ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน หนองใหญ่, ชลบุรี

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใน หนองใหญ่, ชลบุรี

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดเลยค่ะ
Saijai
มารียา เสวตจนขจร
3 ปีที่แล้ว
พี่นิดเคยทำงานพยาบาลมาเกือบห้าปี รู้วิธีการดูแลปฐมพยาบาลผู้ป่วยทุกอย่าง หายห่วงเลยค่ะ
Saijai
หนึ่งธิดา โกมน
3 ปีที่แล้ว
เราว่าเว็บใส่ใจใช้งานง่าย ช่วยประหยัดเวลาในการนั่งส่งอีเมลหรือข้อความไปสอบถาม เพราะเราต้องการคนด่วนมาก ขอบคุณเว็บใส่ใจจริง ๆ ค่ะ ช่วยเราได้มากจริง ๆ
Saijai
วรรณา แก้วดี
4 ปีที่แล้ว
แม่ยายผมเป็นมะเร็งครับ หาคนมาดูแลหลายคนแล้ว ทำงานไม่ได้นานก็ลาออก สู้งานไม่ไหว ผมมาเจอเว็บใส่ใจ เลยลองเรียกใช้บริการคนดูแลผ่านทางนี้ดู ทุกอย่างถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีครับ
Saijai
ภุชงค์ จิตเสนา
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายต้องอยู่โรงพยาบาลหลายเดือน ทางโรงพยาบาลต้องให้มีคนเฝ้าอย่าง 1 คนที่ต้องอยู่ด้วยตลอด ผมเลยจ้างคนดูแลที่หาเจอบนเว็บไซต์ใส่ใจ ประทับใจครับ
Saijai
มานิตย์ ยิ้มสว่าง
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใครคือผู้ป่วยระยะสุดท้ายและอะไรคือจุดมุ่งหมายของการดูแล
ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหมายถึงผู้ที่ป่วยด้วยอาการป่วยที่เป็นระยะท้าย ๆ ของโรค ไม่สามารถรักษาอาการป่วยให้หายและคาดว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่เกิน 1 ปี จุดมุ่งหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่ง WHO (World Health Organization) ได้ให้คำจำกัดความอีกว่า เป็นการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) และครอบครัวที่มีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่คุกคามชีวิต รวมถึงการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน หรือการดูแลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต เน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล มีเป้าหมายหลักคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ที่จะทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนการดูแลครอบครัวและญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการดูแลนั้นเริ่มจากเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จนกระทั่งป่วยอยู่ในระยะท้าย หรือกำลังจะเสียชีวิตจากโรค โดยสามารถดูแลควบคู่ไปกับการรักษาเฉพาะ สำหรับโรคนั้น ๆ โดยคำนึงถึงสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยและครอบครัวในต้องการ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้แสดงความต้องการของตนเองและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องแนวทางการรักษาและเป้าหมายของการดูแลรักษา เน้นการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและยอมรับ ความตายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของทุกชีวิต ด้วยหวังให้ผู้ป่วยได้จากไปอย่างสงบไม่มีเรื่องติดค้างไว้เบื้องหลัง
หากคุณกำลังมองหาผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณสมบัติอะไรบ้างที่ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายควรมี
สําหรับ palliative care หรือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตเหลืออยู่อีกนานเท่าไหร่ นอกจากการดูแลรักษาทางกาย แล้วยังรวมถึงการดูแลรักษาทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

ผู้ดูแลต้องเข้าใจถึงการดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ช่วยเหลือกิจกรรมทั่ว ๆ ไป สร้างแรงจูงใจให้ผู้ป่วย และช่วยเหลือด้านอารมณ์ไม่ให้เกิดความวิตกกังวลเกินไป ผู้ดูแลอาจใช้หลักความเชื่อของแต่ละศาสนา มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบ
ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องเข้าใจ หลักการของ Palliative care ที่มีจุดมุ่งหมายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และแนวทางการดูแลผู้ป่วย มักมีความแตกต่างกันไปสําหรับผู้ป่วยแต่ละราย เปิดใจรับข้อมูลและการรับฟังและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ป่วย เรียนรู้ความต้องการหรือความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยและครอบครัว
สำคัญที่สุด ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต้องได้รับการพัฒนาทักษะและความรู้ ในการดูแลผู้ป่วยในเรื่องที่จําเป็น มีความสามารถในการตัดสินใจ ติดต่อประสานงานได้ ไม่ตื่นตกใจ เพื่อแก้ปัญหาให้ถูกต้องเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่สุขสบายหรือภาวะวิกฤติ และมีความสามารถดูแลสุขภาพกาย เพราะอาจต้องทำงานหนักและพักผ่อนน้อย ดูแลจิตใจของตนเองได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งตนเองและผู้ป่วย
ข้อควรสังเกตเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่คุณจ้างเป็นคนที่ไว้ใจได้
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ดูแลต้องมีความอดทน ความรู้ ความเข้าใจอาการของผู้ป่วยเป็นอย่างดี ที่สำคัญผู้ดูแลต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ป่วยและครอบครัว เมื่อครอบครัวจำเป็นต้องว่าจ้างผู้ดูแลเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวของผู้ป่วยย่อมยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ดี

