ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน สายไหม, กรุงเทพมหานคร

ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน สายไหม, กรุงเทพมหานคร

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่
ผู้ให้บริการผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา ใน สายไหม, กรุงเทพมหานคร:

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
อคัมย์สิริ ศศิชลพินทุ์
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 42 ปี

ใจเย็น รักในการดูเอาใจใส่

แสดงเพิ่มเติม
สิริมา ทวีสิทธิ์
สิริมา ทวีสิทธิ์
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 51 ปี

มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุมามากกว่า5ปี สามารถขับรถพาไปหาหมอ อยู่เป็นเพื่อน เฝ้าไข้

แสดงเพิ่มเติม

I am an honest woman without bad habits. I have experience in caring for post-stroke patients and patients with diabetes. You can also cook Thai and European food. If necessary, I can drive a car. (I have a driver's license) And keep the house clean at the request of the owner. Conscientious and kind attitude towards the patient is guaranteed.

แสดงเพิ่มเติม
จันทร์ทิพย์ ธีระ
จันทร์ทิพย์ ธีระ
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี
Saijai อายุ 42 ปี
อธิวุฒิ สมัครการ
อธิวุฒิ สมัครการ
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 35 ปี

เป็นคนใจเย็น รักการช่วยเหลือผู้สูงวัยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หากมีที่พักให้เช่าใกล้สถานที่ทำงานจะดีมาก หรือจะให้อยู่บ้านเฝ้า 24 ชั่วโมงเลยก็ได้ครับ

แสดงเพิ่มเติม
กัญญาภัทร บุตรพรม
กัญญาภัทร บุตรพรม
Saijai ประสบการณ์ 5 ปี

ใจเย็น รักสงบ ไม่ชอบความวุ่นวาย นวดได้ ภาษาได้ อาหารได้ ขอบคุณค่ะ

แสดงเพิ่มเติม
ศิริกานต์ จาวะลา
ศิริกานต์ จาวะลา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 29 ปี
เมธาวี ธีระธัมปิยปัญญา
เมธาวี ธีระธัมปิยปัญญา
Saijai ประสบการณ์ 0-1 ปี
Saijai อายุ 40 ปี

ขยันทำงาน รับผิดชอบ มีจรรยาบรรณ ใส่ใจดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีค่ะ

แสดงเพิ่มเติม

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

คุณพ่อของสามีเป็นคนอเมริกันค่ะ มาพักผ่อนอยู่ไทยหลายเดือน เลยจ้างผู้ดูแลที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ มาช่วยดูแลคุณพ่อสามี ผู้ดูแลทำหน้าที่ดูแลดีมากค่ะ ทั้งเรื่องกิจวัตร อาหารการกิน รวมถึงเรื่องเสื้อผ้าเครื่องใช้ให้อีกด้วย แถมยังมีความรู้เรื่องวัฒนธรรมของคนอเมริกันเป็นอย่างดีด้วยคุณพ่อสามีชอบมาก ๆ ค่ะ เรื่องราคาเราไม่รู้สึกกังวลเลยค่ะ เพราะอยู่ในระดับมาตราฐาน คุ้มกับที่จ่ายไปมาก พ่อสามีสบายใจ เราก็สบายใจด้วย
Saijai
ญาดาวดี โพธิ์ทองแก้ว
4 ปีที่แล้ว
แต่งงานกับแฟนชาวต่างชาติ ครอบครัวเขาย้ายมาทำธุรกิจที่เมืองไทย มีคุณตามาด้วย เราทุกคนมีงานยุ่งกันหมด ที่นี่ไม่มีบ้านพักคนชราแบบเมืองนอกที่ให้คุณตาไปอยู่ได้ จึงมองหาคนดูแลแบบ 2 ภาษามาดูแลที่บ้าน ตอนแรกเราคิดว่าจะราคาสูง แต่พอติดต่อพูดคุยตกลงกันแล้วได้ราคาที่เรารับได้ ไม่แพงจนเกินไป ลงตัวค่ะ ชอบเว็บนี้จริงๆ ใส่ใจช่วยเราได้ค่ะ
Saijai
สุกัญญา อากีเลล่า
4 ปีที่แล้ว
I got the bilingual senior care for my dad with perfect process, perfect service, and perfect price. Thank you so much.
Saijai
Christina Yang
4 ปีที่แล้ว
จ้างคนดูแลผู้สูงอายุมาบนเว็บใส่ใจ มาดูแลแขกต่างชาติที่มาพักที่บ้าน พอดีแกป่วยกระทันหัน น้องเค้าดูแลดีมากค่ะ
Saijai
สนใจ สิทธิ์ไกรจักร
4 ปีที่แล้ว
คุณปู่ที่บ้านแกเป็นคนเชื้อสายจีนครับ ปกติเป็นคนดื้อ ไม่ชอบให้ใครมาวุ่นวาย แต่ตอนนี้ดีขึ้นตั้งแต่ได้คนมาช่วยดูแล
Saijai
เมรี รัตนชัยกุล
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา ผู้ดูแลผู้สูงอายุสองภาษา

