พี่เลี้ยงเด็ก ใน สะเดา, สงขลา

พี่เลี้ยงเด็ก ใน สะเดา, สงขลา

คุณต้องการใช้บริการนี้เมื่อไหร่?
ระบุวันที่

วิธีการทำงาน

Saijai

ติดต่อเรา

ติดต่อเราโดยตรงผ่าน LINE OA เพื่อจองบริการที่คุณต้องการ

Saijai

แจ้งรายละเอียดให้เราทราบ

เลือกบริการ วันที่ เวลา และสถานที่ที่คุณต้องการให้ตรงกับความต้องการของคุณ

Saijai

ยืนยันการจองของคุณ

เราจะยืนยันการจองของคุณภายใน 24 ชั่วโมงผ่านทาง LINE OA

ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ
ยังไม่มีข้อมูลผู้ให้บริการ

ข้อมูลสถิติน่าสนใจเกี่ยวกับ

Saijai จำนวนประชากร
Saijai จำนวนประชากรเด็ก (แรกเกิด-14 ปี)
Saijai จำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
Saijai จำนวนสัตว์เลี้ยง สุนัข

รีวิวล่าสุด

เราหาพี่เลี้ยงจากเว็บไซต์ใส่ใจ พี่เลี้ยงคนนี้น่าประทับใจมาก รู้งานดีทุกอย่าง เราแทบไม่ต้องบอกอะไรเลย
Saijai
สุดารัตน์ ไกรภพ
3 ปีที่แล้ว
ทำงานแถวลาดกระบังค่ะ ลาคลอดได้แค่ 3 เดือน เลยมองหาพี่เลี้ยงไว้ก่อนจากหลาย ๆ ที่ จนเจอพี่เลี้ยงบนใส่ใจ พี่เลี้ยงมีประสบการณ์การเลี้ยงเด็กมาก่อนแล้ว ยังมีความรู้ด้านการพยาบาลเบี้องต้น ที่สำคัญคือราคาไม่เกินจากงบประมาณที่เราตั้งไว้ ถูกใจที่สุดเลยครับ
Saijai
สนั่นพงษ์ ทองสาริกา
3 ปีที่แล้ว
หลังจากที่จ้างพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลลูกที่บ้าน ช่วยแบ่งเบาภาระของคุณแม่ไปได้เยอะเลย พี่เลี้ยงดูแลเด็กเป็นอย่างดี ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก ๆ ตอนนี้ลูกของเราเริ่มท่อง ก-ฮ นับเลข ได้แล้ว
Saijai
กาญจนา ชัยบัณฑิต
4 ปีที่แล้ว
ตอนแรกนี่คิดว่าจ้างพี่เลี้ยงเด็กจากที่ไหนก็เหมือน ๆ กัน แต่เว็บใส่ใจมีพี่เลี้ยงให้เลือกเยอะมาก ลองดูเปรรียบเทียบกันหลาย ๆ คน จนเลือกคนที่มีคะแนนรีวิวดี ไม่ผิดหวังค่ะ ทำงานดีอย่างที่รีวิวไว้จริง ๆ
Saijai
พิมพ์นารา หล่อกูล
4 ปีที่แล้ว
พี่เลี้ยงดีมาก ประสบการณ์นอกจากดูแลลูกเราแล้ว ยังช่วยแนะนำเราได้ดีอีกด้วย แนะนำเลยค่ะ ใส่ใจ หาง่าย มีพี่เลี้ยงให้เลือกหลายคน
Saijai
นิชาภา การจนวารีย์
4 ปีที่แล้ว

คำถามที่พบบ่อยสำหรับการค้นหา พี่เลี้ยงเด็ก

บทบาทและหน้าที่ของพี่เลี้ยงมีความสำคัญอย่างไรต่อพัฒนาการของเด็ก
คำกล่าวที่ว่าเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาวนั้นถือเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเด็กในช่วงวัย 1-10 ขวบ เป็นวัยที่เรียนรู้โดยการซึมซับ จดจำ และปฏิบัติตามสิ่งที่เด็กได้พบเจอหรือถูกปฏิบัติต่อ อีกทั้งเป็นช่วงระยะเวลาที่สมองส่วน ความจำมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะซึมซับและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็น ซึ่งเปรียบเสมือนกับแก้วเปล่าใบหนึ่งที่มีพื้นที่พร้อมที่จะรองรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ถูกรินหรือเทใส่แก้วนั้น

พี่เลี้ยงถือเป็นอีกคนหนึ่งนอกเหนือจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก พี่เลี้ยงมีส่วนสำคัญมากต่อพัฒนาการ พฤติกรรมการแสดงออก การเรียนรู้ หรือวามเข้าใจของเด็ก โดยเฉพาะพี่เลี้ยงที่ต้องอยู่กับเด็กแบบตลอดเวลา โอกาสที่เด็กจะเรียนรู้และจดจำพฤติกรรม การแสดงออกของพี่เลี้ยงนั้นเป็นไปได้สูงมาก อีกทั้งช่วงวัยเด็กยังเป็นช่วงวัยที่เด็กยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล ไม่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรปฏิบัติ ยังแยกแยะความถูกผิดไม่ได้ บทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในบางกรณีอาจเทียบเท่าหรือสำคัญมากกว่าผู้ปกครองไปเสียด้วย

ดังนั้นผู้ที่จะเป็นพี่เลี้ยงเด็ก จึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อพฤติกรรมของเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างดี ต้องเป็นผู้ที่มีความใส่ใจต่อเด็กเป็นอย่างมาก คอยสังเกตสิ่งต่าง ๆ และต้องคอยชี้แนะว่าอะไรทำได้หรือไม่ สิ่งใดถูกหรือผิด และสิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือจะต้องมีใจรักในงานนี้จริง ๆ เพราะพี่เลี้ยงเด็กเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นผู้ที่เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สามารถตรวจสอบได้ และมีพฤติกรรมที่ดีที่คุณจะสามารถไว้วางใจให้พี่เลี้ยงนั้นดูแลลูกของคุณ
คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าพี่เลี้ยงเด็กของคุณไว้ใจหรือไม่
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะรู้ได้ว่าพี่เลี้ยงคนใดไว้ใจได้หรือไม่ จนกว่าจะได้พูดคุยเพื่อประเมินนิสัยใจคอเบื้องต้นหรืออาจต้องให้พี่เลี้ยงเด็กคนนั้นทดลองงานสักระยะหนึ่งก่อน ใส่ใจขอแนะนำวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้เพื่อให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองไปใช้เพื่อตรวจสอบพี่เลี้ยงเด็กก่อนตัดสินใจว่าจ้าง

• ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อ รวมไปถึงประวัติการศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กคนนั้น ๆ จริง
• ต้องมีการตรวจสอบประวัติการทำงานจากสถานที่ทำงานที่ผ่านมาเพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กคนดังกล่าวนั้นเคยมีประวัติหรือพฤติกรรมที่ทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่เคยใช่บริการก่อนหน้าไม่สามารถไว้ใจพี่เลี้ยงเด็กคนดังกล่าวหรือไม่
• การเลือกใช้พี่เลี้ยงเด็กจากบริษัทจัดหางานหรือเอเจนซี่ (Agency) เป็นอีกวีธีที่ช่วยตรวจสอบได้ เพราะทางบริษัทจัดหางานได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นของพี่เลี้ยงเด็กไว้แล้ว และอาจมีข้อมูลประวัติการทำงานจากนายจ้างเก่าด้วย
• หลังจากตกลงว่าจ้างและเริ่มงานก็ควรเฝ้าดูแลพฤติกรรมและติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของพี่เลี้ยงเล็กอยู่ตลอดเวลา พ่อแม่หรือผู้ปกครองบางท่านอาจจะดูแลควบคู่ไปกับพี่เลี้ยงเด็กสักระยะหนึ่งก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าพี่เลี้ยงเด็กสามารถทำงานได้ตามที่รับมอบหมาย หากพ่อแม่เองไม่มีเวลาอาจจะให้บุคคลอื่นที่ท่านไว้วางใจคอยสังเกตพฤติกรรมของพี่เลี้ยง
• พ่อแม่หรือผู้ปกครององต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของลูกท่านด้วย เช่น หากลูกของท่านแสดงออกว่าไม่มีความสุข มีความตระหนกหวหวาดกลัวเมื่อต้องอยู่กับพี่เลี้ยง หรือ ลูกรักของท่านมีอุบัติเหตุบ่อยเหลือเกิน ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นหรือสามารถหลีกเลี่ยงด้ เช่นเดี๋ยวหกล้ม หัวโน ยุงกัดเต็มตัว มีรอยฟกช้ำจากการชนขอบโต๊ะ พ่อแม่ไม่ควรละเลยและเร่งตรวจสอบถึงสาเหตุของอาการดังกล่าว
คำถามอะไรที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กมากขึ้น
ในยุคที่พ่อแม่และครอบครัวต้องช่วยกันทำงานนอกบ้าน สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก “การจ้างพี่เลี้ยงเด็ก” จึงเป็นคำที่ผุดขึ้นมาในความคิด โดยเฉพาะวัยของลูก ๆ ก่อนที่จะไปโรงเรียน พ่อแม่อาจเป็นกังวลอยู่ว่า หากให้ลูกอยู่ภายใต้การดูแลของพี่เลี้ยงนั้นจะดีจริงหรือไม่ และเราคำถามอะไรที่ช่วยให้ คุณพ่อคุณแม่รู้จักตัวตนของพี่เลี้ยงเด็กมากขึ้น มาดูกันคะว่า หากจะเลือกพี่เลี้ยงสักคน คุณพ่อคุณแม่ควรถามอะไรบ้าง

1. ความรู้ในการดูแลเด็ก ตัวพ่อแม่ผู้ปกครองควรหาความรู้เรื่องการดูแลเด็ก เพื่อให้สามารถคอยตรวจสอบว่าพี่เลี้ยงที่เลี้ยงลูกของเราทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ เพราะการเลี้ยงเด็กเล็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อน คนที่เราเลือกมาดูแลลูกของเราตอนเราไม่อยู่ ควรเป็นคนที่มีความรู้ด้านการดูแลเด็กจริง ๆ พ่อแม่อาจให้พี่เลี้ยงเล่าถึงประสบการณ์การเลี้ยงเด็กที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง อะไรคือความยากลำบากหรืออุปสรรคในการดูแลเด็กคนหนึ่ง ๆ หากพี่เลี้ยงเป็นคนที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ต้องสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้
2. การดูแลสุขอนามัย พี่เลี้ยงเด็กสามารถดูแลอาหารและความสะอาดทั่วไปได้หรือไม่ แม้ว่าการจ้างพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้เข้าใจรายละเอียดอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะกว่าการจ้างคนทั่วไป แต่ถือว่าคุ้มค่าเพราะหากเด็กได้รับการดูแลที่ไม่ดี รับประทานอาหารไม่ถูกต้องจากผู้เลี้ยงขาดความรู้แล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพกายของลูกในอนาคตได้
3. ความน่าไว้ใจ พ่อแม่ผู้ปกครองควรซักถามประวัติส่วนตัว ที่พักอาศัย หรือขอให้พี่เลี้ยงทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเพื่อให้แน่ใจว่า พี่เลี้ยงไม่มีประวัติการทำผิดกฎหมาย การพูดคุยกับพี่เลี้ยงทำให้พ่อแม่ได้รับรู้ถึงทัศนคติของพี่เลี้ยงอีกด้วย
4. สุขภาพ สอบถามเรื่องปัญหาสุขภาพ แน่นอนที่สุดความใกล้ชิดอาจนำมาซึ่งโรคติดต่อได้ คำถามนี้เราอาจเรียนรู้ไปถึงสุขอนามัยของพี่เลี้ยงด้วย เพราะเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการดูแลลูก
5. อุปนิสัยใจคอของพี่เลี้ยง บุตรหลานของเราอาจต้องอยู่กับพี่เลี้ยงมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เด็กจะซึมซับนิสัยจากผู้ใหญ่ใกล้ตัว พี่เลี้ยงจึงต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อยของเราได้ คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณานิสัยส่วนตัวของพี่เลี้ยงให้ดี ว่าเป็นคนมีระเบียบมีวินัยหรือไม่ อารมณ์ฉุนเฉียวง่ายหรือไม่
กิจกรรมที่พี่เลี้ยงเด็กดูแลเด็กที่บ้านควรทำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการมีอะไรบ้าง
มาตรฐานของพี่เลี้ยงเด็กที่ดูแลลูกของเรามีความสำคัญมาก ๆ ต่อพัฒนาการของลูก ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสมพี่เลี้ยงเด็กควรทำกิจกรรมใดกับเด็กบ้าง

