วิธีการทำงาน
ติดต่อเรา
ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ
แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ
เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ
ยืนยันการจองของคุณ
เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA
ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ
รีวิวล่าสุด
คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงสองภาษา
มีบทสัมภาษณ์ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีประสบการณ์จ้างพี่เลี้ยงเด็กสองภาษามาดูแลลูกได้กล่าวไว้ว่า “เดิมที่คุณแม่จะสื่อสารภาษาอังกฤษกับลูก แต่เมื่อคุณแม่ต้องไปทำงานจึงมองหาพี่เลี้ยงที่พูดภาษาอังกฤษมาดูแล พี่เลี้ยงมีวุฒิการศึกษาดีทีเดียว มีประสบการณ์ ใช้เวลาไม่นาน ลูกและพี่เลี้ยงปรับตัวเข้าหากันได้ เวลาเราสื่อสารจะใช้ภาษาอังกฤษกับพี่เลี้ยง ทำให้ทุกคนในบ้านได้ฝึกไปด้วย คราวนี้สนุกกันไปลูกมีพัฒนาการภาษาที่ดีมีความสุข พี่เลี้ยงทำงานบ้านได้นิดหน่อย ไม่ใช่ปัญหาเพราะเป้าหมายคือพัฒนาการทางภาษาของลูก ในค่าใช้จ่ายที่เกือบเท่ากันกับแม่บ้านไทยแต่ลูกและครอบครัวได้ภาษาเพิ่มขึ้น”
เราจะไม่รู้สึกว่าจ่ายแพงเลยถ้าสิ่งที่ได้มาคุ้มค่าตามที่ตั้งใจไว้
1. พยายามเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยหมั่นใช้ พูดคุยสื่อสารกับเด็กด้วยภาษาที่สองควบคู่ไปกับภาษาหลักอย่างเป็นประจำ และสม่ำเสมอ อาจชวนคุย เพื่อส่งเสริมให้เด็กคุ้นเคย และชินกับการสื่อสารสองภาษารวมทั้งรูปแบบการจัดรูปแบบประโยค การออกเสียง และสำเนียงในการพูด เด็กนั้นมีคุณลักษณะและความสามารถในการประมวลและแยกความแตกต่างของภาษาและเสียงได้เป็นอย่างดี ยิ่งพี่เลี้ยงพูดคุยหรือใช้ภาษาเหล่านั้นเป็นประจำจะยิ่งส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเด็ก และเพิ่มความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก
2. ด้วยความสะดวกสบายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสื่อสาร พี่เลี้ยงควรสรรหารายการการ์ตูน หรือวิดีโอจากยูทูป (YouTube) ที่มีการพากย์เสียงเป็นภาษาต่าง ๆ เพลงกล่อมเด็ก หรือการ์ตูนอนิเมชั่น กิจกรรมเหล่านี้เป็นการเพิ่มความสนุกสนาน และทำให้เด็กเรียนรู้ และจดจำภาษาไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งหมดนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยงเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้สื่อตามลำพังและเป็นเวลานานเกินไป เพราะส่งผลเสียต่อสายตาและสมาธิ
3. หากิจกรรมร้องเพลง หรือเต้นรำเพื่อเป็นการผ่อนคลายและ เรียนรู้ภาษาไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ชื่นชอบกิจกรรมนันทนาการแบบนี้อยู่แล้วจึงไม่เป็นการยากที่พี่เลี้ยงจะชักชวนให้เด็กทำกิจกรรม
4. เสริมสร้างทักษะ ด้วยสื่อการสอนทางภาษา กิจกรรม หรือเกมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น เกมต่อคำ (Scrabble หรือ Criss-Crosswords) อาจจะใช้บัตรคำ การ์ดเกมคำศัพท์ หรือหนังสือภาพสอนคำศัพท์ หรือหนังสือสอนภาษาสำหรับเด็ก โดยสื่อเหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ เสริมสร้างทักษะทางภาษา และ สร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพี่เลี้ยงด้วย
1. ทำสัญญาการจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรและระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน เช่น ระยะเวลาการทำงาน เวลาเริ่มงานและเลิกงาน ค่าจ้าง รวมไปถึงสวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับพี่เลี้ยงเด็กสองภาษาบางคนที่เป็นชาวต่างชาตินั้น พ่อแม่ผู้ปกครองหรือนายจ้างควรทำเอกสารเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้พี่เลี้ยงสามารถทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ที่ระบุไว้ได้อย่างชัดเจนและไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาตลอดช่วงระยะเวลาการว่าจ้าง
2. ข้อตกลงเรื่องค่าตอบแทน พ่อแม่ผู้ปกครองหรือนายจ้างควรอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเงินค่าจ้างให้กับพี่เลี้ยงเด็กเข้าใจก่อนเริ่มงาน หากในกรณีที่พี่เลี้ยงต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กล่วงเวลา ควรระบุจำนวนเงินค่าจ้างเพิ่มเติมให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน
3. อธิบายและมอบหมายงานที่พี่เลี้ยงเด็กต้องรับผิดชอบให้ชัดเจน เช่น พี่เลี้ยงสามารถทำอะไรได้ในเวลาไหนบ้าง พี่เลี้ยงไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยหากเป็นเวลาส่วนตัวของครอบครัว เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเด็กติดพี่เลี้ยงจนเกินไป
4. อธิบายกับพี่เลี้ยงเด็กว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดแบบกะทันหันควรรับมือในสถานการณ์เบื้องต้นอย่างไรบ้าง ที่สำคัญผู้ปกครองควรให้เบอร์ติดต่อกับพี่เลี้ยงไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉินด้วย
5. ข้อตกลงเรื่องที่อยู่อาศัย หากผู้ปกครองต้องการให้พี่เลี้ยงมาอาศัยที่บ้านตลอดระยะเวลาการจ้าง ควรอธิบายเงื่อนไขในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในบ้านให้ชัดเจน
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองและพี่เลี้ยงเด็กจำเป็นต้องทำความเข้าใจร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง
SAIJAI "ใส่ใจ" เป็นเพียงแพลตฟอร์มที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการดูแลเด็ก ดูแลผู้สูงอายุ ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ แม่บ้าน/ทำความสะอาด คนขับรถ ดูแลสัตว์เลี้ยง เสริมสวย และช่างซ่อมบำรุงเท่านั้น "SAIJAI" ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการหรือจ้างบุคคลใดให้บริการ ไม่มีสถานะเป็นนายจ้าง ผู้ว่าจ้าง ตัวแทน ผู้ร่วมทุน อย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นของผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ ซึ่งผู้รับบริการเป็นผู้ว่าจ้าง คุณภาพการให้บริการเป็นความรับผิดชอบทั้งสิ้นของผู้ให้บริการเอง การเรียกใช้บริการจากผู้ให้บริการ อาจมีความเสี่ยง ซึ่งผู้รับบริการรับทราบและยินดีใช้บริการ บนความเสี่ยงใด ๆ ในความรับผิดชอบของตัวท่านเอง