เมื่อต้องดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติ การใช้บริการพี่เลี้ยงหรือคนดูแลสองภาษามีข้อดีอย่างไร
การดูแลผู้สูงอายุ ไม่ใช่งานง่ายๆ ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุที่เป็นชาวต่างชาติด้วยแล้วนั้น ย่อมต้องการคนที่สามารถพูดและสื่อสารภาษาที่ 2 หรือภาษาที่ 3 ได้

เหตุผลที่จำเป็นต้องมีผู้ดูแล 2 ภาษา

1. เริ่มจากการดูแลขั้นพื้นฐาน เช่น อาบน้ำ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า ดูแลความสะอาดร่างกายของผู้สูงอายุ แน่นอนว่าต้องมีการสื่อสารกันเพื่อที่จะได้ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ผู้สูงอายุ ดังนั้นหากผู้ดูแลผู้สูงอายุไม่สามารถสื่อสารภาษาที่ 2 ได้ ย่อมสร้างความลำบากในการดูแลผู้สูงอายุอย่างแน่นอน
2. การจัดเตรียมอาหารต่างๆให้ผู้สูงอายุ เนื่องจากญาติของผู้สูงอายุไม่ได้อยู่ด้วยตลอดเวลาดังนั้น ต้องมีการสื่อสารหากต้องการสิ่งใดเพิ่มเติมหรือแจ้งให้ผู้ดูแลทราบเกี่ยวกับอาหารว่ากินอะไรได้หรือไม่ได้
3. การป้อนยา หากฉลากยาเป็นภาษาอังกฤษ หรือวิธีการรับประทานยาเป็นภาษาอังกฤษ แน่นอนว่าผู้ดูแลต้องมีความรู้ในการอ่านภาษาอังกฤษ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก
4. ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรจะอยู่เป็นเพื่อนพูดคุยกับผู้สูงอายุ ช่วยอ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อช่วยคลายเครียดและลดความกังวลต่างๆ ดังนั้นหากเป็นผู้สูงอายุเป็นชาวต่างชาติ ผู้ดูแลย่อมต้องพูดสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน
5. ในบางครั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุอาจจะต้องติดตามผู้สูงอายุออกไปข้างนอก เช่น ออกไปพบแพทย์ตามนัดหรือทำธุระอื่นๆ ผู้ดูแลผู้สูงอายุจึงเปรียบเสมือนล่ามคอยแปลภาษาให้ผู้สูงอายุชาวต่างชาติหากต้องการความช่วยเหลือ
ต้องรู้อะไรบ้างเมื่ออยากจ้างคนต่างด้าวมาดูแลผู้สูงอายุ
ปัจจุบันผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ส่วนมากมาจากประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ พม่า ลาว และกัมพูชา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีตั้งแต่อายุน้อย ๆ ไปจนถึงวัยกลางคน

หากต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุเป็นชาวต่างด้าว เราควรมีหลักการในการพิจารณาอย่างไร