ข้อแนะนำที่จะช่วยให้ครอบครัวสามารถคลายกังวลใจเมื่อต้องให้ผู้ป่วยอยู่กับผู้ดูแลตามลำพังที่สามารถไว้ใจได้มีดังนี้

1. มองหาผู้ดูแลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น ญาติ เพื่อน บริษัทตัวแทนหรือเว็บไซต์สำหรับหาผู้ดูแลผู้ป่วยโดยตรง การใช้สื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ เฟสบุค หรือไลน์ เป็นช่องทางในการหาผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ ดูจะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน บางเว็บไซต์มีการรีวิวประสบการณ์และความคิดเห็นของผู้ที่เคยใช้บริการ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจได้อีกทาง
2. ผู้ดูแลมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะดูจากประสบการณ์การทำงานซึ่งเป็นถือว่าส่วนที่สำคัญที่สุด จะสามารถรู้ได้ว่าผู้ดูแลคนนี้ทำงานเคยทำงานมาแล้วกี่ปี ดูแลผู้ป่วยมาแล้วกี่คน เพื่อใช้ประกอบการณ์ตัดสินใจ วุฒิการศึกษา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย หากผู้ดูแลที่จ้างมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ก็สามารถไว้ใจได้ในระดับหนึ่ง
3. ก่อนตัดสินใจว่าจ้างผู้ว่าจ้างควรมีการนัดสัมภาษณ์งานก่อน เพราะญาติสามารถดูบุคลิกของผู้ดูแล การพูดจา การแต่งตัว ความสะอาด รวมถึงสามารถถามคำถามเพื่อใช้วัดว่า ผู้ดูแลพร้อมทำงานมากแค่ไหน

แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันที่พัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ป่วยจากโรคร้ายแรงหายจากอาการป่วยมากขึ้น แต่ยังมีผู้ป่วยประเภทหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ นั่นคือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ความทุกข์ทรมานใจที่ตามมาไม่เพียงส่งผลต่อตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังกระทบไปถึงครอบครัวของผู้ป่วยด้วย การดูแลที่ดีช่วยให้ตัวผู้ป่วยและญาติพร้อมปรับตัวเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยคือต้องยอมรับว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีเวลาเหลืออีกไม่นาน หากทำใจยอมรับได้การดูแลจะเป็นไปได้ด้วยดี

แนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีดังนี้

1. ต้องมีการประเมินสภาพของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง ร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับมากขึ้น การหายใจที่สั้นลง และหยุดเป็นพักๆ รวมถึงความเจ็บปวดต่างๆที่เกิดกับตัวผู้ป่วย หากมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่จะได้รักษาได้ถูกต้องต่อไป แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถพูดคุยหรือแจ้งอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้ ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น ซึมเศร้า ตกใจ เป็นต้น
2. หากผู้ป่วยมีอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย แม้จะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ผู้ดูแลควรหากิจกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่น การดูหนัง ฟังเพลง โดยผู้ดูแลจะต้องอำนวยความสะดวกต่างๆให้ผู้ป่วยใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ช่วยประคองผู้ป่วยเมื่อ เดิน หรือยืน
3. การดูแลด้านอาหารการกิน ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจมีอาการปฏิเสธอาหารและความอยากที่ลดลง สาเหตุจาก การรับรสและกลิ่นที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยไม่อยากรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ควรฝืนให้ผู้ป่วยรับประทาน เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัดทั้งกายและใจ บางครั้งอาจบรรเทาได้โดยการ ให้แพทย์ให้ยากระตุ้นความอยาก เป็นต้น
4. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายอาจเผชิญปัญหาด้านสภาวะอารมณ์ เช่น ความกลัว วิตกกังวล ญาติและผู้ดูแลควรพูดให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาความทุกข์ใจ
5. ผู้ป่วยและทางญาติ สามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการการดูแลในสถานที่ใด หากดูแลที่บ้าน แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลให้สมาชิกในครอบครัว หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยผู้ป่วยบรรเทาจากความเจ็บป่วยทางกาย และให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อลดความกังวลต่างๆ แต่หากต้องการดูแลที่สถานพยาบาล เนื่องจาก ไม่มีผู้ดูแลที่บ้าน หรืออาการเจ็บปวดที่ไม่บรรเทาเมื่อได้รับการดูแลที่บ้าน แม้ว่าการดูแลในโรงพยาบาลจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป