ และเปลี่ยนท่าทุก 15 นาทีสำหรับท่านั่งและ2 ชั่วโมงในท่านอน ปรับเตียงให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณก้นกบดึงรั้งกันจนเกิดแผลกดทับ
• ทำแผนภูมิ รูปอธิบายอย่างชัดเจน เป็น “นาฬิกาพลิกตัวผู้ป่วย” อีกวิธีที่หนึ่งที่จะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยนอนติดเตียงมีสุขภาพที่ดีขึ้นและปลอดภัยจากการเกิดแผลกดทับ เริ่มต้นด้วย 6 โมงเช้า พลิกตะแคงผู้ป่วยไปทางซ้าย จากนั้น 8 โมงเช้า พลิกผู้ป่วยนอนหงาย เมื่อถึงเวลา 10 โมงเช้า พลิกกลับมาตะแคงขวา เที่ยงวัน เปลี่ยนอิริยาบถ แล้วให้ตะแคงซ้ายอีกครั้ง ฯลฯ ทำเช่นนี้สลับวนไปทุกๆ สองชั่วโมง เมื่อถึงกลางคืนเวลานอน แนะนำให้ใช้ที่นอนลมหรือแผ่นเจลรอง ลดการกดทับปุ่มกระดูก
• การทำความสะอาดผิวหนัง ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคที่มีความเสี่ยงให้เกิดแผลกดทับ ควรหมั่นตรวจผิวหนังของผู้ป่วยว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ หลังจากล้างทำความสะอาดผิวหนังและเช็ดให้แห้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังอับชื้น ดูแลผิวสม่ำเสมอ เช่น ทาโลชั่นสำหรับผิวแห้ง เปลี่ยนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนอย่างสม่ำเสมอ ตรวจดูกระดุมเสื้อหรือตะเข็บของผ้าปูที่นอนให้ดี เพื่อป้องกันและลดการเสียดสีผิวหนัง