พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน เมืองเชียงใหม่, เชียงใหม่

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ใน เมืองเชียงใหม่, เชียงใหม่

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ตอนนี้
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

เป็นห่วงแมวที่บ้านทุกครั้งที่ต้องปล่อยให้มันอยู่บ้านตัวเดียว เลยตัดสินใจจ้างคนมาดูแล หาข้าวหาน้ำ อยู่เล่นกับแมวแทน เจอพี่เลี้ยงจากเว็บไส่ใจ ดีมากครับ ราคาก็ไม่แพงเลย ทีนี้ก็ไม่ต้องคอยกังวลเวลาจะออกไปไหนมาไหนแล้ว
Saijai
ญาณกร สหวัฒน์มงคล
4 ปีที่แล้ว
บริการดีมาก เคยใช้บริการให้ช่วยดูแลน้องหมาตอนเราไม่อยู่ ดูแลครบทุกอย่างเลยจริง ๆ ไม่นึกว่าจะดูแลให้ถึงขั้นอาบน้ำและตัดเล็บน้องให้ด้วย ชอบมาก ๆ เลยครับ
Saijai
ศุภสินทร์ จงวิภาส
4 ปีที่แล้ว
จ้างคนดูแลสัตว์เลี้ยงให้มาดูแลสุนัข 3 ตัว เค้าบริการดีทุกขั้นตอน ให้อาหารให้น้ำ พาน้องไปถ่าย ไปวิ่งเล่นตรงเวลาตลอดเลย กลับบ้านมาน้องดูร่าเริงมาก ประทับใจมากค่ะ
Saijai
ณรงค์เดช อชิวารักษ์
4 ปีที่แล้ว
พี่เลี้ยงจะใส่ใจดูแลน้องอย่างเต็มที่ วันไปรับน้องมีความสุขกระโดดหาเหมือนเดิม
Saijai
ปลายดาว ธวัชพลังกร
4 ปีที่แล้ว
พี่เลี้ยงดูแลน้องดุ๊กดิ๊กดีมากค่ะ เป็นเพื่อนเล่นกับน้อง ทำให้น้องมีความสุขมากเลยค่ะ
Saijai
วริษา ชราปรีชากุล
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง

พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีหน้าที่อะไรบ้าง
เป็นเรื่องปกติที่คนรักสัตว์ต้องการที่จะเห็นสัตว์เลี้ยงของตนมีความสุข ทั้งสภาพจิตใจและการใช้ชีวิต หลาย ๆ คนที่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้านแต่ไม่สามารถหาเวลาดูแลหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงได้บ่อย ๆ จึงตัดสินใจเลือกใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อให้มาทำหน้าที่ในส่วนนี้แทน เนื่องจากพี่เลี้ยงที่มีความเป็นมืออาชีพและมีใจที่รักสัตว์นั้นสามารถทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมั่นใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของตนจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในยามที่ตนไม่อยู่นั่นเอง

หน้าที่หลัก ๆ ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบในการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ เช่น การให้อาหาร ให้น้ำ อาบน้ำ เป็นต้น
2. รับผิดชอบในการพาสัตว์เลี้ยงไปทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกาย สำหรับสัตว์ใหญ่อย่างสุนัขที่จำเป็นต้องได้รับการบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ พี่เลี้ยงสามารถพาสุนัขไปเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำเพื่อเป็นการออกกำลังกายได้ ในส่วนของสัตว์เลี้ยงขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวร่างกายเยอะอย่างเช่นแมว พี่เลี้ยงสามารถหาของเล่นชิ้นเล็ก ๆ มาเล่นกับสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงได้เคลื่อนไหวร่างกายบ้างเล็กน้อย
3. ดูแลทำความสะอาดกระบะขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงบ่อย ๆ และคอยสังเกตดูว่ามีสิ่งผิดปกติหรือสีที่แปลกไปในอุจจาระของสัตว์เลี้ยงหรือไม่ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของสัตว์เลี้ยง
4. คอยสังเกตอาการและพฤติกรรมต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยง หากสัตว์เลี้ยงมีอาการที่ผิดไปจากปกติที่เป็นอยู่อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นกำลังป่วยได้ และให้พี่เลี้ยงรีบรายงานกับเจ้าของหรือรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที
5. คอยถ่ายภาพหรือรายงานความเป็นไประหว่างการดูแลสัตว์เลี้ยงให้กับเจ้าของ เพื่อสร้างความสบายใจและช่วยคลายความกังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะสามารถปรับตัวเข้ากับพี่เลี้ยงได้หรือไม่
บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเชื่อถือได้หรือไม่
หากจะฝากสัตว์เลี้ยงแสนรักไว้กับใครสักคน เราจะไว้ใจเขาได้อย่างไร วันนี้มีคำแนะนำมาบอกค่ะ

1) คัดกรองคนก่อนรับเข้าทำงาน เราจะต้องทราบรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับคนที่เราจะเลือกมาทำหน้าที่ “พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง” ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยว่ามีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรืออาจจะต้องตรวจสอบประวัติการทำงานกับนายจ้างคนเก่าว่าพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงคนนี้มีการทำงานเป็นอย่างไร
2) ต้องทำการคุยและสัมภาษณ์พี่เลี้ยงก่อนทำการจ้างงาน ลองทดสอบโดยให้อยู่กับสัตว์เลี้ยงหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้วให้พี่เลี้ยงตอบว่าหากเจอเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้จะต้องทำอย่างไร รวมทั้งทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสัตว์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ทั้งในเรื่องจิตวิทยา และการดูแลใส่ใจ การเลือกอาหารอีกทั้งการความสะอาดด้วย แม้ว่าการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีความรู้ และมีประสบการณ์อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการจ้างคนที่ไม่มีประสบการณ์ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าและลดความเสี่ยงที่สัตว์เลี้ยงจะไม่ปลอดภัยได้
3) นิสัยใจคอ ควรพิจารณานิสัยส่วนตัวของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงให้ดี โดยทำการสังเกตไม่ว่าจะเป็นการพูด การแสดงออกเมื่ออยู่กับสัตว์ ที่สำคัญควรจะเป็นบุคคลที่ใจเย็น ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เพราะการดูแลสัตว์หากไม่มีใจรักแล้วย่อมจะทำงานได้ยาก

จากคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น เราจะไว้ใจพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้หรือไม่ เริ่มต้นตั้งแต่การคัดเลือกคนเข้ามาทำงานนี้ อีกวิธีที่สามารถช่วยให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงวางใจได้ก็คือ การติดกล้องวงจรปิดไว้ในบ้าน เพื่อคอยหมั่นตรวจสอบพฤติกรรมของทั้งสัตว์เลี้ยงและพี่เลี้ยงไปในตัว
อัตราค่าจ้างสำหรับพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงอยู่ที่เรทเท่าไหร่
หน้าที่หลัก ๆ ของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็คือการดูแลและคอยอยู่เป็นเพื่อนสัตว์เลี้ยงแทนในยามที่เราไม่อยู่บ้าน คอยช่วยดูแลในเรื่องกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยงเช่น การให้อาหาร การขับถ่าย การออกกำลังกาย เป็นต้น

ค่าจ้างในการจ้างพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงนั้นมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1. รูปแบบของการใช้บริการพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันมีทั้งพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบไปเช้าเย็นกลับ และแบบค้างคืน ซึ่งค่าจ้างสำหรับพี่เลี้ยงสัตว์แบบค้างคืนนั้นจะแพงกว่าค่าจ้างแบบไปเช้าเย็นกลับ เพราะพี่เลี้ยงสัตว์ต้องคอยอยู่ดูแลสัตว์เลี้ยงตลอดทั้งวันทั้งคืนนั่นเอง
2. ประเภทของสัตว์เลี้ยง ความยากง่ายในการดูแลสัตว์แต่ละชนิดนั้นไม่เหมือนกัน หากเป็นสัตว์ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและมีความละเอียดอ่อนมากกว่าก็อาจทำให้ค่าจ้างนั้นแพงขึ้น ยกตัวอย่างเช่นการดูแลสัตว์แปลกหายากที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและทักษะเพิ่มเติมในการดูแลมากยิ่งขึ้น
3. จำนวนของสัตว์เลี้ยง หากต้องการให้พี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงดูแลสัตว์ที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งตัว ค่าจ้างในการดูแลก็อาจเพิ่มขึ้นตามจำนวนของสัตว์เลี้ยงเช่นกัน
4. ขนาดและน้ำหนักของสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่อาจมีค่าจ้างที่สูงกว่าสัตว์เลี้ยงขนาดทั่วไป เพราะอาจมีระดับความยากง่ายในการควบคุมและดูแลที่แตกต่างกันนั่นเอง ค่าจ้างของพี่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงจะอยู่ที่ขั้นต่ำ 300 บาทไปจนถึงสูงสุด 2,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าจ้างที่แตกต่างกันไปก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วยเช่นกัน
เราจะรู้ได้อย่างไรมาสัตว์เลี้ยงของเรานั้นมีน้ำหนักเกินเกณฑ์
หลาย ๆ คนที่เลี้ยงสัตว์อาจชอบซื้อขนมจุกจิกให้สัตว์เลี้ยงแสนรักกินเล่นอยู่บ่อย ๆ หรือบางครั้งอาจมานั่งมองเวลาที่เรากำลังกินอาหารอยู่ด้วยสายตาที่ต้องการกินอาหารเหล่านั้นด้วย จึงทำให้เราเกิดความสงสารและต้องแบ่งอาหารให้พวกมันกินในที่สุด แต่หากพวกมันกินเยอะจนน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ เพราะสัตว์เลี้ยงที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติอาจทำให้มีโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งคงไม่ดีแน่หากพวกมันเป็นโรคเหล่านี้ เพราะเจ้าของอาจจะต้องพาไปหาสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาอยู่บ่อย ๆ

สัตว์เลี้ยงที่มีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานนั้นอาจเกิดจากสาเหตุที่พวกมันได้รับการเผาผลาญพลังงานในร่างกายไม่สมดุลกับสิ่งที่ได้กินไปในแต่ละครั้งนั่นเอง บางครั้งอาจเกิดจากพันธุกรรม อายุ หรือแม้กระทั่งสาเหตุจากการทำหมันด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ เจ้าของควรให้สัตว์เลี้ยงได้ออกกำลังกายเพื่อเป็นการเผาผลาญพลังงานด้วย พยายามหากิจกรรมง่าย ๆ ทำเช่น ฝึกให้สัตว์เลี้ยงวิ่งไปเก็บของเล่น หรืออาจพาไปเดินเล่นออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีก็ถือว่าช่วยได้มากเลยทีเดียว และที่สำคัญคือเจ้าของควรควบคุมอาหารที่ต้องให้สัตว์เลี้ยงกินในแต่ละวันในสัดส่วนที่เหมาะสมด้วย และหมั่นชั่งน้ำหนักของสัตว์เลี้ยงอยู่บ่อย ๆ เพื่อตรวจสอบดูว่าพวกมันมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์หรือไม่ หากมีน้ำหนักที่เกินกว่ามาตรฐานก็ควรรีบหาวิธีแก้ไขโดยเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่จะส่งผลต่อสุขภาพและชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้