1. ตรวจสอบประวัติส่วนตัว เช่น ชื่อ อายุ ภูมิลำเนาเดิม รวมถึงโรคประจำตัว เพราะย่อมมีผลกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอและมีโอกาสติดโรคได้ง่าย อีกทั้งควรตรวจสอบว่าไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสีย ไม่เป็นผู้วิกลจริตไม่สมประกอบ ไม่ติดสารเสพติดทุกชนิด โดยอาจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ว่าจ้างคนเก่าและสอบถามสาเหตุของการออกจากที่ทำงานเดิมด้วย
2. ผู้ดูแลคนสูงอายุต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสุขภาพและมีการทำใบอนุญาตทำงาน (work permit) ให้ถูกต้อง
3. สังเกตบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของผู้ดูแลผู้สูงอายุจากการสัมภาษณ์ โดยลองถามคำถามที่จะประเมินว่าผู้ดูแลผู้สูงอายุมีใจรักงานบริการหรือมีความอดทนมากน้อยเพียงใดต่อสถานการณ์ที่เอามายกเป็นตัวอย่าง
4. แจ้งรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจน ตกลงเรื่องเงินเดือนและหน้าที่รับผิดชอบให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้น เกี่ยวกับเรื่องวันหยุดพักผ่อนและสวัสดิการที่มีให้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นหลังจากรับเข้าทำงานแล้ว
5. อธิบายข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับกฎระเบียบในบ้าน ว่ามีกฎข้อบังคับใดๆ ภายในบ้านหรือไม่ เพื่อความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันและหลีกเลี่ยงปัญหาหากต้องเข้ามาทำงานและอยู่ในบ้านร่วมกัน
จ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวไทยที่มีทักษะภาษาอังกฤษจะถูกกว่าจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุต่างสัญชาติอื่น เช่น สัญชาติฟิลิปปินส์ หรือพม่า หรือไม่
หลายคนอาจกำลังตัดสินใจเลือกระหว่างการจ้างผู้ดูแลผู้สูงอายุคนไทยหรือชาวต่างด้าว แบบใดจะดีกว่ากัน มีค่าจ้างหรือค่าใช้จ่ายมากน้อยต่างกันอย่างไร ใส่ใจมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ภาษาอังกฤษนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน ดังนั้นหลาย ๆ คนจึงสนใจที่จะจ้างผู้ดูแลที่เป็นชาวต่างด้าว เช่น ชาวฟิลิปปินส์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายแทบจะไม่แตกต่างกับการจ้างผู้ดูแลคนไทยที่รู้ภาษาอังกฤษ แต่ชาวฟิลิปปินส์จะมีสำเนียงภาษาอังกฤษและพื้นฐานของภาษาอังกฤษค่อนข้างดีกว่าคนไทยเพราะได้ทำการฝึกฝนภาษาตั้งแต่เด็ก ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า นอกจากนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุชาวฟิลิปปินส์มักที่จะมีประวัติทางการศึกษาและประสบการณ์การทำงานที่ดี ทั้งยังผ่านการฝึกอบรมทำให้สามารถดูแลผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่การจ้างผู้ดูแลเป็นคนต่างด้าวที่มีค่าจ้างถูกกว่าคนไทยนั้น ตัวนายจ้างต้องทราบด้วยว่าอาจจะมีขั้นตอนการจ้างงานที่ยุ่งยากกว่าการจ้างคนไทยและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้ เพราะหากจ้างชาวต่างด้าวมาทำงาน ต้องขอใบอนุญาตทำงานคนต่างด้าว โดยได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (วีซ่า Non-Immigrant-B) โดยสามารถติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมื่อได้รับวีซ่า Non-Immigrant-B แล้วให้ติดต่อยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน(Work permit) ณ สำนักงานของกรมการจัดหางาน ดังนั้นหากต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว นายจ้างควรทำการศึกษาข้อมูลในส่วนนี้โดยละเอียดถึงค่าใช้จ่ายจริงที่ต้องใช้
เว็บไซต์ของใส่ใจมีข้อมูลผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่พูดภาษาอังกฤษได้หรือไม่
สำหรับท่านที่กำลังมองหาผู้ดูแลผู้สูงอายุที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ท่านสามารถค้นหาผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวโดยระบุในตัวคัดกรอง (Filters) เพื่อให้ระบบแสดงข้อมูลของผู้ให้บริการที่ตรงตามความต้องการของท่าน และท่านสามารถเลือกดูประวัติของผู้ให้บริการที่ท่านสนใจ รวมถึงอัตรค่าบริการและรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ดูแลผู้สูงอายุ