1. แฝงการเรียนรู้กฎกติกาในกิจกรรม เพื่อให้เด็กเข้าใจหน้าที่ของตัวเอง เช่นเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ หรือไม่เล่นขณะรับประทานอาหาร เพราะการฝึกวินัยผ่านการใช้กติกา จะช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตนเอง (Self – Regulation) การควบคุมตนเองเป็นกระบวนการที่สมองของเด็กดำเนินการซึ่งทำให้พวกเขาสามารถควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์เฉพาะได้
2. ฝึกร้องเพลง สิ่งที่ได้จากกิจกรรมที่มีความสุขสนุกสนานอย่างการร้อง คือกิจกรรมการพัฒนา (Working memory) หน่วยความจำในการทำงานเป็นระบบความ ความจำในการทำงานมีความสำคัญต่อการใช้เหตุผลและแนวทางในการตัดสินใจและพฤติกรรม
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ เต้นตามเพลงช้า เร็ว ตามจังหวะเพลง เมื่อเพลงจบเด็กต้องหยุดรอ ก่อนขึ้นเพลงต่อไป การรอ คือการควบคุมยับยั้งชั่งใจ (Self-Inhibition) ได้เป็นอย่างดี
4. ฝึกขว้างสิ่งของ เด็กเล็ก ๆ มักสนุกกับการขว้างสิ่งของ เปลี่ยนเป็นกิจกรรมรับส่งลูกบอล เช่น ขอให้เด็กส่งบอลสีฟ้ามาให้ หรือใช้ให้เด็กหยิบนิทานมาให้ เป็นการฝึกพัฒนาการประสาทมือประสาทสายตา การเข้าใจความหมายของสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว
5. ฝึกเล่าเรื่อง เริ่มจากพี่เลี้ยงเล่านิทาน ที่เด็ก ๆ สนใจ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แฝงพัฒนาการทางด้านภาษา อาจใช้ตุ๊กตาหรือของเล่นเป็นบทบาทสมมุติ เป็นการฝึกการคิดแก้ปัญหา เช่น ถ้าหนูเดินไปเจอหมาป่าตรงนั้นหนูจะทำอย่างไรคะ เด็กจะฉุกคิด คำตอบอาจเป็นให้วิ่งไปหาคุณพ่อคุณแม่ หรือกลับมาหาพี่เลี้ยง เป็นการฝึกให้คุ้นเคยกับการฉุกคิดแก้ปัญหา

กิจกรรมเหล่านี้เสริมพัฒนาการ ทางด้าน EQ (Emotional Quotient) และ IQ (Intelligence Quotient) ไปในตัว